น้ำแข็ง วัตถุดิบก้อนเล็กๆ ต้นทุนที่ร้านอาหาร ร้านกาแฟไม่ควรมองข้าม

 

     คุณเคยสงสัยไหมร้านเครื่องดื่มแต่ละร้านถึงใช้น้ำแข็งไม่เหมือนกัน?

     ทุกคนก็มักจะรู้ดีอยู่แล้วว่าประเทศไทยเราเป็นเมืองร้อนแบบร้อนมาก ซึ่งอยากถามถึงฤดูหนาวเลย แทบจะไม่มี เมื่อประเทศไทยเป็นเมืองร้อนสิ่งที่ทำให้คนไทยสดชื่นได้ก็คือ อะไรที่เย็นๆ หวานๆ ซึ่งความเย็นที่ว่านั้นก็มีส่วนผสมของน้ำแข็งเป็นส่วนประกอบ และน้ำแข็งที่เราเห็นในทุกวันมีหลากหลายชนิด วันนี้เราเลยจะพาทุกคนดูว่าน้ำแข็งแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

ใครเป็นคนนำน้ำแข็งเข้ามาในประเทศไทย

     น้ำแข็งก้อนแรกของไทยเดินทางมาพร้อมกับเรือกลไฟชื่อ ‘เจ้าพระยา’ ของพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) โดยใส่มาในหีบไม้ฉำฉาและกลบด้วยขี้เลื่อยเพื่อรักษาอุณหภูมิเอาไว้ ซึ่งในสมัยก่อนน้ำแข็งเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับคนไทยมาก ส่วนใหญ่มักถูกแจกจ่ายให้เจ้านายและขุนน้ำขุนนาง ทำให้ตอนนั้นคนส่วนใหญ่ยังไม่เคยเห็น และไม่เชื่อว่าน้ำแข็งมีจริง ทางราชการจึงเอาน้ำแข็งใส่ถาดตั้งไว้ให้ราษฎรดูที่พิพิธภัณฑสถาน ซึ่งสมัยนั้นตั้งอยู่ที่ตึกศาลาสหทัย

     กว่าไทยจะสามารถผลิตน้ำแข็งได้ด้วยตนเองก็ต้องรอจนถึงรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการตั้งโรงน้ำแข็งแห่งแรกของไทยชื่อ “น้ำแข็งสยาม”  โดยพระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) ทำให้ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าโรงน้ำแข็งนายเลิศ หลังจากผลิตน้ำแข็งเองได้ และนี่ก็คือที่มาของนำแข็งในประเทศไทยเรา

น้ำแข็งแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

  • น้ำแข็งสี่เหลี่ยม (Cube ice)

     เป็นน้ำแข็งที่ได้รับความนิยมทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งน้ำแข็งสี่เหลี่ยมนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกันคือ แบบเต็มก้อน (Full Cube) และแบบครึ่งก้อน (Half Cube) และน้ำแข็งสีเหลี่ยมจะละลายช้ากว่าน้ำแข็งประเภทอื่นๆ เนื่องจากมีความหนาแน่นสูง สามารถรักษาอุณหภูมิความเย็นไว้ได้นาน มีความเย็นต่อเนื่องหลายชั่วโมง นอกจากนี้ยังไม่ทำลายรสชาติของเครื่องดื่มอีกด้วย เพราะฉะนั้นนำแข็งประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มประเภทค็อกเทล เครื่องดื่มประเภทชาเย็น กาแฟเย็นได้ หรือเครื่องดื่มแบบชงเป็นอย่างดี แม้แต่ร้านอาหารชั้นนำต่าง ๆ พร้อมทั้งร้านกาแฟและโรงแรม มักจะเลือกใช้น้ำแข็งสี่เหลี่ยมกันเป็นหลัก

  • น้ำแข็งหลอด (Bullet ice)

     จะเห็นได้ว่าร้านเครื่องดื่มส่วนใหญ่น้ำมักจะใช้น้ำแข็งชนิดนี้กัน น้ำแข็งหลอดจะแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ แบบหลอดเล็ก และแบบหลอดใหญ่

     1. น้ำแข็งหลอดเล็ก (Small Gourmet Ice Cubes) มีขนาด 2 ซม. จะให้คุณสมบัติพิเศษที่ทำให้ละลายช้า แถมยังให้ความเย็นของเครื่องดื่มอยู่ได้นานและทำให้เครื่องดื่มไม่จืดจางเร็ว  นอกจากนี้ยังเหมาะกับเครื่องดื่มเมนูประเภทปั่น  เพราะมีขนาดเล็กเลยทำให้ปั่นง่าย

     2. น้ำแข็งหลอดใหญ่ (Gourmet Ice Cubes) มีขนาด 4 ซม. ซึ่งจะละลายช้าเนื่องจากมีความหนาแน่นสูง แต่ก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตด้วย เพราะฉะนั้นน้ำแข็งหลอดใหญ่จึงเหมาะสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเป็นที่นิยมในกลุ่มธุรกิจ ผับบาร์ โรงแรม หรือโรงงาน เป็นต้น

  • น้ำแข็งเกล็ด (Granular ice)

     จะมีความหนาแน่นของน้ำประมาณ 70% จึงทำให้น้ำแข็งชนิดนี้มีลักษณะที่กรอบ ให้ความเย็นเร็ว ไม่สามารถเก็บรักษาอุณหภูมิความเย็นไว้ได้นาน และละลายง่ายที่สุดในน้ำแข็งประเภทต่าง ๆ แต่น้ำแข็งชนิดนี้ก็สามารถนำมาใช้ได้หลากหลายประโยชน์ด้วยกัน เช่น จะใช้แช่อาหารสด เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ได้ดี และยังทำให้อาหารที่แช่ไว้ไม้เป็นรอยชำและสดใหม่อยู่เสออีกด้วย หรือใส่ในน้ำหวาน เครื่องดื่มน้ำอัดลม จึงเหมาะสำหรับธุรกิจประเภทร้านขายอาหารสด

  • น้ำแข็งแบบแผ่น ( Flake ice )

     น้ำแข็งแบบแผ่นเหมาะสมต่อการนำไปแช่อาหารสดเป็นหลัก และไม่เหมาะสมต่อการนำมาบริโภค ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมจำพวกเนื้อสัตว์มากกว่า หรือไม่ก็ถูกนำไปใช้ในห้องเย็นที่มีการแช่อาหารสดเป็นหลัก โดยเฉพาะในต่างประเทศนิยมเป็นอย่างมาก

  • น้ำแข็งก้อนกลม (Ice Ball)

จะมีขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว ส่วนใหญ่มีรูปทรงและขนาดที่แน่นอน เพราะจะผลิตจากบล็อกน้ำแข็ง เลยทำให้น้ำแข็งชนิดนี้เก็บอุณหภูมิความเย็นของเครื่องดื่มไว้ได้นาน ละลายช้าไม่ทำให้รสชาติของเครื่องดื่มเปลี่ยน ซึ่งจะเหมาะกับเครื่องดื่มที่มีราคาแพง ส่วนใหญ่จะพบเห็นในบาร์ ภัตตาคารหรู เป็นต้น

พออ่านถึงตรงนี้แล้วคุณก็จะรู้ว่าน้ำแข็งแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งก็อยู่ที่ธุรกิจแล้วว่าจะเลือกใช้นำแข็งแบบไหนที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

มาดูกันว่าน้ำแข็งราคาเท่าไร

  • น้ำแข็งหลอดใหญ่ บรรจุกระสอบละ 20 กิโลกรัม ราคา 24 บาท
  • น้ำแข็งหลอดเล็ก บรรจุกระสอบละ 20 กิโลกรัม ราคา 24 บาท
  • น้ำแข็งเกล็ด บรรจุกระสอบละ 150 กิโลกรัม ราคา 72 บาท

 

     ถ้าสมมติว่าร้านของคุณใช้น้ำแข็งหลอดเล็กวันละ  5 กระสอบ ต้นทุนค่าน้ำแข็งต่อวันก็จะอยู่วันละ 5*24 = 120 บาท ซึ่งถ้าคิดเป็นเดือนคุณจะต้องจ่ายเงินค่าน้ำแข็ง 120*30 = 3,600 บาท และเป็นปี 3,600*12 = 43,200 บาท แต่ถ้าคุณเลือกใช้น้ำแข็งที่ถูกประเภทต้นทุนค่าน้ำแข็งของคุณอาจจะลดลงก็ได้ เพราะจากข้อมูลข้างต้นน้ำแข็งแต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

ที่มา :

https://bit.ly/3Skd96n

https://bit.ly/3zMU8lU

https://bit.ly/3BACL92

https://bit.ly/3bjSP4E

 

 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย