เจาะแนวคิด ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กับโมเดลธุรกิจใหม่ ของ Exim Bank ช่วย SME ไทยโตในต่างแดน

 

 

     หนึ่งในวิธีที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตคือการส่งออก แต่รู้ไหมว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการ SME ในระบบประมาณ 3.1 ล้านราย กลับเป็นผู้ส่งออกไม่ถึง 1% หรือประมาณ 3 หมื่นรายเท่านั้น

     การไม่ทิ้ง “คนตัวเล็ก” เป็นนโยบายสำคัญที่ EXIM BANK หรือ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลัง ให้ดูแลผู้ประกอบการ SME ส่งออกและลงทุนในต่างประเทศ เพื่อสร้างนักรบเศรษฐกิจไทยให้มีจำนวนมากขึ้น

      กลยุทธ์อะไรที่ EXIM BANK นำมาใช้ปรับเพื่อให้ SME ไทยโลดแล่นในตลาดอินเตอร์ ลองมาฟังแนวคิดจาก ดร. รักษ์ วรกิจโภคาทร ที่ได้เคยประกาศชัดเจนตอนเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ว่าจะนำเอาจิตวิญญาณการเป็น “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย” อันเป็นพันธกิจแรกเริ่มของการตั้งธนาคารแห่งนี้ เพื่อ “รับความเสี่ยง” ที่มากกว่าธนาคารพาณิชย์ “ให้กำเนิดอุตสาหกรรมใหม่” สนับสนุนโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมสู่อนาคต และ “หนุนทุนไทยไปต่างแดน” ควบคู่กับการเป็น “ศูนย์บริการครบวงจรเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศให้แก่ SME”

1 ต่อ 500 คนตัวใหญ่ช่วยสร้างคนตัวเล็ก

     การจะเพิ่มจำนวน SME ส่งออกได้นั้น ดร. รักษ์เผยว่า ต้องเริ่มจากสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ เพราะที่ผ่านการเติมเงินให้ผู้ประกอบการมันง่าย แต่เติมความรู้มันยาก ยิ่งไปกว่านั้นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่มีความกลัว

      “อดีตสร้างการเติบโตแบบออร์แกนิก ให้เอสเอ็มอีเติบโตโดยไม่มีมือของคนตัวใหญ่มาช่วยเหลือ วันนี้ต้องสร้างซัพพลายเชน โตคนเดียวไม่ได้ นี่คือที่มาท่านประธานให้นโยบายการทำ Supply chain club คือ เราให้สินเชื่อผู้ประกอบการรายใหญ่ในที่ราคาถูกลง โดยมีข้อแม้ว่าคุณต้องสร้างซัพพลายเชน คือคนตัวเล็กอีก 500 คนให้เราให้ได้

      ฉะนั้น EXIM BANK จะทำหน้าที่คอยดูธุรกรรมระหว่างบริษัทขนาดใหญ่ กับ SME ที่อยู่ในซัพพลายเชนของบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น หลังจาก EXIM BANK ปรับโมเดลธุรกิจมาทำในลักษณะนี้ หนี้เสียของเราต่ำลงมาก เราพยายามจูงใจให้คนตัวใหญ่มาช่วยสร้างคนตัวเล็ก” โดยที่คนตัวเล็กสามารถใช้เครดิตจากคนตัวใหญ่มากู้เงินจาก Exim bank ได้

      “วันนี้ผมไม่ได้วัดผลจากการจ่ายเงินต้น ดอก ครบตรงเวลา ผมวัดผลว่าคุณช่วยคนได้อีกเท่าไหร่ ผมคาดหวังว่ารายใหญ่ต้องสร้างซัพพลายเชนให้ได้ 1 ต่อ 500 ราย แล้วมาเอาส่วนลดไป จะเกิดสังคมแห่งการพึ่งพาและพึ่งพิง ทำให้ทุกคนเดินทางร่วมกันได้ ประสบความสำเร็จไปด้วยกันได้”

นำร่องที่เวียดนาม

      ล่าสุดเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Exim Bank ไปเปิดสำนักงานผู้แทนที่กรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม เพื่อสร้าง  Ecosystem วงจรการค้าที่ขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกและเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน โดยได้ลงนามในสัญญาสนับสนุนทางการเงินกับธนาคารเพื่อการลงทุนและพัฒนาแห่งประเทศเวียดนาม (The Joint Stock Commercial Bank for Investment and Development of Vietnam : BIDV) จำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ BIDV นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน สนับสนุนการส่งออกสินค้าจากไทยไปเวียดนาม รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างโอกาสขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนาม พร้อมดึงความร่วมมือจากเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ให้ไปลงทุนที่นั่น อาทิ บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ไปลงทุนที่จังหวัดกว๋างหงาย ประเทศเวียดนาม หรือห้างค้าส่งและค้าปลีก MM Mega Market ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เอ็มเอ็ม เมก้ามาร์เก็ต เวียดนาม จำกัด ในกลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น

       “นี่คือความงามของ Business Model ใหม่ จิ๊กซอร์ครบลูปฉะนั้นการทำ Business matching จะไม่เหมือนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว SME ไทยจะปลอดภัยมากขึ้น สิ่งที่เราทำคือให้คนตัวเล็กกล้าออกจากฝั่งเพราะมีคนคอยสนับสนุน และเงินเราปล่อยเงินให้แบงก์เวียดนามเพื่อให้เขาไปหาคนมาซื้อสินค้าไทย 50%”

สินค้าไทยที่มีโอกาสโตในเวียดนาม

       กรรมการผู้จัดการ Exim Bank กล่าวต่อว่า เวียดนามเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 2 ของไทยในอาเซียน การส่งออกของไทยไปเวียดนามเน้นการตอบสนองความต้องการวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางให้แก่ภาคอุตสาหกรรมของเวียดนาม สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเวียดนาม ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รวมทั้งน้ำมันสำเร็จรูป ขณะที่การลงทุนของไทยในเวียดนามกระจายอยู่ในหลากหลายธุรกิจ เช่น พลังงาน นิคมอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป รวมทั้งเกษตรและประมง ธนาคาร ก่อสร้าง ค้าส่ง ค้าปลีก โรงแรม ร้านอาหาร คลินิกเสริมความงาม ขนส่ง โลจิสติกส์และธุรกิจโฆษณา โดยไทยเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 8 ในเวียดนาม

      หนึ่งในเป้าหมายของประเทศเวียดนามคือ การตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 จึงเป็นโอกาสของธุรกิจที่ส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy)

      “นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตในเวียดยาม อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage : F&B) ธุรกิจ Organizer การจัดอีเว้นต์ การทำมาร์เก็ตติ้ง นี่คือ skill ของคนไทย ที่เวียดนามยังอยากจะเรียนรู้จากเรา หลายอุตสาหกรรมที่เป็น sunset ในไทยกลายเป็น sunrise ที่เวียดนาม เช่น อุตสาหกรรมการ์เม้นท์ ต้องช่วยกันสร้าง story อย่าตายอยู่ในประเทศที่ไม่เข้มแข็งในมุมของตัวเอง เราสามารถ reborn ได้”

       “สามปีแรกอยู่กับผม ก่อนที่จะ COD หรือ commercialize กิจการที่อยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงให้อยู่กับ Exim ปีที่สี่ หย่ากับผมไปแต่งงานกับที่อื่นที่มีความถูกกว่า นี่คือที่มาของคำว่า develop bank ช่วงที่ความเสี่ยงน้องลงควรหาพาร์ตเนอร์ที่ให้ต้นทุนที่สินเชื่อถูกกว่าได้

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย