รู้ให้ทัน 8 ความท้าทาย ชี้ชะตาการอยู่รอดของธุรกิจยุคใหม่

 

 

      บนเส้นทางสนามการค้า ใครก็อยากชีวิตรอดและขยายอาณาจักรให้อยู่ได้อย่างมั่นคงในอนาคต แต่เมื่อเส้นทางการทำธุรกิจให้สำเร็จไม่ได้ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แค่ความตั้งใจและการวางแผนงานที่ดี อาจยังไม่เพียงพอที่จะสร้างแบรนด์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน เท่ากับการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งจำเป็น

      กว่า 2 ปีที่ผ่านมา ตัวแปรสำคัญจากการระบาดของโควิด – 19 และความก้าวไกลของเทคโนโลยีเป็นชนวนที่ทำให้โลกเกิดความท้าทาย โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็น

8 ความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญในการทำธุรกิจยุคใหม่

  • การคิดใหม่ และสร้างความแตกต่าง เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของผู้บริโภคหรือกลุ่มผู้ใช้งานที่มักมองหา สิ่งใหม่ที่แตกต่างและตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ดังนั้น ในโลกธุรกิจยุคใหม่ผู้ประกอบการยิ่งจำเป็นจะต้องหาผลประโยชน์พิเศษที่ที่สร้างความแตกต่างอย่างโดดเด่นเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเสมือนเพื่อนที่พึ่งพากันได้แม้ในยามวิกฤต
  • การสร้างโซลูชันที่สอดรับกับ Pain Point ของผู้บริโภคในยุคที่ต้องเผชิญกับวิกฤต ผู้ประกอบการที่รู้เร็ว ขยับ และปรับตัวทัน จะสามารถคว้าโอกาสในการสร้างทางเลือกที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้คนและสังคมได้
  • การมองกำไรเป็นเป้าหมายสูงสุด ทำให้ขาดเวลาในการพัฒนาหรือยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงผู้ใช้ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่สร้างผลิตภัณฑ์ที่ดี และมีเป้าหมายในการสร้างคุณค่าที่แตกต่างให้กับวิถีชีวิตที่ชัดเจน
  • การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร โดยเฉพาะเรื่องวิธีคิด ระบบการทำงาน แนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ที่ยังยึดติดกับกรอบการทำงานแบบเดิม จนไม่สามารถก้าวทันโลกหรือคู่แข่งที่เปลี่ยนแปลงไปได้
  • การเปลี่ยนความเชื่อเรื่อง “แบรนด์ไทย” ที่ยังถูกมองว่าไทยเป็นเพียงฐานการผลิต หรือการทำธุรกิจเพื่อองค์ประกอบของสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ความจริงแล้ว ไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นเจ้าของนวัตกรรม หรือแบรนด์ที่มีศักยภาพแข่งขันในระดับสากล
  • การเข้าใจความหมายของ “นวัตกรรม” ซึ่งหลายคนมักนึกถึงความทันสมัย หรือเทคโนโลยีขั้นสูง จึงเกิดความไม่มั่นใจที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือความแปลกใหม่ให้กับธุรกิจ แต่แท้จริงแล้วเป็นเรื่องการเปลี่ยนกระบวนการทำ การคิดแบบใหม่ หรือการขับเคลื่อนงานด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด
  • การเข้าแข่งขันผิดตลาด จึงต้องมีการวิเคราะห์ตลาดและความสามารถของตนเองให้อยู่ในขอบเขตความเชี่ยวชาญ หรือเรื่องที่สามารถแข่งขันได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ
  • การวิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่อเตรียมแผนสำรอง แนวทางการป้องกัน และการแก้ไขหากเกิดการปัญหา หรือเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน

 

ที่มา: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

กว่าจะเป็น สุขกับป๊อกกี้ ร้านลับ ชื่อเท่ เมืองสัตหีบ ที่ใครมาก็ต้องได้ความสุขกลับไป

“สุขกับป๊อกกี้” คาเฟ่ & ร้านอาหารชื่อแปลกหู อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่แค่ฟังก็รู้ว่าต้องเป็นพื้นที่แห่งความสุข

บ้านอยู่ดีมีความสุข เกาะสีชัง กับแนวคิดทำธุรกิจให้มีขยะน้อยที่สุด

เราไม่สามารถลดขยะให้เป็นศูนย์ได้ แต่สามารถลดให้น้อยลงได้ แค่ลองตั้ง Mindset ค่อยๆ ลงมือทำไปทีละนิด ไม่ว่าใครก็ทำได้ เหมือนกับ “บ้านอยู่ดีมีความสุข” ที่พักเล็กน่ารักบนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ที่เริ่มต้นทำจากจุดเล็กๆ ไปทีละอย่าง

บ้านๆ น่านๆ ตำนานที่พัก+ห้องสมุด รายแรกของไทย ใช้สิ่งที่รักต่อยอดธุรกิจโตกว่าทศวรรษ

เพราะความรู้ ความบันเทิง ความรื่นรมย์ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือ แต่มันอยู่ในชีวิตเราทุกรูปแบบ นี่คือ เหตุผลที่ทำให้ "ชโลมใจ ชยพันธนาการ" (ครูต้อม) อดีตครูสอนวิชาภาษาไทยผันตัวมาเป็นเจ้าของที่พัก “บ้านๆ น่านๆ” ที่มีจุดขาย คือ มีห้องสมุดไว้สำหรับหนอนหนังสือเป็นรายแรกของไทย