อัยยะ เงาะอบแห้ง ไอเดียทายาทเกษตรกรต่อยอดธุรกิจ แปรรูปสินค้าเพิ่มมูลค่าขึ้นเป็น 100 เท่า

 

 

       เรื่องราวธุรกิจเกือบ 100 ปีที่เริ่มต้นจากเงาะโรงเรียนต้นแรก จนกลายเป็นสินค้าแปรรูปที่มีกลุ่มลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ 80-90% และผู้ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้คือ รัตนาพร บรรเทิงจิตร เจ้าของบริษัท นาสารฟู้ดโปรดักซ์ จำกัด เรื่องราวการธุรกิจจะเป็นอย่างไร ตามไปอ่านกันได้เลย  

ที่มาของ เงาะโรงเรียน

     เมื่อปี พ.ศ.2469 Mr.K  Wong ชายชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ได้เข้ามาทำเหมืองแร่ที่อำเภอบ้านนาสาร เขาได้นำเงาะปีนังจากถิ่นบ้านเกิดมาปลูกไว้ 4 ต้น ข้างๆ บ้านพัก เมื่อเงาะโตขึ้นและออกผล ปรากฏว่าเงาะทั้งสี่ต้นนี้ มีต้นเดียวเท่านั้นที่มีรสชาติหวาน หอม เนื้อกรอบ เปลือกบาง และต่อมาเมื่อปี 2579 ชาวจีนคนนี้ได้เลิกกิจการทำเหมืองแร่ เขาจึงขายที่ดินให้กับกระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นได้พัฒนาปรับปรุงกลายมาเป็นโรงเรียนนาสาร และเมื่อประมาณปี 2489 มีผู้ตอนกิ่งไปขยายพันธุ์ได้เพียง 3-4 รายเท่านั้น 

จุดเริ่มต้นจากเงาะโรงเรียนต้นแรก

     หนึ่งในนั้นก็คือปู่ของ รัตนาพร ที่นำพันธุ์เงาะโรงเรียนต้นแรกมาปลูกที่สวน ซึ่งปู่ของเธอเริ่มทำสวนเงาะมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2490 รวมแล้ว 75 ปี และทำมาจนถึงรุ่นพ่อและรุ่นของเธอ แต่มีช่วงที่เงาะราคาถูกมาก อย่างที่เคยเห็นว่าชาวไร่นำเงาะไปเททิ้งกันจำนวนมาก

      ต้องบอกก่อนว่าเงาะนาสาร นอกจากเป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้ว ยังได้รับ GI (Geographical Indications) เป็นเงาะที่ดีที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย

      แต่ตอนนี้เงาะนาสารเริ่มค่อยๆ หายไป เพราะว่ามีทุเรียนเข้ามาเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และด้วยทุเรียนมีราคาที่ดีกว่าเงาะ คนจึงหันมาปลูกทุเรียนกันมากขึ้น ทำให้คนทำสวนเงาะน้อยลง เพราะนอกจากมีราคาถูกแล้ว ยังมีการแข่งขั้นที่สูง เพราะหนึ่งปีมีรายได้แค่ครั้งเดียว ทำให้เกษรตกรหลายคนซึ่งบางคนเปลี่ยนจากปลูกเงาะมาทำเป็นสวนยาง เพราะว่าสวนยางทำให้เขามีรายได้ตลอดทั้งปี

      แต่แทนที่จะปล่อยให้เงาะโรงเรียนนาสารสูญหายไปตามกาลเวลา ปี 2553 เธอจึงหาวิธีที่จะนำเงาะโรงเรียนมาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการเอาไปแปรรูป ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีใครทำเงาะแปรรูป มีแต่เงาะกระป๋องอย่างเดียว เมื่อต้องใช้องค์ความรู้ที่มากขึ้นเธอจึงได้ติดต่อและได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำผลไม้อบแห้ง จึงนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนได้มาเป็น “อัยยะ เงาะอบแห้ง” จากเงาะที่เคยขายในสวนราคากิโลกรัมละ 10-20 บาท ก็สามารถขายได้กิโลกรัมละ 1,000 บาท

นำความโดดเด่นของพื้นที่ มาสร้างความแตกต่าง

      นอกจากเงาะนาสารแล้ว จังหวัดสุราษฎร์ธานียังมีสินค้า GI อีกสองตัวคือ ไข่เค็ม และมะพร้าว รัตนาพร จึงมองว่าบริษัทสามารถนำผลิตภัณฑ์ GI ที่บ้านเกิดมาพัฒนาเป็นสินค้าตัวใหม่ๆ ขึ้นมา อาทิ ชามะพร้าว

       “ซึ่งจะไม่ซ้ำกับพวกน้ำมันมะพร้าว ครีม เราพยายามหาความแตกต่างให้สินค้าที่สามารถขายได้ด้วยตัวของมันเอง คุณประโยชน์ของชามะพร้าวมีมหาศาล น้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์อย่างไร ชามะพร้าวก็มีประโยชน์อย่างนั้น”

      และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ รัตนาพร เลือกทำชามะพร้าวก็เพราะว่า มะพร้าวมีทุกฤดูกาล เก็บได้ตลอดทั้งปี

และนี่คือเรื่องราวการทำธุรกิจที่เริ่มต้นจากเงาะโรงเรียนต้นแรก แต่สามารถต่อยอดธุรกิจให้อยู่ได้มากว่า 75 ปี

 

TEXT: Momo

PHOTO : IYHA

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

กว่าจะเป็น สุขกับป๊อกกี้ ร้านลับ ชื่อเท่ เมืองสัตหีบ ที่ใครมาก็ต้องได้ความสุขกลับไป

“สุขกับป๊อกกี้” คาเฟ่ & ร้านอาหารชื่อแปลกหู อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่แค่ฟังก็รู้ว่าต้องเป็นพื้นที่แห่งความสุข

บ้านอยู่ดีมีความสุข เกาะสีชัง กับแนวคิดทำธุรกิจให้มีขยะน้อยที่สุด

เราไม่สามารถลดขยะให้เป็นศูนย์ได้ แต่สามารถลดให้น้อยลงได้ แค่ลองตั้ง Mindset ค่อยๆ ลงมือทำไปทีละนิด ไม่ว่าใครก็ทำได้ เหมือนกับ “บ้านอยู่ดีมีความสุข” ที่พักเล็กน่ารักบนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ที่เริ่มต้นทำจากจุดเล็กๆ ไปทีละอย่าง

บ้านๆ น่านๆ ตำนานที่พัก+ห้องสมุด รายแรกของไทย ใช้สิ่งที่รักต่อยอดธุรกิจโตกว่าทศวรรษ

เพราะความรู้ ความบันเทิง ความรื่นรมย์ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือ แต่มันอยู่ในชีวิตเราทุกรูปแบบ นี่คือ เหตุผลที่ทำให้ "ชโลมใจ ชยพันธนาการ" (ครูต้อม) อดีตครูสอนวิชาภาษาไทยผันตัวมาเป็นเจ้าของที่พัก “บ้านๆ น่านๆ” ที่มีจุดขาย คือ มีห้องสมุดไว้สำหรับหนอนหนังสือเป็นรายแรกของไทย