Oh Veggies ธุรกิจที่เกิดจากการมองเห็นโอกาสและช่องว่าง และเติบโตจากการเปลี่ยนปัญหาให้เป็นเงิน

 

 

      ย้อนไปเมื่อ 15 ปีก่อน เมื่อผู้บริโภคในไทยต่างเริ่มหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น แต่กลับมีช่องว่างในตลาด ผัก ผลไม้สดมีวางขายอยู่มากมายในท้องตลาด แต่กลับยังไม่มีแบรนด์ใดเลยที่หันมาจริงจังกับการแปรรูปให้เป็นผัก ผลไม้พร้อมรับประทานแบบได้มาตรฐาน จากการเห็นช่องทางโอกาสดังกล่าวจึงทำให้ วุฒิชัย เจริญศุภกุล CEO บริษัท พลังผัก จำกัด ผู้บุกเบิกตลาดผัก-ผลไม้ Ready to Eat ในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ “Oh Veggies” จำหน่ายอยู่ในคอนวีเนียนสโตร์ และร้านสะดวกซื้อ จนปัจจุบันสามารถแตกไลน์ธุรกิจออกมาอีกมากมาย โดยหลักการเดียวที่เขาใช้หาโอกาสให้กับตัวเองตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นทำธุรกิจ จนถึงการต่อยอดธุรกิจให้ใหญ่โตขึ้นมาได้ทุกวันนี้ ก็คือ การสแกนหาปัญหาแท้จริงที่เกิดขึ้นในทุกๆ ช่วงของการทำธุรกิจ และหาทางแก้ปัญหาให้ทันท่วงที

สแกนปัญหา สร้างโอกาสให้ธุรกิจ

      ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจจนถึงวันที่ธุรกิจเริ่มขยายและเติบโต คุณวุฒิชัยเล่าว่า เขาต้องคอยแสกนปัญหาธุรกิจอยู่ตลอด แม้กระทั่วช่วงที่กำลังจะเริ่มต้นลงมือทำธุรกิจของตัวเอง จากพนักงานออฟฟิศ เมื่อตัดสินใจจะลงมือทำธุรกิจ ก็จำเป้นต้องมีการสำรวจสแกนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ดังนั้นในแต่ละช่วงของการทำธุรกิจปัญหาจะเปลี่ยนรูปแบบไป สำหรับเทคนิคง่ายๆ คือ

  • หา Pain Point

      มองปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างตลาดที่ชัดเจน โดยขณะนั้นผู้บริโภคอยากมีสุขภาพดี แต่ต้องเร่งรีบกับการทำงาน ทำให้การเตรียมอาหารเป็นเรื่องยาก จากผักผลไม้ในท้องตลาดมีอยู่มากมาย แต่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของวัตถุดิบขายกันเป็นต้นๆ ผู้บริโภคต้องนำมาตัดแต่งเอง ยังไม่มีการทำเป็นสินค้าพร้อมรับประทานที่ได้มาตรฐานความสะอาด ปลอดภัย

  • คู่แข่งเป็นอย่างไร

      เลือกทำในสิ่งที่ตลาดยังไม่มีคู่แข่ง หรือมีแต่ยังไม่แข็งแรง เพื่อนำเสนอสิ่งที่แตกต่าง และสามารถเอาชนะได้ แม้อาจไม่ใช่สินค้าที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่สามารถเลือกวิธีนำเสนอในมุมที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้ โดยตลาดในไทยขณะนั้นยังไม่มีแบรนด์สินค้าใดทำผัก ผลไม้ในรูปแบบที่ได้มาตรฐาน และกระจายจำหน่ายในช่องทางที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย สะดวก แต่ในต่างประเทศการทำสินค้าแบบ Ready to Eat กำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

  • สำรวจเงินทุนที่มี

     เนื่องจากลาออกจากการเป็นพนักงานประจำเพื่อมาลงทุนทำธุรกิจของตัวเอง เงินเก็บสะสมจึงมีอยู่ไม่มาก ดังนั้น

1. ควรเลือกลงทุนในธุรกิจที่เริ่มต้นไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมากเกินไป

2. สร้างโอกาสจากตลาดที่คู่แข่งยังไม่เยอะ ไม่มีรายใหญ่ เมื่อเจอตลาดที่ใช่ ธุรกิจก็จะเติบโต เงินทุนก็จะค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

  • ประเมินหลังจากลงมือทำไปแล้ว

      ในช่วงแรก Oh Veggies เจาะกลุ่มตลาดไปยังอาคารสำนักงานออฟฟิศด้วยการทำคีออส เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่สดใหม่ แต่กลับพบว่าไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง จากที่ตั้งเป้ายอดขายไว้เพียง 3% แต่กลับทำได้ไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ จึงยกเลิกรูปแบบการขายแบบคีออสในระยะเวลาเพียง 3 เดือนแม้จะลงทุนทำไปแล้วกว่า 12 ตัว และเบนเข็มใหม่สู่สเปเชียลตี้สโตร์ ร้านค้าเพื่อคนรักสุขภาพจริงๆ จึงทำให้ได้รับผลตอบรับที่ดีขึ้น

รู้ปัญหา..หาทางแก้

  • ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ เช่น จะเติบโตได้จากช่องทางใดบ้าง สินค้าที่ขาย คือ อะไร ลูกค้าเป็นใคร
  • หมั่นสแกนปัญหาธุรกิจอยู่เสมอ ตั้งแต่ก่อนลงมือทำ ขณะลงมือทำ และผลลัพธ์ที่ได้ รวมถึงอัพเดตความต้องการของตลาดอยู่เสมอ
  • จดบันทึกข้อมูลแต่ละส่วนอย่างละเอียด เช่น ขั้นตอนในกระบวนการผลิต, ตัวเลขทางบัญชีผลกำไร-ขาดทุน, ปัญหาที่เกิดขึ้น, ผลการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

 

Key Success ธุรกิจ

“เติบโตอย่างยั่งยืน และมีคุณภาพ”

แต่ละปีต้องมียอดขายเพิ่มขึ้น 40% มาจากสินค้าใหม่

  • การเติบโต = การหาตลาดใหม่ๆ
  • ความยั่งยืน = เติบโต + มีกำไร
  • หัวใจสำคัญ = คงคุณภาพให้เหมือนกับการส่งมอบในวันแรกๆ ที่เริ่มต้นธุรกิจ

 

เทคนิคบริหารธุรกิจสไตล์ Oh Veggies

  • มองเห็นตลาดให้ชัดเจน เช่น ความต้องการของผู้บริโภค ระยะเวลาการคืนทุน เพื่อประเมินความเสี่ยง จึงค่อยตัดสินใจลงทุน
  • ประเมินรูปแบบความเสี่ยงที่อาจจะต้องเจอ เพื่อหาวิธีเตรียมตัวรับมือ และแนวทางแก้ไข
  • กำหนดความเสียหายที่ธุรกิจสามารถรับได้ ผลลัพธ์เลวร้ายที่สุดที่รับได้ คือ อะไร เพื่อสุดท้ายแล้วธุรกิจต้องสามารถอยู่ต่อไปได้

รู้-เห็น-เป็น-ใจ

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หลักการทำงานของ Oh Veggies ได้สอดคล้องกับหลักการไคเซนของโตโยต้า ด้วยการใช้กลยุทธ์ “รู้ เห็น เป็น ใจ” ในการดำเนินธุรกิจ

รู้ – มีการเก็บข้อมูลธุรกิจอย่างละเอียดอยู่เสมอ ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ได้ชัดเจน

เห็น – เมื่อมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ก็เห็นแนวทางแก้ไขที่ชัดเจนได้

เป็น – ลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยเมื่อเจอแล้วรีบแก้ไขในทันที ทำให้รอดพ้นจากวิกฤตมาได้

ใจ - ใส่ใจดูแลธุรกิจอย่างใกล้ชิดในทุกส่วน ไม่ปล่อยปละละเลย จนทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ถูกใจในสินค้าและบริการได้

***ข้อมูลจากโครงการ “ถอด DNA ความสำเร็จแบบวิถีโตโยต้า” ในหัวข้อ “แนวคิดในการทำธุรกิจแบบ TOYOTA WAY”

โดย SME Thailand x โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ 

สนใจเข้าร่วมกิจกรรม คลิก https://toyotatsi.com/course

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย