ไขความลับ ทำไมที่นอนยางพาราของไทยจึงขายดีในจีน และเอสเอ็มอีจะคว้าโอกาสนี้ได้อย่างไร

 

 

     ใครจะคาคคิดว่าหนึ่งในสินค้าเป็นซิกเนเจอร์ของประเทศไทยและเป็นสินค้าที่กำลังเติบโตในโลกออนไลน์ขายดีบน ทีมอลล์ โกลบอล (Tmall Global) แพลตฟอร์ม B2C ของอาลีบาบา คือ หมอนและที่นอนยางพารา

      โดยในช่วงมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา ครึ่งหนึ่งของสินค้าแบรนด์ไทยที่ขายดีที่สุด 10 อันดับแรกบนแพลตฟอร์มคือ ที่นอนยางพารา

      ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ ที่นอนยางพาราที่มีฉลาก “Made in Thailand” เป็นที่ต้องตาต้องใจของนักช้อปออนไลน์ในประเทศจีนมานานแล้ว โดยแบรนด์ที่เข้าสู่ตลาดช่วงแรกๆ คือ Nittaya แบรนด์จากกรุงเทพมหานคร ที่เริ่มต้นการขายใน ทีมอลล์ โกลบอล ตามคำแนะนำของกระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน ปี 2558 และไม่นานหลังจากที่เข้าร่วมบนแพลตฟอร์ม ก็ประสบความสำเร็จจากการขายที่นอนยางพาราไปมากกว่า 20 ล้านหยวน หรือกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท จากมหกรรมสินค้าเซลล์ที่จัดร่วมกับ ทีมอลล์ โกลบอล

เสน่ห์ที่นอนยางพาราของไทย

       ปัจจัยแรกและปัจจัยสำคัญที่ทำให้หมอนและที่นอนยางพาราของไทยเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวจีนคือ ประโยชน์ในด้านสุขภาพ หมอนและที่นอนที่ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติจะทำให้นอนสบายและสามารถระบายอากาศได้ดี อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียและป้องกันไรฝุ่นอีกด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยปกป้องคอและกระดูกสันหลังได้ดี เพราะมีความยืดหยุ่นสูง และยังสามารถรองรับคนที่มีน้ำหนักต่างกันหรือคนที่มีท่านอนแตกต่างกันได้

      ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ น้ำยางเป็นวัสดุหมุนเวียนจากธรรมชาติ สามารถกรีดได้จากต้นยางโดยไม่ต้องตัดต้นไม้ ทำให้ขั้นตอนการผลิตมีความยั่งยืนและปราศจากคาร์บอน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นทางเลือกที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

      นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไม่เหมือนใคร ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นยางและการผลิตน้ำยางชั้นดี อีกทั้งประเทศไทยยังมีแสงแดดที่เพียงพอ ปริมาณน้ำฝนที่อุดมสมบูรณ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีประมาณ 25-27 °C และยังมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 80% ตลอดหลายเดือน ด้วยเหตุนี้ คำว่า “Made in Thailand” ที่ติดอยู่บนฉลากสินค้า จึงเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพในสายตาของนักช้อปชาวจีนที่มองหาหมอนและที่นอนยางพาราคุณภาพสูงที่พวกเขาต้องการ

กลยุทธ์มัดใจผู้บริโภคชาวจีน

        ผู้บริโภคชาวจีนให้ความสำคัญกับการนอนอย่างมีคุณภาพ ควบคู่ไปกับคุณภาพชีวิตโดยรวมที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นที่คาดการณ์ว่า ตลาดสินค้าหมอนและที่นอนยางพาราของไทยอาจเติบโตขึ้นได้อีก อย่างไรก็ตาม ในตลาดแมสบนโลกออนไลน์ ผู้ซื้ออาจยังไม่รู้จักเกี่ยวกับสินค้าที่นอนยางพารา ดังนั้นการศึกษาผู้บริโภคจึงเป็นก้าวแรกในการประสบความสำเร็จด้านอีคอมเมิร์ซ

      การศึกษาผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ ทีมอลล์ โกลบอล ทำงานร่วมกับพันธมิตรแบรนด์มาโดยตลอด เช่น ในวันนอนหลับโลกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ทีมอลล์ โกลบอล ได้ร่วมมือกับแบรนด์สินค้ายางพารามากมาย รวมไปถึงแบรนด์ JACE ผ่านแคมเปญส่งเสริมการขายหลายช่องทาง โดยให้ความสำคัญกับบทบาทของหมอนและที่นอนที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการนอนอย่างมีคุณภาพ ซึ่งได้สนับสนุนหมอนกับที่นอนยางพาราธรรมชาติจากประเทศไทยอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการขายอื่น ๆ ที่นำเสนอสินค้ายางพาราจากประเทศไทย อย่างงาน 11.11 Global Shopping Festival เมื่อปีที่แล้ว ที่จัดโดย ทีมอลล์ โกลบอล เป็นต้น

      นับตั้งแต่ก่อตั้งแบรนด์บน ทีมอลล์ โกลบอล ในปี 2562 แบรนด์ JACE สามารถทำยอดขายสินค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มได้เกิน 156 ล้านหยวน หรือกว่าแปดร้อยล้านบาท ภายในปีเดียวเท่านั้น ความสำเร็จดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากการทำงานร่วมกับ ทีมอลล์ โกลบอล ในด้านการตลาดเนื้อหาและการสร้างเทรนด์ให้แก่สินค้า ด้วยสินค้าที่มีจุดขายที่โดดเด่นอย่างน้ำยางธรรมชาติ 95% ที่ได้มาจากสวนยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

อนาคตของที่นอนยางพาราจากประเทศไทยจะเป็นอย่างไร?

        การเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซของจีนเปรียบเสมือนการเดินทางที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แม้จะเป็นแบรนด์ที่ติดตลาดไปแล้วอย่างแบรนด์ Nittaya หรือ JACE ก็ตาม ในมุมมองเจ้าของแบรนด์ Nittaya นั้นผู้บริโภคชาวจีนมีความต้องการที่หลากหลายมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และการสร้างความหลากหลายให้แก่สินค้าในแต่ละแบรนด์ก็ทำให้มีสินค้าที่สวยงามและน่าสนใจเกิดขึ้นมากมาย จากการคาดการณ์แนวโน้มดังกล่าว บริษัทจึงได้พัฒนาสินค้าหมอนและที่นอนยางพาราใหม่ ๆ ที่เจาะกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะ เช่น หมอนรองเอวสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หมอนสำหรับเด็กพิมพ์ลายการ์ตูน เสื่อโยคะ และหมอนสำหรับงีบบนโต๊ะทำงาน

      ในทางกลับกัน แบรนด์ JACE ก็ยังตระหนักถึงการเพิ่มขึ้นของคนวัย Gen Z ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคหลักในประเทศจีน โดยเจาะไปยังกลุ่มผู้บริโภคที่อายุน้อยลงและทำความเข้าใจถึงความต้องการเฉพาะของพวกเขา แบรนด์ยังมุ่งเน้นไปที่การหาแนวทางในการใช้สินค้าในหลากหลายสถานการณ์ เพื่อสร้างความแตกต่างให้ตัวเองจากคู่แข่งท่ามกลางแบรนด์ผู้บริโภคใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้น

      กระแสผู้บริโภคชาวจีนที่มองหาสินค้าที่ทำให้สุขภาพดีและยั่งยืนมากขึ้น รวมไปถึงการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซในพื้นที่ที่ด้อยพัฒนาของจีน ยังคงเป็นโอกาสทางการตลาดที่สำคัญสำหรับผู้ขายที่นอนยางพารา แม้จะมีผู้เข้าร่วมตลาดรายใหม่เข้ามาในตลาดเพิ่มมากขึ้นก็ตาม ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับแบรนด์ว่าจะจับเทรนด์ในตลาด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคว้าโอกาสนี้ไว้ได้หรือไม่

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย