เอสเอ็มอีจะสร้างโอกาสยังไง เมื่อบริษัทใหญ่รุกลงทุนธุรกิจขนาดเล็ก

 

     การแข่งขันในโลกธุรกิจที่รุนแรงเป็นตัวเร่งให้บริษัทขนาดใหญ่หรือคอร์ปอเรทต้องมองหาธุรกิจสตาร์ทอัพหรือเอสเอ็มอีในการเข้าซื้อกิจการเพื่อสร้างโอกาสการเติบโตครั้งใหม่ เรามาดูกันว่าผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กจะมองหาโอกาสนี้อย่างไรได้บ้าง

ตามหา New S Curves

     บริษัทที่อยู่ในธุรกิจดั้งเดิมเช่น ค้าปลีก พลังงาน อาหาร แม้ว่าจะมีความมั่นคงสูงแต่โอกาสที่จะเติบโตก็มีน้อยเช่นกัน บริษัทเหล่านี้ต้องการมองหาสิ่งที่จะช่วยเร่งการเติบโตซึ่งอาจจะเป็นธุรกิจใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมที่ทำอยู่เลยก็ว่าได้ บริษัทเหล่านี้ก็จะมองหาสิ่งที่จะเป็น New S Curve หรือธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงด้วยเทคโนโลยียุคใหม่

     ถ้าหากเราอยู่ในธุรกิจที่มุ่งเน้นนวัตรกรรมหรือเป็นเทคโนโลยีเกิดใหม่ไม่ว่าจะเป็นบล็อกเชน สกุลเงินดิจิทัล เอไอ บิ๊กดาต้า ฯลฯ นี่คือโอกาสที่จะเสนอธุรกิจของเราให้กับบริษัทที่ต้องการมองหาจุดเปลี่ยนสำคัญทางธุรกิจ

ขยาย Supply Chain ของตัวเอง

     บางครั้งธุรกิจที่มีความเข้มแข็งแล้วอาจจะต้องมองหาธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจเดียวกันหรือใกล้เคียงกันและซื้อกิจการเข้ามาอยู่ในพอร์ตรวมทางธุรกิจเพื่อที่จะขยายโครงสร้างธุรกิจหรือซัพพลายเชนของตัวเองให้ใหญ่ขึ้น นอกเหนือจากทำให้ธุรกิจในมือขยายตัวมากขึ้นยังมีประโยชน์ในแง่ของต้นทุนอีกด้วย

     ตัวอย่างเช่นธุรกิจร้านอาหารรายใหญ่ถ้าหากซื้อกิจการร้านอาหารขนาดเล็กกว่าเข้ามารวมกันจะทำให้เกิด Economy Of Scale ที่จะสามารถแชร์ต้นทุนต่างๆร่วมกันได้เช่นวัตถุดิบต่างๆ ซึ่งจะส่งผลบวกต่อทั้งคู่

     ธุรกิจที่เหมาะสมกับรูปแบบดังกล่าวอาจจะเป็นธุรกิจดั้งเดิมที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีใหม่มากนักแต่มีจุดขายเป็นของตัวเองไม่ว่าจะเป็นโปรดักต์ที่โดดเด่นแตกต่างหรือมีตลาดเฉพาะตัวที่เข้มแข็ง

ต้องการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีใหม่

     ทั่วไปแล้วการค้นคว้าวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ให้กับองค์กรอาจจะต้องใช้ทั้งเงินลงทุนรวมถึงเวลาเพื่อที่จะพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีที่ได้ลงทุนไปสามารถใช้งานได้จริงและหลายครั้งก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จ ทำให้เกิดแนวคิดของการที่บริษัทขนาดใหญ่ตัดสินใจเข้าเทคโอเวอร์กิจการขนาดเล็กเพื่อให้ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีรวมถึงทีมงานผู้ก่อตั้งไปในตัว

     หากเราเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่แต่อาจจะมีจุดอ่อนในการเข้าถึงตลาดหรือถนัดการเป็นธุรกิจ B2B มากกว่า นี่คือโอกาสที่จะนำเสนอเทคโนโลยีให้กับผู้เล่นรายใหญ่กว่า เช่น หากเราเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีการเงินก็สามารถเสนอเทคโนโลยีให้กับสถาบันการเงินดั้งเดิมได้

     ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแนวทางใดก็ตาม ผู้ประกอบธุรกิจต้องนำเสนอจุดแข็งของตัวเองให้ภาคธุรกิจมองเห็นโอกาสและเข้ามาร่วมธุรกิจด้วย อย่างไรก็ตามการเข้ามาเทคโอเวอร์หรือถือหุ้นในกิจการของรายใหญ่จะทำให้เราสูญเสียอำนาจในการตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียวหรืออาจจะต้องสูญเสียความเป็นเจ้าของทั้งหมดไป ผู้ประกอบการจึงต้องตัดสินใจให้ถ้วนถี่ก่อนนำเสนอธุรกิจของตัวเอง

Text: นเรศ เหล่าพรรณราย

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

Pennii Premium Popcorn   พลิกโฉมขนมขบเคี้ยว สู่ป๊อปคอร์นเพื่อสุขภาพ ด้วยนวัตกรรมระดับโลก

จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ภายในครัวของคุณแม่ที่รักการทำอาหารอย่าง “หญิง-พรพิมล ปักเข็ม” สู่แบรนด์ Pennii Premium Popcorn ป๊อปคอร์นพรีเมียมเพื่อสุขภาพ ที่จะขยายสู่ตลาดต่างประเทศ

เจนสอง 'สหไทย' พลิกห้างที่ถูกลืม สู่ค้าปลีกยุคใหม่ด้วยดิจิทัล

จาก “ห้างที่ไม่มีใครเหลียวมอง” สู่จุดเปลี่ยนที่ทำให้แบรนด์ท้องถิ่นกลับมายืนได้อีกครั้ง สศิษฏ์ ปัญจคุณาธร ทายาทรุ่นที่สองของสหไทย พลิกภาพห้างที่เคยถูกลืมให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ด้วย 5 กลยุทธ์ที่ทำให้มีมากกว่า 100 ร้านค้าติดต่อเข้ามาให้เลือก

KUSU เทียนหอมเสมือนจริง ที่มี “รูปทรงหิน” เป็นตัวตึง ฝีมือสุดทึ่งของสถาปนิกไทย

เหมือนจนอยากเก็บ สวยจนไม่อยากจุด กับ KUSU แบรนด์เทียนหอมสุดอาร์ต งานคราฟต์สุดจึ้ง ที่มีลูกเล่นอยู่ที่ “ความเสมือนจริง” ฉีกกฎตลาดของแต่งบ้านและเทียนหอมแบบที่เคยเห็นกันมา แต่กว่าจะถึงวันนี้ ก็ต้องเสียน้ำตา(เทียน) ไปมากมายทีเดียว