ใช้ชีวิตสู้ชีวิต เทคนิคหาโอกาสจากวิกฤต เปลี่ยนธุรกิจให้สตรองขี้น

 

 

     ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ ประโยคที่หลายคนคงคุ้นเคย แต่จะมีสักกี่คนที่พอจะรู้ว่าแล้วเราจะสร้างโอกาสได้อย่างไร และก็คงมีอีกหลายๆ คนเช่นกัน ที่อยากรู้ว่าจะสร้างโอกาสจากวิกฤตได้อย่างไร

    วีรพล สวรรค์พิทักษ์ ผู้จัดการการตลาดดิจิทัล บริษัท อีมิแน้นท์แอร์ ได้นำเสนอมุมมองการเปลี่ยนปัญหาให้เป็นโอกาสตามหลัก “ไคเซน” ของโตโยต้า ในการเข้าใจตนเอง เข้าใจวิกฤต และเราสามารถหาช่องทางโอกาสอะไรได้บ้างจากวิกฤตที่เกิดขึ้น

เข้าใจวงจรชีวิตธุรกิจ

 Resolve & Resilience การแก้ไขปัญหาและความยืดหยุ่น เช่น เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นมา เราต้องเตรียมรับมืออย่างไร เพื่อป้องกันพนักงานในองค์กรให้ปลอดภัย ขณะเดียวกันก็สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ด้วย

Return การวางแผนเพื่อกลับสู่การทำธุรกิจให้กลับมาปกติได้เหมือนเดิม เช่น การปรับปรุงเวลาเปิด-ปิด และรูปแบบการจำหน่ายสินค้าตามมาตรการของภาครัฐ

Reimagination การคิดใหม่เพื่ออนาคต เช่น การเตรียมรับมือกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีหน้า หรือหากต้องกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้งควรเตรียมรับมืออย่างไร

     แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปัญหาอุปสรรคใหญ่ของ SME คือ การคว้าโอกาสไม่ทันนั่นเอง

อุปสรรคทำให้ SME คว้าโอกาสไม่ทัน

  • การทำธุรกิจทุกอย่างย่อมมีอุปสรรค แต่ควรมองถึงโอกาสที่ซ่อนอยู่
  • เมื่อมองเห็นแล้ว แต่ไม่คว้าเอาไว้ คู่แข่งอาจคว้าเอาไปได้
  • ยกตัวอย่างเช่น ตลาดผู้สูงอายุ จริงๆ แล้ว คือ โอกาสทองของ SME เลย เพราะ
  • การซื้อสินค้าของผู้สูงอายุไม่ได้จำกัดอยู่แค่สินค้าเกี่ยวกับสุขภาพเท่านั้น
  • ผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน วัยรุ่นกลับมีการใช้งานอินเตอร์เท่าๆ กันในแต่ละวัน
  • ด้วยกำลังซื้อที่มีค่อนข้างสูง จึงโตสวนกระแสกับเศรษฐกิจ แต่ขณะเดียวกันการแข่งขันก็สูงเช่นกัน

ใช้วิกฤตสู้วิกฤต

     นอกจากจะทำความเข้าใจกับธุรกิจให้มากขึ้นแล้ว ก็ต้องเข้าใจกับวิกฤตที่เกิดขึ้นด้วย รวมถึงพัฒนาธุรกิจตนเองโดยใช้หลักการวิกฤตสู้วิกฤต

  • Cashflow

มีอยู่ 2 แนวทาง คือ 1. เพิ่มเงินทุนที่มี 2. ลดค่าใช้จ่ายลง โดยการหาเงินทุนเพิ่ม เช่น การเพิ่มยอดขาย การวิ่งเข้าหาแหล่งเงินทุน เพื่อมาเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ ส่วนการลดค่าใช้จ่าย ได้แก่ ต้นทุนประกอบการ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต, ค่าใช้จ่ายในการบริหาร เช่น เงินเดือนพนักงาน, ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น การขนส่ง การปรับจากหน้าร้านมาเป็นช่องทางออนไลน์

  • Organization Behavior

การปรับองค์กรและพฤติกรรมให้เข้ากับสถานการณ์ที่เป็นอยู่

  • Value Proposition

การสร้างคุณค่าที่แท้จริงขององค์กร คือ อะไร ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านกาแฟ ต้องมองให้ออกว่าจริงๆ แล้วลูกค้าที่เข้ามาต้องการกินกาแฟของเราหรือเสพบรรยากาศมากกว่ากัน ดังนั้นต้องมองให้ออกว่าเรานำเสนออะไรให้ลูกค้า แล้วลูกค้ารับรู้ในสิ่งที่เรากำลังนำเสนออยู่หรือไม่

  • Integration

พลิกทุกกระบวนท่าที่มี เพราะธุรกิจคิดแยกส่วนไม่ได้ ต้องบูรณาการไปด้วยกัน ไม่ว่าการบริหาร การตลาด ไปจนถึงดูการผลิต การขนส่ง การพัฒนาธุรกิจ เพื่อเอาตัวรอดจากวิกฤตพลิกธุรกิจให้กลับมาดำเนินได้ตามปกติ

  • Digitize

ดิจิตอล ไม่ใช่ไม่ได้ ซึ่งไม่ได้มีช่องทางการขายอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ใช้ทุกช่องทางที่มี บางทีลูกค้าอาจไม่ได้ซื้อวันนี้ แต่เขารับรู้ถึงการสื่อสารจากเราได้เช่นกัน

จุดแข็งของ SME แตกต่างจากธุรกิจใหญ่

1. มีความคล่องตัวสูง ใช้ความเล็กที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

2. มีผู้สนับสนุนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทุกวันนี้เข้าไปใช้โอกาสจากช่องทางที่มีอยู่มากน้อยแค่ไหน

3. เทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจเกิดความเท่าเทียมกันไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ จึงเป็นอีกสิ่งที่ SME ไม่ควรหลีกหนี และต้องปรับตัวให้ได้

     มนุษย์ทุกคนจะอยู่รอดได้ คือ ต้องมีการปรับตัว สถานการณ์ธุรกิจก็เช่นกัน การปรับตัวให้ทันวิกฤตนอกจากได้พัฒนาตัวเองแล้วอาจสร้างโอกาสใหม่ๆ ได้อีกด้วย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

HEH ร้านอาหารย่านภูเก็ต เชฟใช้เวลาในครัวให้เหมือนอยู่ในสนามแข่ง ไม่อยากเป็นแค่ Just Another Restaurant

“HEH (เห)” ร้านอาหารสไตล์  Australian Contemporary กลางเมืองภูเก็ต สร้างเมนูอาหารให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะไม่อยากเป็นเพียง แค่ร้านอาหารร้านหนึ่ง

จงปังนมสด ร้านดังแห่งสุราษฎร์ธานี แจ้งเกิดเพราะแบรนด์ดิ้ง และไอเดียทำคอนเทนต์จนเป็นไวรัล

"จงปังนมสด" ร้านดังเมืองสุราษฎร์ธานี ที่กำลังโด่งเป็นไวรัลขณะนี้ จากคลิปตัดต่อที่นำเสียงของเจ้าของเจ้าของร้านขนมปังชื่อดังย่านกทม. อย่าง "มนต์นมสด" มาเป็นแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ