ทำยังไงให้คนอยากได้สินค้า จากกระแส Omega x Swatch แนวคิดที่ SME ไปปรับใช้ได้กับธุรกิจ

 

 

     ไม่กล่าวถึงไม่ได้กับกระแสที่ร้อนแรงไปทั่วโลก สำหรับการที่แบรนด์นาฬิกา OMEGA และ Swatch มา Collaboration กันเป็นครั้งแรกด้วยการออกนาฬิการุ่น MoonSwatch

     สิ่งที่เกิดขึ้นในหลายเมืองใหญ่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นเมลเบิร์น, ลอนดอน, ฮ่องกง สิงคโปร์, อัมสเตอร์ดัม ตลอดจนกรุงเทพฯ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ห้างแตกนักช็อปตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลายพันคนในบางพื้นที่เข้าคิวซื้อนาฬิการุ่นใหม่จนทำให้เกิดความชุลมุน และบางสาขาก็ยกเลิกขายหน้าร้านในที่สุด อย่างเช่นไทยที่ออกมาประกาศจะขายทางออนไลน์แทน

     แม้แบรนด์ Swatch จะออกมาย้ำว่า “นาฬิกาในคอลเลกชันนี้ไม่ใช่สินค้าลิมิเต็ด และจะมีการเติมสต๊อกสินค้าในอนาคต” แต่ด้วยความที่ออกมาในช่วงแรกมีจำนวนไม่เยอะมาก คือหลัก ‘ร้อยเรือน’ ต่อสาขา ก็ทำให้ความต้องการนั้นพุ่งแบบฉุดไม่อยู่ เพื่อที่จะเป็นคนแรกๆ ที่ได้ครอบครอง

     ถ้าจะท้าวความถึงที่มาของแบรนด์ Swatch นั้นเกิดขึ้นมาจากการที่อุตสาหกรรมนาฬิกาของสวิสซึ่งมีราคาที่ค่อนข้างสูง กำลังประสบปัญหาการแข่งขันจากอุตสาหกรรมนาฬิกาของญี่ปุ่นที่มีราคาที่เข้าถึงง่ายมากกว่า จึงใช้กลยุทธ์ Fighting Brand เพื่อมาแข่งขันจึงเกิดมาเป็น Second Watch หรือ Swatch นั้นเอง

     จากแบรนด์ที่มีประวัติมาอย่างยาวนานกับ Big Move ที่สำคัญหลัง Pandemic แบบนี้มีสิ่งที่น่าเรียนรู้หลายอย่าง โดยในมุมมองส่วนตัวสรุปประเด็นออกมาดังนี้ครับ 

1. Corporate Strategy : Omega x Swatch Collaboration กันได้เพราะอยู่ใน Swatch Group เหมือนกันความร่วมมือครั้งนี้แสดงถึงกลยุทธ์เฉพาะของ Swatch Group ที่พยายามกระตุ้นความสนใจใหม่ๆ ในนาฬิกาของตนด้วยการนำเสนอความหรูหราที่มาในราคาประหยัด เพราะปกติแล้วนาฬิกา OMEGA Speedmaster Professional จะมีราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 6,300 ฟรังก์สวิส หรือราว 227,000 บาท ในขณะที่ OMEGA x Swatch มีราคาเริ่มเพียง 250 ฟรังก์สวิส หรือ 9,000 บาท (แพงกว่าราคาไทยเล็กน้อย ที่วางขาย 8,700 บาท) ราคาที่เข้าถึงได้ก็ทำให้หลายคนก็รู้สึกสนใจโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าของนาฬิกาแบรนด์ OMEGA ซึ่งเป็นแบรนด์หรูที่มีราคาสูง ดังนั้นบางทีการที่เราใช้กลยุทธ์ Collabation ในวาระพิเศษบางอย่างโดยที่รสนินมความชอบไปในทิศทางเดียวกันเกิดการ Synergy ของแบรนด์นั้นเป็นสิ่งที่ดีและได้ประโยชน์มากจริงครับ

2. Brand Remind : ส่วนสำคัญอีกส่วนนึงคือ Brand Swatch จะดังมากๆ ในช่วงที่ผมนั้นเป็นวัยรุ่น ยังจดจำได้อย่างดีว่าตอนวัยรุ่นนั้นอยากใส่นาฬิกา Swatch กันอย่างมากมาย แตกต่างกับวัยรุ่นในปัจจุบันที่มีตัวเลือกของนาฬิกาเยอะแยะ ทั้งแบบนาฬิกาจริงๆ หรือ Smartwatch ก็ตาม แต่เด็กวัยรุ่นยุค 90 ในสมัยนั้นก็โตมากับแบรนด์ Swatch และก็มีกำลังทรัพย์และความต้องการรูปแบบที่โตขึ้นในปัจจุบัน ก็เป็นเรื่องยากที่จะกลับไปสนใจนาฬิกา Swatch รูปแบบปกติที่เน้นความสดใสสนุกสนาน ดังนั้นการ Collaboration ครั้งนี้ได้ตอบโจทย์กลุ่ม Fanclub ยุคก่อน อาศัย Brand Remind ลูกค้าในอดีตที่โตขึ้นได้เป็นอย่างดี กลยุทธ์การทำ Brand Rejuvenate ทำให้แบรนด์กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งนึงเป็นสิ่งที่ดี อย่างน้อย 5 ปี ทำครั้งนึงก็ยังได้ เพื่อลดอายุของแบรนด์ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่อยู่เสมอๆ ไม่ให้แบรนด์ไม่แก่ไปกับแฟนคลับยุคเดิมๆ เพียงอย่างเดียว

3. Story Telling : ความพิเศษของนาฬิการุ่นนี้อยู่ที่การหยิบเอาแรงบันดาลใจจากอวกาศมาใช้ในการรังสรรค์นาฬิกา ตั้งแต่ดาวยักษ์แดงที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะไปจนถึงดาวเคราะห์แคระกับดาวบริวารมีให้เลือกถึง 11 รูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบตั้งชื่อ และดีไซน์ตามดวงดาวต่างๆ และมีส่วนผสม Bioceramic 2 ใน 3 ส่วน ซึ่งแข็งแรง น้ำหนักเบาเป็นนวัตกรรมเด่นจาก Swatch และอีกหนึ่งส่วนคือสารที่ได้จากน้ำมันละหุ่ง มีการผสมผสานผง Stainless เพื่อเป็นเกียรติให้นาฬิกา Stainless Steel ที่นำไปใช้บนดวงจันทร์ในปี 1969 สายรัดข้อมือแบบ Velcro Strap ซึ่งเป็นแบบเดียวกับนักบินอวกาศ Apollo ทุกคนสวมใส่กับชุดอวกาศและด้วยการที่มีลักษณะคล้ายกับ Speedmaster Professional อันเป็นไอคอนิก หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘Moonwatch’ เนื่องจากถูกสวมใส่โดยนักบินอวกาศของสหรัฐฯ ก็ทำให้หลายคนอยากได้มาครอบครอง การที่เรามีความสามารถในการเล่าเรื่องที่ดี เป็นจุดแตกต่างที่สามารถสร้างเป็น Value ให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ทำให้คุณค่าในมุมที่ผู้บริโภคได้รับนั้นสูงขึ้นส่งเสริมความสำเร็จของธุรกิจได้เป็นอย่างดี

4. Muketing : เนื่องจากการ Design ได้มีการผูกเรื่องราวกับ ดวงดาวต่างๆ ซึ่งดวงดาวต่างๆ นั้นก็จะส่งผลกระทบถึงดวงชะตาและความเชื่อของผู้สวมใส่ ทำให้ในประเทศไทยได้มีการหยิบยกเรื่องราวสายมู มาเพิ่มมูลค่า ความน่าสนใจให้กับสินค้ามากยิ่งๆขึ้นไป อาจจะเพื่อปั่นราคา Resell ให้สูงขึ้นไปอีกก็เป็นได้ เรื่องความเชื่อยังเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีกับประเทศตะวันออกที่มีความผูกผันกับเรื่องราวเหล่านี้ค่อนข้างมาก แต่ไม่ควรใช้มากจนเกินไปและควรดูจังหวะความเหมาะสมไม่ทำให้เสียแบรนด์ด้วย

5. FOMO (Fear of Missing Out) ทุกครั้งที่มีการคอลลาบอเรชันระหว่างแบรนด์ใหญ่กับแบรนด์ใหญ่ หรือกระทั่งแบรนด์ใหญ่กับศิลปินดัง เราก็มักจะได้เห็นข่าวกระแสต่อคิวอย่างยาวเหยีดขึ้นมาด้วยทุกครั้ง และกระแสที่มาควบคู่กันคือการที่ถูกมองว่า คนที่มาต่อคิวนั้นไม่ได้ถูกนำไปใส่เอง แต่ต้องการนำไปขายต่อ หรือที่เรียกในวงการว่า ‘รีเซล’ อย่างนาฬิกา OMEGA x Swatch นั้น ตัวผมเองได้อยู่ในกลุ่ม Facebook ของผู้ที่สนใจสินค้านี้ราคาที่ถูกโพสต์ได้ขยับจาก 8,700 บาท พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ราว 80,000 กว่าบาท ซึ่งเป็นราคาที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวการหยิบมา ‘รีเซล’ ไม่ได้เกิดขึ้นในเฉพาะกับประเทศไทย แต่เกิดขึ้นทั่วโลก ตลอดจนเกิดขึ้นกับสินค้าหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ‘สินค้าหรู’ หรือ ‘ไม่หรู’ ก็ตาม หากแบรนด์ทำกลยุทธ์สร้างกระแสให้เป็นไวรัลได้ ความสำเร็จก็ไม่ไกลจนเกินไปเลยทีเดียว

     ทั้งนี้โดยเบื้องลึก Swatch Group หวังจะฟื้นรายได้ของตัวเอง หลังมองเห็นการส่งออกนาฬิกาสวิสที่มีราคาสูงฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากการดิ่งลงจากโรคระบาด ในขณะที่นาฬิการาคาต่ำกว่า 500 ฟรังก์สวิส หรือราว 18,000 บาท กำลังดิ้นรนเพื่อให้กลับมาเทียบเท่าก่อนเกิดโรคโควิด

 

Ref :

https://thestandard.co/omega-x-swatch-rising-price/

https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-03-26/low-priced-omega-speedmaster-prompts-global-swatch-store-chaos

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

จงปังนมสด ร้านดังแห่งสุราษฎร์ธานี แจ้งเกิดเพราะแบรนด์ดิ้ง และไอเดียทำคอนเทนต์จนเป็นไวรัล

"จงปังนมสด" ร้านดังเมืองสุราษฎร์ธานี ที่กำลังโด่งเป็นไวรัลขณะนี้ จากคลิปตัดต่อที่นำเสียงของเจ้าของเจ้าของร้านขนมปังชื่อดังย่านกทม. อย่าง "มนต์นมสด" มาเป็นแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ

SME อยากโตรับเทรนด์ ESG แม่ทัพกรุงศรีเอสเอ็มอี แนะ ลด-เพิ่ม-สร้าง โอกาสพลิกธุรกิจโตยั่งยืน

“ESG” คือตัวย่อของคำว่า Environment (สิ่งแวดล้อม)  Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ไม่เพียงองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น ทว่าแม้แต่เอสเอ็มอี ก็สามารถสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

สูตรปั้นนวัตกรรมให้ยอดขายโต 8 เท่าในปีแรก จากแบรนด์น้ำมันนวด Suwan Spray

ถ้าอุปสรรคเปรียบเสมือนบันไดไปสู่ความสำเร็จ การทำนวัตกรรมก็เปรียบเสมือนบันไดอีกขั้นของ "ณฐมน ปิยะพงษ์-ยุ้ย" เจ้าของผลิตภัณฑ์ "Suwan Spray" แบรนด์น้ำมันนวดที่นำสูตรบรรพบุรุษกว่า 100 ปีมาต่อยอดด้วยการใช้นวัตกรรมสกัดสารแก้ปวดจากเบต้าไพนีนในมะกรูด จนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศนักธุรกิจนวัตกรรมมาครองได้