Nature-Positive เทรนด์ใหม่ต้องจับตา กลุ่ม G7 ยักษ์ใหญ่ของโลกใช้ผลักดันการทำธุรกิจ

 

     ทุกวันนี้กระแสกรีน กระแสรักษ์โลกกำลังถูกขับเคลื่อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรต้องคำนึงถึงขึ้นมาเป็นอันดันแรกๆ ของการทำธุรกิจ ซึ่งไม่ใช่แค่การทำเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดูดีเท่านั้น แต่เรียกว่ายุคนี้ใครไม่ทำสิแปลกไปเลยก็ว่าได้ เผลอๆ อาจถูกมองไม่ดีในสายตาผู้บริโภคด้วย ดังนั้นแล้วหลายบริษัทจึงพยายามหันมาให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จนเกิดเป็นเทรนด์ที่ชื่อว่า “Nature positive”

“Nature positive” คืออะไร?

     ตามรายงานของ World Economic Forum ที่ให้ไว้ หมายถึง การเสริมสร้างความยืดหยุ่นของโลกและสังคม เพื่อหยุดยั้งก่อนที่จะเกิดการสูญเสียธรรมชาติที่ดีของโลกตลอดไป

     ถามว่า Nature Positive แตกต่างจาก Net-Zero และ Carbon Neutral อย่างไร?

     เราอาจเคยได้ยินคำศัพท์หลายคำเพื่อช่วยส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เช่น Carbon Neutral – การไม่มีปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ หรือ Net-Zero – การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ แต่สำหรับ Nature Positive ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาใหม่นี้มีความหมายมากกว่านั้น เพราะไม่ใช่แค่การทำร้ายให้น้อยลง แต่คือ การหันมาทำทุกอย่างที่จะส่งผลบวกหรือผลดีต่อธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศที่แข็งแรง มากกว่าการยอมรับการจำกัดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

     โดย G7 หรือกลุ่มประเทศผู้นำยักษ์ใหญ่ของโลกทั้ง 7 แห่ง (แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) ที่รวมกันแล้วมี GDP สูงกว่าครึ่งหนึ่งของศรษฐกิจทั้งโลกร่วมกันออกมาแสดงจุดยืนว่าการทำร้ายโลกหรือชั้นบรรยากาศนั้นไม่ควรแค่จะเป็นเพียงแค่ศูนย์ แต่ควรเป็นบวกหรือส่งผลดีต่อธรรมชาติด้วย เพื่อประโยชน์ของทั้งผู้คนและโลกใบนี้ จึงได้มีการนิยามศัพท์ใหม่ขึ้นมาทางสิ่งแวดล้อมว่า “Nature Positive” โดยได้มีการร่วมกันกำหนดมาตรฐานและกฎเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ อย่างเช่นการให้คะแนน ESG (แนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนย่อมาจาก Environment, Social, และ Governance) ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกจำนวนมาก เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาลงทุน

     ในปี 2560 State Street Global Advisors เคยได้ทำการศึกษากับผู้ลงทุนสถาบันทั้งหมด 475 องค์กรในทวีป สหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชียแปซิฟิก พบว่าพอร์ตการลงทุนของของบริษัทส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ให้ความสนใจจัดสรรเงินลงทุนกับองค์กรที่ดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG สอดคล้องกับผลการศึกษาจาก Financial Planning Association ในปี 2563  ที่ได้ทำการสำรวจผู้ให้คำแนะนำทางการเงินกว่า 242 รายในสหรัฐอเมริกาโดยพบว่ามีการแนะนำนักลงทุนในกองทุนแบบ ESG มากขึ้นจากปีที่ผ่านมา สำหรับในไทยเองได้มีการเปิดเผยจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าการลงทุนที่เน้นความยั่งยืนนำมาซึ่งผลตอบแทนที่มากขึ้น ซึ่งผลจากการทดลองจัด portfolio บริษัทจดทะเบียนไทยตามดัชนี DJSI ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า Portfolio ดังกล่าวให้ผลตอบแทนรวมสะสม 51 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าดัชนี SET100TRI ที่ใช้เปรียบเทียบอยู่ 13 เปอร์เซ็นต์ (ข้อมูลจาก https://www.tris.co.th/esg)

     โดยคณะกรรมการร่วมอนุรักษ์ธรรมชาติ (JNCC) ในสหราชอาณาจักรได้กล่าวรายงานไว้ในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา ถึงแผน Nature Positive 2030 เพื่อกระตุ้นให้ G7 และ World Economic Forum (WEF) ร่วมกันนำไปใช้ผลักดันเหล่าสมาชิกเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเชิงบวกกับธรรมชาติให้เกิดขึ้นให้ได้ภายในปี 2030

อยากทำ Nature positive ต้องเริ่มยังไง

     สำหรับธุรกิจที่สนใจอยากดำเนินแนวทางตาม Nature positive ควรเริ่มต้นดังต่อไปนี้

     1. ตั้งธงว่าสิ่งแวดล้อม คือ หนึ่งในหัวใจสำคัญของธุรกิจ

     ข้อแรก คุณต้องมีหัวใจแน่วแน่เพื่อจะทำธุรกิจให้เกิดผลเชิงบวกต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ได้ เพื่อจะกำหนดทิศทางความเป็นไปของธุรกิจที่นอกจากไม่ทำลายแล้ว ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตด้วย

     2. ประเมินผลกระทบของธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานกระบวนการและการดำเนินงานที่มีอยู่ในปัจจุบันของธุรกิจขัดแย้งกับการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเชิงบวกอย่างไรบ้าง? ซึ่งไม่เพียงแต่กิจการของคุณเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การให้ความสำคัญและใส่ใจในทุกๆ ขั้นตอน ยังเป็นการช่วยคัดสรร หรือส่งเสริมให้ธุรกิจอื่นหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในกิจการของคุณตระหนักและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมพร้อมกันไปด้วย

     3. กำหนดมาตรฐานสร้างผลกระทบเชิงลบให้น้อย เชิงบวกให้มากขึ้น

     โดยระบุผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงลบที่เกิดขึ้นภายในธุรกิจ เมื่อรู้ว่าจุดใดขาดดุลก็ให้ตัดออกและปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น จากนั้นลองสร้างมาตรฐานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์ ลูกค้า และหุ้นส่วนทางธุรกิจอื่นๆ โดยลองกำหนดเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน เพื่อดูว่าแต่ละส่วนสามารถช่วยในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นได้มากน้อยเพียงใด

     4. วัดผลความก้าวหน้า

     เมื่อกำหนดโครงสร้างเพื่อมุ่งสู่แนวทาง Nature Positive แล้ว คุณต้องมีการวัดความคืบหน้าที่เกิดขึ้นด้วยว่ากิจกรรมต่างๆ ที่คุณทำนั้นส่งผลต่อความยั่งยืนที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกได้มากน้อยแค่ไหน

     สุดท้ายให้จำไว้ว่า Nature Positive ไม่ใช่ศัพท์ใหม่ที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อภาพลักษณ์ที่ดูดีให้ธุรกิจเท่านั้น แต่หากคุณต้องการสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริงให้เกิดขึ้นในโลกอนาคตที่ดีได้ การทำเพื่อธรรมชาติเชิงบวกนี้ คือ สิ่งที่ธุรกิจจะละเลยไม่ได้เลย

ที่มา : 

https://www.diligent.com/insights/esg/nature-positive/

https://www.entrepreneur.com/article/421275

TEXT : กองบรรณาธิการ

www.smethailandlcub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน