9 คาถาพาธุรกิจรอด คู่มือทำคนทำธุรกิจเล็กๆ ต้องอ่าน ถ้าไม่อยากตกม้าตายกลางทาง

 

     ช่วงนี้ดูเหมือนว่ากระแสของสายมูฯ กำลังมาแรงแซงทางโค้งในทุกๆ วงการ

     ผู้เขียนเองก็เช่นกัน ในฐานะผู้ประกอบการก็มูฯ สุดตัวเช่นกัน คาถาประจำตัวขำๆ ก็คือ “ไม่งมงาย จบสายวิทย์”  ทั้งๆ ที่ทุกอย่างในชีวิตนั้น “มู”​ จนสุดทาง

     หลักการมีไม่มาก  เอาแค่ทำแล้วก็ต้องไปให้สุด หลังจากมูฯ จนสุด ให้สบายใจแล้วก็เอาพลัง จากกระแสความตั้งใจนั้นมาใส่เกียร์กับการทำธุรกิจให้เต็มที่สุดตัวเช่นกัน

     เรื่องเครื่องรางและพระเครื่อง คงแนะนำให้ไม่ได้ เพราะจริตแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเป็น “คาถาเอาตัวรอด”​ สำหรับผู้ประกอบการ อันนี้แจกให้ได้เลย

     9 คาถาเอาตัวรอด มีดังนี้ค่ะ (เลขมงคลไปอีก)

1. ‘อัตตาหิ อัตโนนาโถ’ เป็นคาถาบทแรก ที่ต้องกำกับตั้งแต่การตัดสินใจเริ่มทำธุรกิจ นั่นคือ

เลือกทำธุรกิจที่เราทำเองได้ ไม่ต่ำกว่า 70-80 % ความหมายคือ อย่าฝากชีวิต (ธุรกิจ) ไว้กับคนอื่น ถ้ามันจะพัง ให้มันพังในมือเรา ถ้ามันจะรุ่ง เรานี่แหละทำให้มันรุ่ง

นอกจากนี้ ให้เตรียมแผนสำรองกับการที่ลูกจ้างลาออกไว้เสมอ ทั้ง Back up soft file และการ operation โดยเฉพาะถ้าธุรกิจของคุณมีขนาดไม่ใหญ่มาก คุณต้องพร้อมทำงานแทนลูกจ้าง ในระหว่างที่ ยังหาคนใหม่ไม่ได้ เรื่องนี้ต้อง Stand by และทำใจไว้ตลอดเวลา

2. ‘ทำงานต้องได้เงิน’ ท่องไว้ให้มั่นเลยค่ะ ผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมากที่ Set ธุรกิจแล้ว

ไม่ได้ตั้งเงินเดือนให้ตัวเอง ปัญหาที่ตามมาก็คือ เมื่อทำงานแล้วไม่เห็นเงิน ทำไปสักพักก็จะ ท้อแท้ แล้วก็ล้มเลิก ธุรกิจไปโดยปริยาย หลักการคือ ตั้งเงินเดือนเป็นต้นทุนเอาไว้เลยค่ะ แล้วกำไรที่ได้ คือ รายได้ - ต้นทุน (ที่มีค่าจ้าง) ค่อยดึงออกมา

3. ‘ตัวเลขไม่เคยโกหก’ อีกเรื่องที่ผู้ประกอบการตกม้าตาย ก็คือ การไม่ทำบัญชีรับ- จ่าย อย่างจริงจัง

ทำให้ไม่เห็น cash flow และภาพรวมของกระแสเงินสด แล้วก็ไม่เห็นภาพรวมการเติบโต และการ ติดลบของ ธุรกิจด้วย เดี๋ยวนี้มีโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปเยอะเลย โหลดมาใช้งานได้ง่ายๆ ด้วย แต่ถ้าธุรกิจเริ่มขยาย แนะนำให้จ้างนักบัญชีเก่งๆ มาช่วยวางแผนภาษีและค่าใช้จ่ายให้ จะดีกว่า

ยิ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการค้าขาย ที่มีกระแสเงินสดเข้าออกทุกวัน การทำบัญชีจะยิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าไม่ทำ คุณจะไม่รู้เลยว่า จริงๆ แล้วที่เหนื่อยอยู่ทุกวันนี้ มีเงินเหลือใช้ และเป็นกำไรเท่าไร

4. ‘เหลือดีกว่าขาด’ สิ่งนี้คือเงินสดสำรองไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินหรือหมุนไม่ทัน เวลาคิดต้นทุน

ในการเปิดกิจการ อย่าเอาเงินสดไปลงทั้งหมด แต่ให้กันไว้ส่วนหนึ่งด้วย เพราะในการทำธุรกิจ มีความเป็นไปได้ ที่เงินสดจะขาดมือ เช่น ลูกค้าจ่ายเงินช้า แต่ต้องจ่ายเงินให้กับซัพพลายเออร์ หรือจังหวะที่ต้องซื้อของและ สต๊อกวัตถุดิบต่างๆ เพื่อเตรียมผลิตในล็อตใหญ่ อาจจะต้องใช้เงินสำรอง หมุนไปก่อน เพราะกว่าจะเอา ผลิตภัณฑ์ออกมาขายได้ก็ต้องใช้เวลา

5. ‘ความพยายามและความอึดเท่านั้นที่ครองโลก’ คิดเผื่อไว้เลยว่า 6 เดือนแรก สถานะบัญชีอาจจะ

อยู่ในดินแดนติดลบ เวลาออกไปลุยทำธุรกิจจริงๆ จะได้ไม่เครียดมาก ขอให้อึดและอดทนรอจนกว่า สถานะ บัญชีจะดีดมาดินแดนบวก อย่าโลกสวยว่าเมื่อเริ่มทำจะเห็นกำไรทันที

6. ‘รู้ตัวทั่วพร้อม’ รู้ว่าตัวเองเก่งและถนัดด้านไหน ไปทุ่มเทที่สิ่งนั้น ส่วนในเรื่องที่ไม่ถนัด ให้จ้างคนที่

เก่งกว่ามาทำงานให้ ในที่นี้หมายถึงทั้งเรื่องความถนัดคิด และความถนัดด้านทักษะฝีมือด้วย จำไว้ว่าโลกนี้มีคน เก่งกว่าเรา ในเรื่องต่างๆ อีกมากมาย อย่ามัวเสียเวลาทำสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด

7. ‘พึงคบบัณฑิตและกัลยาณมิตรที่ดี’ คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าการทำธุรกิจ ต้องมี Connection

ไว้ทำมาค้าขายและต่อยอดทางธุรกิจแล้วจะดี แต่ผู้เขียนมองว่า สิ่งที่สำคัญกว่า คือการมี “ที่ปรึกษา” ที่ดี และพร้อมให้คำปรึกษาในทุกๆ ด้านที่เราต้องการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นการว่าจ้างจริงๆ จังๆ แต่หมายถึงเพื่อนฝูง ที่มีความถนัดแตกต่างจากเรา และสามารถยกหู พูดคุยปรึกษา ได้ตลอดเวลา

8. ‘Selective Hearing Problem’ เลือกมองปัญหาให้เป็น แล้วแก้ปัญหาให้ถูกจุด ถูกเรื่อง และถูก

ขนาด อันนี้สำคัญมาก บางครั้งขนาดของปัญหาก็อยู่ที่มุมมอง มองให้เล็กก็ไม่ยากมาก ถ้ามองให้ใหญ่ ก็เหนื่อยหน่อย

ข้อสุดท้าย

9. ‘Stay Strong & Positive’ การเป็นผู้ประกอบการจะต้องเข้มแข็งและหนักแน่น ปัญหามีไว้แก้

ก็แก้กันไป ใช้ชีวิตอย่างมีความหวัง แต่ให้มองโลกตามความเป็นจริง ถึงวันนี้จะไม่ใช่วันของเรา หากไม่ล้มเลิก ซะก่อน มันจะต้องมีวันที่ใช่ในสักวัน  

     ถ้าวันนี้เหนื่อย ก็ขอให้เหนื่อยอย่างมีความหวัง : )

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย