สาวนักสู้ตกงานตอนอายุ 50 ปี สมัครงานกว่า 500 ที่แต่ไร้คนจ้าง ลุกขึ้นสร้างธุรกิจ Osme Candles ของตัวเอง

Text : รัชนีกร ทองรอด

Photo : Osme Candles

 

     ในสถานการณ์โควิด-19 ในที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อหลายๆ ธุรกิจ และอีกหลายๆ ชีวิตที่เป็นพนักงานตั้งแต่ระดับล่างไปจนถึงระดับบน บางคนโดนจ้างออกเพราะเงินเดือนสูง

     คนเหล่านั้นก็มักจะเป็นคนที่มีอายุแล้ว การที่พวกเขาต้องไปหางานใหม่นั้น มันเป็นอุปสรรคกับพวกเขาเป็นอย่างมาก เพราะว่าบริษัทส่วนใหญ่ไม่รับคนที่มีอายุเข้าทำงาน ซึ่งหญิงสาวที่เรากำลังจะพูดถึงเขาก็พบเจอกับปัญหาเหล่านี้เหมือนกัน แต่เธอไม่ได้ยอมแพ้ พร้อมเปลี่ยนความคิดของตัวเอง กลายเป็นผู้ก่อต้องธุรกิจเทียนหอม 

     หญิงสาววัย 57 ปีคนนี้มีนามว่า Paula Grady จากนิวแฮมป์เชียร์ เมื่อก่อนเธอเคยทำงานเป็นผู้จัดการบัญชีของฝ่ายไอที แต่การทำงานของเขาต้องจบลงอย่างกะทันหันในปี 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 

     ในเมื่อชีวิตมันต้องดำเนินต่อ เธอจึงต้องหางานทำ เธอได้สมัครงานมากกว่า 500 แห่ง ในช่วงล็อกดาวน์ แต่ที่น่าเศร้ามากไปกว่านั้นเธอถูกเรียกสัมภาษณ์เพียงสามครั้งเท่านั้น นั่นอาจเป็นเพราะเงื่อนไขของบริษัทที่รับสมัครงาน ซึ่งหลายๆ บริษัทก็ไม่รับคนอายุ 50 เข้าทำงาน

     จากเหตุการณ์ข้างต้น ทำให้เธอรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่ามาก แม้จะพยายามเท่าไรมันก็ไม่มีประโยชน์เอาซะเลย และด้วยเหตุนี้ทำให้เธอต้องตัดสินใจที่จะทำบางอย่างและบอกกับตัวเองว่า “ถ้าหางานทำไม่ได้ ให้สร้างมันขึ้นมา”



ธุรกิจใหม่ที่สร้างขึ้นด้วยมือ 

     และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจของสาวนักสู้ เธอได้ก่อตั้งธุรกิจเทียนหอม ภายใต้แบรนด์ Osme Candles

     ต้องบอกก่อนว่าก่อนเธอจะเริ่มต้นทำธุรกิจเทียนหอม Paula เคยอบรมด้านการจัดการบริการรวมถึงการทำอาหารด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอชอบมาตั้งแต่เด็ก เธอจึงเอาทักษะเหล่านั้นมาปรับใช้ในการทำเทียนหอม ซึ่งในการทำเทียนหอมก็มีสูตรและกระบวนการเหมือนกับการทำอาหาร เมื่อเธอคิดได้อย่างนั้นเธอจึงเปลี่ยนโรงรถของเธอให้เป็นสตูดิโอทำเทียนหอม

     และเมื่อเธอดำเนินธุรกิจมาได้มากกว่าหนึ่งเดือน กิจการเริ่มไปได้ดี เจ้าของแบรนด์ Osme Candles จึงได้นำเทียนหอมออกไปสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งนำไปฝากขายกับร้านขายของกระจุกกระจิกและร้านขายของตกแต่บ้าน 

     และได้เจรจากับซัพพลายเออร์อีกหลายๆ บริษัท  เพื่อร่วมกันผลิตเทียนหอม จากความพยายามของเธอในวันนั้นรางวัลที่เธอได้รับคือ เงินมาจากการขายเทียนหอม

     "อย่ารอช้าที่จะเสี่ยง จงใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้มาตลอดหลายปีลงมือทำมัน" Paula กล่าวทิ้งท้าย 

     ตัวเรามีคุณค่าสำหรับบางสิ่งเสมอแค่หาให้เจอ

 

ที่มา : https://www.bbc.com/news/business-54482615

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย