จับกระแสด้อมยังไงให้ยอดพุ่ง 50% ถอดกลยุทธ์ร้านจัดดอกไม้ Aphrodite Flowers

Text: Neung Cch.

 

     ข้อดีอย่างหนึ่งของการเป็นธุรกิจขนาดเล็กคือ สามารถปรับตัวได้ไว เอาใจลูกค้าได้เร็ว ถ้ารู้จักปรับตัวให้ทันกระแสจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้

     โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันมีกลุ่มลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย นั่นคือแฟนคลับเหล่า FC ด้อม หรือติ่ง สุดที่จะนิยามไปตามยุคสมัย ซึ่งคนกลุ่มนี้เปรียบเหมือนคลื่นใต้น้ำคอยผลักดันศิลปินให้โด่งดังแล้ว ว่ากันว่าถ้าธุรกิจไหนตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้เตรียมนับแบงก์ได้เลย เหมือนกับชายหนุ่มวัย 28 ปี สหรัฐ วงค์ษา เจ้าของร้าน Aphrodite Flowers ที่สามารถปรับตัวต่อยอดจากการจัดช่อดอดไม้ด้วยไม้สดปรับกลยุทธ์มาใช้แบงก์ หรือขนมโปรดของเหล่าศิลปินทำเป็นช่อดอกไม้สร้างรายได้ให้ร้านตัวเองเพิ่มขึ้นกว่า 50%

ปรับตัวให้เป็นก็เห็นรายได้

     หนุ่มจากเชียงรายเล่าให้ฟังว่า โดยปกติร้าน Aphrodite Flowers รับจัดดอกไม้สดให้กับลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ แต่แล้ววันหนึ่งตนก็ได้รับข้อความจากลูกค้ารายหนึ่งที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศเขียนมาขอให้จัดช่อดอกไม้ไปให้เป็นศิลปินคนโปรดของเขา และยอมจ่ายเงินล่วงหน้าก่อน แต่มีข้อแม้คือให้นำขนมขาไก่ที่ศิลปินชื่นชอบมาทำเป็นช่อดอกไม้ กลายโจทย์ที่ยากที่มาพร้อมกับความท้าทายเพราะเจ้าตัวไม่เคยทำมาก่อน มีสองทางให้เลือกคือ จะตอบรับหรือปฏิเสธ

     “เราไม่เคยจัดช่อดอกไม้โดยใช้วัสดุแบบนี้ ต้นแบบก็ไม่มี ลูกค้าแค่วาดรูปมาให้ทำเป็นขนมขาไก่ เราต้องใช้จินตนาการต่อจากรูปวาดลูกค้าว่าจะเอาขนมแต่ละห่อติดกันได้อย่างไร ด้วยวิธีใด”

      ในที่สุดเมื่อเปิดยอมเปิดรับกับสิ่งใหม่ ไม่เพียงแต่จะได้ช่อดอกไม้เป็นรูปขาไก่ขนาดยักษ์ ความยาว 1.5 เมตร ความแปลกใหม่ของช่อดอกไม้กลายเป็นความประทับใจของลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มแฟนคลับของศิลปินที่ได้เห็นผ่านสื่อโซเชียล ทำให้ร้านเขาเริ่มมีกลุ่มแฟนคลับศิลปินมากขึ้น

     นอกจากขนมแล้วแฟนคลับบางคนถึงกับยอมโอนเงินหลักแสนมาเพื่อจะให้นำแบงก์ไปทำเป็นช่อดอกไม้ ตรงนี้ยิ่งทำให้สหรัฐ บอกกับตัวเองว่า เมื่อลูกค้ายอมเชื่อใจแล้วเขาเองก็ต้องทำให้ลูกค้าเชื่อใจด้วยเช่นเดียวกัน ต้องทำทุกอย่างให้โปร่งใส ถ่ายคลิปทุกขั้นตอนให้ลูกค้าดูจนกระทั่งการส่งมอบดอกไม้ให้ถึงมือศิลปินที่เขาเป็นคนนำไปส่งด้วยตัวเอง

     “กลุ่มนี้สร้างรายได้ให้ร้านพอสมควร ช่วยทำให้รายได้เพิ่ม 50% เพราะส่วนใหญ่แต่ละช่อก็ราคาสูง ที่เคยได้สูงสุดก็ช่อละประมาณหนึ่งหมื่นบาท”

ยิ่งมีแฟนคลับ ยิ่งต้องพัฒนา

      แม้จะมีบางคนมองว่า ธุรกิจการจัดช่อดอกไม้อาจเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย แต่ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นธุรกิจที่ทำรายได้เรื่อยๆ แม้แต่โควิดที่ร้านค้าต้องปิด แต่ร้านค้าของสหรัฐก็ยังมีคนสั่งดอกไม้เรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ที่สามารถทำรายได้หลักแสนบาทมาแล้ว

     “ถ้าจะมองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยก็ใช่อยู่เพราะราคาค่อนข้างสูง แล้วมันไม่ได้อยู่ในสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต แต่คนก็มักชอบส่งดอกไม้ให้กันเยอะ เป็นการให้กำลังใจ เป็นคุณค่าทางจิตใจ ใช้เวลาง้อแฟน ฉะนั้นมองว่าจำเป็นไม่จำเป็นก็ได้แล้วแต่การตีความของแต่ละคน”

     อย่างไรก็ตามเจ้าของร้าน Aphrodite Flowers มองว่าธุรกิจร้านดอกไม้ยังเติบโตไปได้ เพียงแต่ต้องพัฒนาสร้างความแตกต่างให้ได้ เพราะปัจจุบันมีร้านดอกไม้เกิดขึ้นเยอะมาก เฉพาะในกรุงเทพฯ ก็มีร้านดอกไม้เป็นจำนวนพันร้าน

     “เราต้องมีการพัฒนาตลอด ตัวเองพยายามไปหา reference การจัดดอกไม้ของต่างชาติ การเลือกใช้ดอกไม้ วัสดุ มีการพัฒนาไปประยุกต์ โดยเฉพาะการนำเอาลูกโป่งมาผนวกเข้ากับช่อดอกไม้ เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวเอเซียชอบงานที่ออกแนวน่ารักๆ สดใส”

     การพัฒนาและปรับตัวให้ทันกระแสก็เป็นอีกหนี่งหนทางที่จะทำให้ธุรกิจขับเคลื่อนต่อไปได้

 

ข้อมูลติดต่อ

IG: aphroditeflower_bkk

โทรศัพท์: 093 423 6199, 094 792 8769

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย