หมูแพง สัญญาณแรงสู่ Recession ถ้าเศรษฐกิจถดถอย SME ต้องปรับตัวอย่างไร?

Text: ภัทร เถื่อนศิริ

 

เปิดปีเสือมากับภาวะค่าครองชีพแพงขึ้นกันเลยทีเดียวครับ ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญแสดงให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่กำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือไม่ แล้วถ้าใช่ SME อย่างเราควรจะปรับตัวอย่างไร

ขอเริ่มต้นกับพื้นฐานเรื่องอัตราเงินเฟ้อก่อนนะครับ

     เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือถ้าพิจารณาจากค่าของเงิน เงินเฟ้อ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ค่าเงินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจะซื้อของชิ้นเดิมนั้นต้องใช้เงินมากกว่าเดิม แปลง่าย ๆ อีกแบบก็คือของแพงขึ้นนั่นเอง

ตั้งแต่ต้นปีนี้เงินเฟ้อทั่วโลกสูงขึ้นเร็วมาก จนคนเริ่มพูดกันเยอะว่า “เงินเฟ้อสูง” แค่ชั่วคราวหรือถาวร ?

ปกติแล้วเงินเฟ้อสูงจะเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 

1) ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (demand-pull inflation) แต่ผลิตได้ไม่พอรองรับ ทำให้ราคาปรับสูงขึ้น

2) ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น (cost-push inflation) ผู้ผลิตจึงปรับราคาสูงขึ้น

     สาเหตุที่เงินเฟ้อโลกสูงในช่วงปีนี้เห็นได้ชัดว่ามาจากทั้ง 2 สาเหตุ อย่างแรกคือ ความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นมากหลังเศรษฐกิจโลกทยอยฟื้นตัว แต่สินค้าและบริการผลิตมาได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้จ่ายที่อัดอั้นมานาน (revenge spending) จากช่วงล็อกดาวน์ โดยเฉพาะคนที่มีเงินออมสะสมไว้เยอะในช่วงโควิด อีกสาเหตุคือ ต้นทุนการผลิตแพงขึ้นจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่สูงขึ้นมาก เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ ถ่านหิน เหล็ก ทองแดง เพราะการผลิตหยุดชะงักหรือชะลอลงไปในช่วงโควิดระบาดรุนแรง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้นยังมาจากปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทาน (supply chain disruption) โดยเฉพาะการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่งสินค้า และการขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ความต้องการเยอะขึ้นมากในช่วง work from home 

     นอกจากสาเหตุคลาสสิคของเงินเฟ้อสูง 2 ข้อที่กล่าวมา ทั่วโลกเริ่มพูดถึง “เงินเฟ้อจากกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อม” (greenflation) ที่อาจซ้ำเติมปัญหาราคาพลังงานโลกสูง เพราะหลายประเทศตื่นตัวมากขึ้นในการปรับโครงสร้างพลังงาน เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

     สิ่งที่ต้องกลัว คือ เมื่อผู้คนเริ่มปรับการคาดการณ์เงินเฟ้อว่าจะอยู่ในระดับสูง และปรับพฤติกรรมไปในทิศทางเดียวกัน ยิ่งทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่อง (self-fulfilling inflation spiral) เช่น ผู้บริโภคเร่งใช้จ่ายกลัวเงินเฟ้อสูง ผู้ผลิตปรับขึ้นราคาสินค้าในวงกว้าง และแรงงานเรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้าง

 Fed : ธนาคารกลางสหรัฐ ส่งสัญญาณอย่างไร ?

      ธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณมาตลอดเรื่อง QE Tapering แต่เป็นการทยอยดึงเงินอัดฉีดออกจากระบบ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับ Fund Flow ในระบบมากเกินไป เหมือนในอดีตที่เหมือนดึงพรมออกทันทีส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจค่อนข้างมาก

     คนส่วนหนึ่งมั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐจะไม่กล้าปรับดอกเบี้ยขึ้นสูงมาก เพราะปัจจุบันโลกมีหนี้สินสูงมากเป็นประวัติการณ์ (หนี้ทั้งหมดของโลกประมาณ 256% ของจีดีพีหรือมูลค่า 226 ล้านล้านดอลลาร์) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้ของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันสูงถึง 29 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 125% ของจีดีพีสหรัฐ

     ประเด็นนี้สำคัญเพราะเมื่อหนี้สาธารณะสูงถึง 125% ของจีดีพี การปรับดอกเบี้ยขึ้นเพียง 2% จะหมายความว่าภาระดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2x1.25=2.50% ของจีดีพี ในขณะที่รัฐบาลกลางของสหรัฐมีรายได้จากภาษีเท่ากับประมาณ 17% ของจีดีพี

     ซึ่งอาจจะกลายเป็น Debt Jubilee หรือ การชักดาบครั้งใหญ่สุดของโลกก็ได้

     แล้วตอนนี้เรากำลังจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยใช่หรือไม่ ?

     Lawrence Summers นักเศรษฐศาสตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐได้เล็งเห็นถึงความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยกล่าวถึง Circular Stagnation ที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐซึมยาวไปอีกหลายปี (โดยที่เอกชนเก็บเงิน ลงทุนน้อย ทุกคนลดการจ่ายเงิน ส่งผลให้เงินฝืด ทำให้เงินไม่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ)

     สำหรับประเทศไทย แม้ตอนนี้แบงก์ชาติมองว่าผลกระทบเงินเฟ้อโลกสูงมายังเงินเฟ้อไทยมีไม่มาก เพราะเศรษฐกิจไทยฟื้นช้ากว่าประเทศอื่น กำลังซื้อยังไม่กลับมาเต็มที่ ธุรกิจยังไม่รีบปรับขึ้นราคา นอกจากนี้ การส่งผ่านราคาพลังงานโลกมาเงินเฟ้อในประเทศก็มีผลจำกัด

     อย่างไรก็ดี ประเทศไทยก็ไม่อาจวางใจกับผลกระทบเงินเฟ้อโลกสูงได้เสียทีเดียว หากตัวช่วยที่กล่าวมาหายไป เช่น กำลังซื้อประชาชนฟื้นกลับมาเต็มที่ ผู้ผลิตอั้นการปรับราคาขึ้นได้ไม่นาน มาตรการอุดหนุนราคาพลังงานของรัฐบาลสิ้นสุดลง ก็อาจเห็นการส่งผ่านผลของเงินเฟ้อโลกสูงมายังเงินเฟ้อไทยสูงขึ้นได้ “เงินเฟ้อโลกสูง” จึงเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องจับตา เพราะกระทบความเป็นอยู่ของทุกคน 

     โดยส่วนตัวคิดว่ามีเปอร์เซนต์ที่สูงที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากสัญญาณหลายๆ อย่างที่แสดงออกมา โดยที่สถานการณ์ “หมูแพง” ในปัจจุบันเป็นเหมือน Physical Evidence : หลักฐานเชิงประจักษ์ ที่แสดงให้เห็นถึงสัญญาณแรงของต้นทุนต่างๆที่ทยอยปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอาจจะเจอผลกระทบจาก Purchasing Power ของผู้บริโภคหดหายร่วมด้วย จากการที่เผชิญภาวะโลกระบาดมาอย่างยาวนาน ทำให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของค่อนน้อย รวมไปถึงความถังแตกของรัฐบาลที่อัดฉีดเงินพยุงเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่องหลายปีที่ผ่านมา

แล้ว SME อย่างเราๆ ควรปรับตัวอย่างไร ?

1. อันดับแรกให้พิจารณาเรื่องหนี้ก่อนเลย ว่าเราทำ Leverage Debt ไว้มากน้อยขนาดไหน และความสามารถในการชำระหนี้ (ที่กำลังจะมากขึ้นจากดอกเบี้ยที่กำลังจะสูงขึ้น) ของเรามีมากน้อยขนาดไหน พยายามปิดหนี้ที่ไม่จำเป็น

2. พยายามเจรจาดอกเบี้ยให้คงที่ไว้ที่อัตรา ณ ปัจจุบันที่สุด หรือ ถ้าเป็นอัตราลอยตัวอยู่ก็ปรับมาเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ไว้

3. พยายามวางแผนหา Revenue Stream ที่เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ให้มากขึ้น เตรียมรองรับการขึ้นของอัตราดอกเบี้ย

4. พยายามเรียนรู้ เปิดโอกาสกับสิ่งใหม่ๆ Reskill ให้ทันโลก เพื่อเปิดโอกาสให้กับโอกาสธุรกิจใหม่ๆ

Only the Paranoid Survive !!!

      หวังว่าเศรษฐกิจจะดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ และฟื้นตัวได้เร็วเพื่อให้เราผ่านพ้นช่วงเวลาของ Recession ไปได้อย่างรวดเร็ว การเตรียมตัวไว้ก่อนก็จะช่วยให้เรารับแรงกระแทกได้ดียิ่งขึ้น ขอให้ทุกคนโชคดีครับ

 

Ref :

https://www.bangkokbiznews.com/columnist/980537

https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_20Nov2021.aspx

https://www.finnomena.com/maniemeetang/what-is-inflation/

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย