Thailand Coffee Fest เวทีแจ้งเกิดของ คนตัวเล็ก แต่ ไอเดียใหญ่ คนทำธุรกิจกาแฟห้ามพลาด

Text: ปองกมล ศรีสืบ

ผู้ก่อตั้งบริษัท MeaningMe

แบรนด์กาแฟ Meffceo Coffee

     ผู้เขียนเป็นแฟนคลับของงาน Thailand Coffee Fest ในฐานะคนเดินชมงานมาตั้งแต่จัดครั้งแรกๆ ที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ เมื่อหลายปีก่อน แล้วขยับมาอยู่ในจุดที่ไปในฐานะ “ผู้ประกอบการ” ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา          

     ปีนี้ก็ยังไปออกบูทอยู่ เพียงแต่ขยับสถานะ มาเป็น “ผู้สังเกตการณ์” เพราะไม่ได้ไปยืนขายหน้าบูทด้วย ตัวเอง ก็เลยรู้สึกสนุกกับการเดินชมงานและสังเกตการณ์ธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะโซนวิลเลจ ซึ่งเป็น โซนสำหรับ ผู้เล่นรายเล็กที่กระจายอยู่ทั่วงาน              

     ต้องบอกว่า รายเล็กๆ เหล่านี้นี่แหละ ที่เป็นสีสันของงาน

     คอนเซ็ปต์ของงานในปีนี้ก็คือ ‘Coffee People’ หรือแปลตรงตัวว่า คนกาแฟ งานนี้น่าจะเป็นหนึ่งใน ไม่กี่งาน Exhibition ที่มีผู้เข้าชมงานหนาแน่นตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย ด้วยการการันตีว่าเป็นงานกาแฟ ที่ใหญ่ที่สุดใน South east Asia และปีนี้ขยายพื้นที่ไปถึง 3 Hall (Hall 5-7 Impact )       

     ปีนี้รู้สึกว่าได้เห็นการเติบโคของผู้คนในวงการกาแฟอย่างจับต้องได้ ทั้งด้านยอดขายและความรู้เชิงลึก เกี่ยวกับกาแฟ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงเครื่องดื่มกาแฟ นอกจากการเติบโตแล้ว งานนี้ยังคึกคักไปด้วยผู้คนที่หลงใหล ในเสน่ห์ของกาแฟอยู่มากมาย 

     กลุ่มคนที่เข้ามาเดินชมงานน่าจะแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มคนรักกาแฟที่ชงกาแฟดื่มที่บ้าน กลุ่มคนชอบดื่มกาแฟตามร้าน และกลุ่มที่อยากเปิดร้านกาแฟ สำหรับคนสองกลุ่มแรกนั้น ดูเป็นการเดินชม ชิม และช้อปอย่างมีความสุข ในขณะที่กลุ่มคนที่อยากเปิดร้านยิ่งแฮปปี้มาก เพราะซัพพลายฯ ทั้งระบบของโรงคั่ว และร้านกาแฟครบจบในงานเดียวจริงๆ ส่วนหนึ่งต้องยกให้ Content ของผู้จัดงานที่คิดจนจบกระบวนการ

             

     ความตื่นตาตื่นใจภายในงานปีนี้น่าจะเป็นบูทเล็ก ที่ขนเอาไอเดียบรรเจิดมาใส่กันเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น กิมมิคการตกแต่งบูท และ Presentation ที่จะโชว์ Product ทั้งอุปกรณ์การชง, เครื่องดื่ม, เมล็ดกาแฟ หรือแม้แต่ ขนมเบอเกอร์รี่ต่างๆ ที่เสิร์ฟคู่กับกาแฟ         

    ยอมใจในความ Creative ของคนรุ่นใหม่จริงๆ          

    ถ้ามองในมุมของ Branding จะเห็นได้เลยว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ในบูทเล็กๆ มีความชัดเจนตั้งแต่ Brand DNA, Brand Personality แล้วก็จบที่ Product & Packaging อย่างลงตัว เรียกได้ว่าบุคลิกและตัวตนชัดมาก และไม่ใช่แค่ชัด แต่ยังโดดเด่นด้วย    

     คนกาแฟ ถ้ามาออกบูทแล้วไม่ได้แจ้งเกิดในงานนี้ ก็ถือว่าพลาดมากจริงๆ เพราะคนเข้าชมงานมาแบบ พร้อม Pay เต็มที่ ถ้ามาแล้วไม่ Out Standing จริงๆ ก็น่าเสียดาย

             

     อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องตามเอาใจช่วยหลังจากงานก็คือ การตลาดและการสร้างยอดขายให้ได้ต่อเนื่อง  เพราะอย่าลืมว่าตลาดกาแฟในประเทศไทย จัดเป็น Red Ocean อย่างรุนแรง เพราะว่าใครๆ ก็อยากเปิด ร้านกาแฟ เผลอๆ ร้านกาแฟอาจจะมีเยอะกว่าร้านสะดวกซื้อด้วยซ้ำ         

     สิ่งที่ต้องคิดให้มากคือ “กลุ่มเป้าหมาย” เป็นใคร และคนเหล่านั้นอยู่จุดไหนของตลาด ที่สำคัญคือ การคิดคำนวณเรื่อง “จุดคุ้มทุน” ก่อนตัดสินใจลงทุน  ยังไม่ต้องซับซ้อนมากก็ได้ คิดง่ายๆ พื้นฐานแค่ว่า ซื้อเครื่องชงและเครื่องบดมาราคาเท่าไร แล้วในทำเลที่ได้มา จะขายกาแฟแก้วละเท่าไร          

     เอาราคาเครื่องชงมาหารราคาต่อแก้วก่อนว่า ต้องขายกี่แก้วถึงจะคุ้มทุนค่าเครื่องชง ถ้ามั่นใจแล้ว ค่อยเดินหน้าต่อ เพราะนี่คือตัวเลขพื้นฐานที่ง่ายที่สุด ซึ่งยังไม่ได้รวมค่าตกแต่ง ค่าอุปกรณ์ ค่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าจ้างพนักงานและค่าโส่ยหุ้ยรายเดือนอีกมากมายก่ายกอง 

 

     การแจ้งเกิดภายในงาน ดูจะไม่ใช่เรื่องน่าเป็นห่วงของกลุ่มคนตัวเล็กๆ ที่มีฝันอยากทำธุรกิจของตัวเอง เพราะจากที่เห็นภายในงาน รู้เลยว่าเด็กรุ่นใหม่เก่งเรื่อง Brand Experience แต่เรื่องที่ต้องคิดต่อ ก็คือการตลาด บัญชี และเรื่องการขายมากกว่า        

     บทสรุปคือ คุณต้องแจ้งเกิดให้ได้ทุกจุดที่คุณอยู่ ไม่ใช่แค่แจ้งเกิดแค่เวทีในงาน Coffee Fest แต่ต้อง แจ้งเกิดทั้งหน้าร้านและตลาดออนไลน์ให้ได้ด้วย

     โลกสวยไม่ว่ากัน แต่ต้องไปให้สุด อย่าหยุดที่ปลายฝัน

 

 

www.smethailandclub.com

ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย