TEXT : รัชนีกร ทองรอด
ถ้าเอ่ยชื่อหอมแดงหลายคนคงนึกถึงแต่อาหารโดยเฉพาะอาหารประเภทยำ แต่สุทัตตา ศรีละออน ไม่ได้คิดแค่นั้นหลังจากที่เธอได้ไปดูงานที่ญี่ปุ่นและนำความรู้กลับมาแปรรูปหอมแดงให้เป็นเครื่องดื่มชูกำลังที่ส่งไปตีตลาดเมืองจีนเพียงปีเดียวก็ทำยอดขายได้ถึง 2 ล้านขวด
สาเหตุที่ทำให้ สุทัตตา ศรีละออน หันมาแปรรูปหอมแดงนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่โดน โดนกดราคาจากพ่อค้าคนกลางบางครั้งขายไปโดยไม่ได้แม้แต่กำไร
“พอไปขายคนกลางเขาก็รับซื้อในราคาที่ถูก บอกว่าต่างประเทศไม่รับบ้าง สินค้าขายไม่ออกบ้าง ทำให้เกษตรกรของไทยไปไม่ไกลสักที”
ปัญหานี้ทำให้คนในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษซึ่งส่วนใหญ่ทำอาชีพปลูกหอมแดงเป็นอาชีพหลักและเป็นแหล่งที่ปลูกหอมแดงมากที่สุดในประเทศ ขึ้นทะเบียนหอมแดงศรีสะเกษและกระเทียมศรีสะเกษ
เนื่องจากจังหวัดศรีสะเกษได้รับ Geographical Indications หรือ GI ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่มีสภาพดินเป็นลักษณะเฉพาะ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษไม่เหมือนจังหวัดอื่นๆ คือ หอมแดงศรีสะเกษมีเปลือกแห้งมัน สีแดงเข้มปนม่วง หัวมีลักษณะกลม มีกลิ่นฉุน