รวมเรื่องเล่าจาก ผู้ไม่ยอมแพ้ ที่พลิกธุรกิจเกือบเจ๊ง กลับมาเจ๋ง

TEXT : กองบรรณาธิการ

 

     เป็นธรรมดาของการทำธุรกิจที่ย่อมมีปัญหาอุปสรรคเข้ามาเป็นบททดสอบให้เราแข็งแกร่งขึ้นอยู่เรื่อยๆ ซึ่งหากไม่ยอมแพ้ไปเสียก่อน สักวันย่อมมีวันของเราอย่างแน่นอนเหมือนเช่นกับผู้ประกอบการเหล่านี้ที่กว่าจะประสบความสำเร็จขึ้นมาได้อย่างทุกวันนี้ พวกเขาล้วนเคยผ่านบทเรียนที่เจ็บปวดมานักต่อนักแล้ว แต่วันนี้ด้วยหัวใจนักสู้ที่ไม่ยอมแพ้ กลับทำให้พลิกฟื้นธุรกิจขึ้นมาได้

 

     

     ด้วยความที่เกิดมายากจน เรียนน้อย ต้องสู้ชีวิตส่งตัวเองเรียนตั้งแต่สิบกว่าขวบ เพราะความขยันทำให้สอบได้ที่ 1 ทุกชั้นปี แต่ก็เรียนได้แค่ชั้นประถม 6 เพราะไม่มีเงิน ต้องเปลี่ยนโหมดมาเป็นสาวโรงงานเย็บผ้า หลังจากนั้นทำงานได้ 3 ปี ก็เก็บเงินมาเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ระหว่างนั้นก็นำความรู้และประสบการณ์ในการเย็บผ้ามาเปิดบริษัท โรส ผ้าม่าน ในปีพ.ศ. 2538

     แต่แทนที่จะได้เป็นเถ้าแก่เนี้ย นอนนับเงินสบาย “เพ็ญศรี ธรรมเสนา” หรือ “โรส” หญิงสาวสู้ชีวิตด้วยตัวเองมาโดยตลอด กลับถูกโกง ลูกค้าเบี้ยว หุ้นส่วนทิ้ง ต้องเป็นหนี้ และยังตอกย้ำมรสุมชีวิตให้หนักเข้าไปอีกเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการลง แถมต้องเจอมรสุมชีวิตตั้งแต่สูญเสียคุณแม่ ตามมาด้วยคุณยาย พี่สาวก็แยกกันอยู่ ไม่รู้จะหันหน้าไปปรึกษาใคร แต่เพราะไม่เคยบัญญัติคำว่าแพ้ไว้ในพจนานุกรมชีวิต และไม่เคยคิดทำร้ายตัวเอง หลังทนทุกข์มาได้แค่ 15 วัน จากนั้นก็ตั้งสติใหม่บอกตัวเองว่าเจอขนาดนี้ แต่ยังไม่ตายก็หาทางสู้กันใหม่ จนสุดท้ายสามารถประนอมหนี้กับธนาคารและผ่อนผันเจ้าหนี้ได้ทุกราย จนปัจจุบันได้เป็นเจ้าของธุรกิจผ้าม่านครบวงจรที่ทำตั้งแต่รับออกแบบ  ตกแต่งภายในและจำหน่ายอุปกรณ์ตกแต่งครบวงจร และยังมีแบรนด์ตัวเองในชื่อ RORIA ผ้าม่านนวัตกรรมที่สามารถควบคุมด้วยรีโมทหรือสมาร์ทโฟนได้มีชื่อเสียงโด่งดังมาทุกวันนี้

อ่านเรื่องราวแบบเต็มๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/4893.html

 

 

     

     KrackerKing บิสกิตผีเสื้อในตำนานของชาวสิงคโปร์ ก่อตั้งเมื่อปี 2498 หรือเมื่อ 66 ปีก่อน แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปนวัตกรรมได้นำพาผลิตภัณฑ์สแน็กรูปแบบแปลกใหม่เข้ามา ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น จนทำให้สแน็ตรูปแบบดั้งเดิมเกือบเอาตัวไม่รอดจวนเจียนจะเข้าสู่ภาวะล้มละลาย กอปรกับการเปลี่ยนจุดยืนของประเทศที่ต้องการเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและวิศวกรรม และค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่แข็งตัวขึ้น ทำให้จากที่เคยขายดีกลายเป็นทุกอย่างต้องหยุดชะงักลง จึงหันมาแก้เกมธุรกิจโดยการสั่งยุบทุกสายพานการผลิตและหันมานำเข้าสแน็ตจากต่างประเทศเข้ามาขายแทน

     กระทั่งสุดท้ายได้ทายาทรุ่น 3 เข้ามาช่วยฟื้นฟูกิจการโดยการนำสูตรดั่งเดิมที่มีมาพัฒนาปรับปรุงรสชาติใหม่ให้มีความสากลมากขึ้นเพื่อจำหน่ายในต่างประเทศด้วย การผลิตที่สดใหม่ได้วัตถุดิบมา ก็ผลิตในทันที ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้สินค้าดีต่อสุขภาพมากกว่าเดิม เช่น ใช้เครื่อง de-oiling เพื่อกำจัดน้ำมันส่วนเกินที่ยังตกค้างจากการทอด จึงทำให้ธุรกิจพลิกฟื้นขึ้นมาได้อีกครั้ง มีผลิตภัณฑ์กว่า 40 รายการ กลายเป็นผู้ค้ารายใหญ่ในสิงคโปร์ที่มีตัวแทนจำหน่ายกว่า 200 ราย

อ่านเรื่องราวแบบเต็มๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/7274.html

 

     

 

     จากอดีตเถ้าแก่โรงพิมพ์ ที่ธุรกิจเจ๊งเพราะพิษต้มยำกุ้งปี 2540  เจอวิกฤตหนักทั้ง บ้านแตก พ่อเสีย เป็นหนี้ ประเดประดังเข้ามาพร้อมๆ กัน จนสุดท้ายตัดสินใจขายทุกอย่างทิ้ง กลับมาเป็นพ่อค้าไก่ย่างอยู่ จ.สุพรรณบุรี

     แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ “วีระ ตั้งวุทฒิไกรวิทย์” เกิดความท้อแท้ เขายังคงมุ่งมั่นทำการค้าขายสุจริต ยุติธรรมต่อผู้บริโภค จนสุดท้ายขยับมาทำขนมหวานที่สร้างชื่อคือวุ้นมะพร้าวบรรจุถ้วย ไม่ใส่สารฟอกสี อร่อยและดีต่อสุขภาพผู้บริโภค ภายใต้ชื่อแบรนด์ “แม่ละมาย” จนได้นำไปลองเสนอขายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เมื่อปี 2542 ก็พลิกชีวิตธุรกิจให้กลับมารุ่งอีกครั้งกลายเป็นแบรนด์ขนมเพื่อสุขภาพที่ขายดิบขายดีในร้านเซเว่นฯ มาถึงวันนี้ก็ 20 กว่าปีแล้ว

อ่านเรื่องราวแบบเต็มๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/4729.html

 

      

     

     วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เป็นความทรงจำเลวร้ายที่เปลี่ยนอนาคตใครหลายคนไปโดยสิ้นเชิง แต่สำหรับบางคนแล้ว วิกฤตครั้งนั้นได้ให้ชีวิตใหม่เหมือนกับ “วินิจ ฤทธิ์ฉิ้ม” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออโธพีเซีย จำกัด อดีตผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ประสบกับศึกสาหัสในวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 โดยก่อนเกิดวิกฤตเขาทำโรงงานรับจ้างผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์มากว่า 20 ปี เก่งผลิตแต่ต้องทำงานภายใต้เงื่อนไขของลูกค้า ไร้อำนาจต่อรอง เพราะไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง จนมาเกิดวิกฤตปี 2540 งานหมด เงินหาย เมื่อลูกค้าเริ่มไม่จ่ายเงิน งานใหม่ไม่มีให้ทำ ส่วนงานที่ทำไปแล้วก็ไม่มีจ่าย ขณะที่ยังมีแรงงานที่ฝากชีวิตไว้ให้ดูแลอีกกว่า 60 คน

     สิ่งที่วินิจเลือกทำ คือ เดินหน้าต่อไปบนเส้นทางใหม่ โดยมองว่าไม่ว่าจะวิกฤตกี่ครั้งอุตสาหกรรมที่ไปต่อได้และลอยตัว คือ การผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และการรักษา เขาจึงมุ่งสู่การศึกษาความรู้ใหม่ในการสร้างผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างวัสดุดามกระดูก โดยมองว่าบ้านเรามีอุบัติเหตุทำให้กระดูกแตกหักเยอะ แต่ยังไม่มีผู้ผลิตในไทยและนำเข้ามาก็ราคาสูง

จากผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์กลายมาเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ยังไง อ่านเรื่องราวแบบเต็มๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/5016.html

 

     

     

     จากการโดนกดดันและบีบคั้นด้วยนายทุนใหญ่จากระบบทุนนิยมที่ทุนหนากว่า ทำให้แม้จะขายแข่งขันกันในราคาเท่าเดิม แต่ต้นทุนที่ต้องเสียไปกลับสูงกว่า ทำให้เหลือกำไรน้อย หรือแทบจะไม่ได้กำไรเลย สิ่งนี้จึงทำให้ “พรรัตภูมิ ฟาร์ม” ฟาร์มไก่ไข่ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 46 ปี ในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จากรุ่นพ่อที่ครั้งหนึ่งเคยเกือบล้มและไปไม่รอด

     แต่สุดท้ายก็ได้ลูกชายวิศวกรคอมพิวเตอร์จากบริษัทอินเดียกลับมาช่วยสานต่อกิจการของครอบครัวพร้อมกับพี่ชาย เพื่อกอบกู้วิกฤติได้ทัน ด้วยการกลับนำเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง IoT (Internet of Things) เข้ามาใช้ เพื่อสร้างระบบโรงเรือนให้ทันสมัย ช่วยลดต้นทุนการผลิต จนทำให้กลายเป็นฟาร์มไก่เล็กพริกขี้หนูที่สามารถแข่งขันกับฟาร์มใหญ่ และพึ่งพาตนเองได้

อ่านเรื่องราวแบบเต็มๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/5396.html

 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย