รู้จัก แรมลี จากลูกจ้างสู่เจ้าของร้านเบอร์เกอร์ใหญ่สุดในมาเลเซีย

TEXT: วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

 

     ที่มาเลเซีย อาหารชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีขายแทบทุกตรอกซอกซอยจนเรียกได้ว่าเป็นอาหารประจำชาติอย่างไม่เป็นทางการ อาหารที่ว่าคือ “เบอร์เกอร์” และผลิตภัณฑ์เบอร์เกอร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็เห็นจะเป็น “แรมลีเบอร์เกอร์” (Ramly Burger) ซึ่งเป็นแบรนด์ท้องถิ่นที่กำเนิดขึ้นในปี 1982 อันเป็นปีเดียวกับที่แมคโดนัลด์มาเปิดสาขาแรกในมาเลเซีย ร่วม 40 ปีผ่านไป แรมลีเบอร์เกอร์กลายเป็นอาณาจักรผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ผลิตไส้เบอร์เกอร์มากถึงวันละ 1 ล้านชิ้น ทำรายได้ปีละกว่า 1,000 ล้านริงกิต และสร้างอาชีพให้ผู้ประกอบการรายเล็กมากกว่า 30,000 ราย

     ความสำเร็จขั้นสูงสุดของแรมลีเบอร์เกอร์เกิดจากชายชาวมาเลเซียวัย 64 ปีผู้มีนามว่า แรมลี บิน ม็อกนี เจ้าของและผู้ก่อตั้งบริษัทแรมลี กรุ๊ป ชายผู้หลีกเลี่ยงการทำตัวเป็นจุดเด่นในสังคมจน “แรมลี” กลายเป็นแบรนด์ที่ผู้คนรู้จักมากกว่าเจ้าตัวซึ่งเป็นคนสร้างแบรนด์เสียอีก และความโด่งดังของแบรนด์นั้น ว่ากันว่าไม่ว่าหนุ่มสาวหรือแก่ ถ้าเป็นชาวมาเลเซีย อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตต้องเคยลิ้มลองรสชาติแรมลีเบอร์เกอร์ มาดูเส้นทางการสร้างอาณาจักรแรมลีว่าเริ่มต้นอย่างไร    

     แรมลี บิน ม็อกนีเกิดในครอบครัวชาวนาที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ในรัฐเปรัก เขาเป็นลูกคนที่ 8 ในจำนวน 16 คน ในวัยเด็กเขาฝันอยากมีอาชีพเป็นหมอ แต่ความขัดสนทำให้บิดามารดาไม่สามารถส่งเสียให้เล่าเรียนได้ แรมลีจึงติดตามพี่ชายไปทำงานที่รัฐสลังงอร์โดยทำงานรับจ้างทั่วไป ก่อนจับพลัดจับผลูได้งานที่ร้านขายเนื้อในเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์

     กระทั่งปี 1978 เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้แรมลีมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ นั่นคือมีการพบว่าตราฮาลาลที่ติดบนฉลากไส้เบอร์เกอร์ซึ่งจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นตราที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้ผู้บริโภคที่เป็นชาวมุสลิมเกิดความไม่เชื่อใจ ก่อนซื้อสินค้า ลูกค้าจึงมักถามว่าเป็นเนื้อสัตว์ที่ชำแระโดยมุสลิมหรือไม่   

     เมื่อเป็นเช่นนั้น แรมลีจึงตัดสินใจทำไส้เบอร์เกอร์ขายโดยพยายามขอสินเชื่อจากธนาคาร แต่ไม่มีธนาคารไหนอนุมัติเลย เขาจึงใช้เงินเก็บที่มีเพียง 2,000 ริงกิต (ราว 16,000 บาท) ลงทุน ไม่มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ซับซ้อนใด ๆ เขาและภรรยาได้ทำไส้เบอร์เกอร์เนื้อจากครัวในอพาร์ทเมนต์ แล้วเปิดแผงลอยจำหน่ายทั้งไส้เบอร์เกอร์พร้อมปรุง และแบบดิบ ช่วงแรกขายได้น้อยเพราะในชุมชนที่เป็นทำเลแผงลอยยังไม่คุ้นเคยกับเบอร์เกอร์สักเท่าไร แต่แรมลีและภรรยาก็อดทนขายมาเรื่อย แต่ไส้เบอร์เกอร์ที่เขาบรรจงคิดค้นสูตรและปรับรสชาติให้ตรงตามความชอบของผู้บริโภคก็เริ่มได้รับความนิยม จากที่ขายได้ 200 ชิ้นก็ขยับเป็น 2,000-3,000 ชิ้นต่อวัน   

     เมื่อคะเนแล้วว่าธุรกิจน่าจะสดใจ แรมลีก็ตัดสินใจเปิดบริษัทในปี 1980 และภายในระยะเวลาเพียง 4 ปี ด้วยเงินกู้จากธนาคาร เขาก็สามารถสร้างโรงงานที่มีกำลังการผลิตไส้เบอร์เกอร์วันละ 10,000 ชิ้น ในเวลาต่อมา บริษัทเล็ก ๆ ได้ขยายไปยังบริษัทในเครืออีกมากมาย จากผลิตภัณฑ์ไส้เบอร์เกอร์ก็ขยายไปยังเนื้อบด ไส้กรอกแฟรงค์เฟิร์ต นักเก็ต ลูกชิ้น ไก่ทอด ขนมปังก้อนกลม ซ้อสพริก และมายองเนส ความนิยมในผลิตภัณฑ์แรมลียังเพิ่มขึ้นเรื่ย ๆ

     ปี 2015 แรมลีได้ทุ่มทุน 1,000 ล้านริงกิตหรือประมาณ 8,000 ล้านบาทสร้างโรงงานแห่งใหม่ในนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลฮับที่รัฐสลังงอร์ บนพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ โงรงงานแห่งนี้ผลิตไส้เบอร์เกอร์ได้มากถึง 1 ล้านชิ้นต่อวันโดยร้อยละ 70 จำหน่ายในประเทศ ที่เหลือส่งออกไปต่างประเทศ

     สินค้าในเครือแรมลีไม่เพียงจำหน่ายในมาเลเซีย แต่ยังส่งออกไปหลายประเทศอื่น รวมถึง อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ไทย เมียนมา กัมพูชา และบังคลาเทศ โดยมีแผนขยายตลาดไปยังเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และประเทศในตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกอีกด้วย ปัจจุบัน แรมลีมีโรงงานทั้งหมด 7 แห่ง ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท 16 แห่ง และซุ้มจำหน่ายเบอร์เกอร์ 12 แห่งที่ในอนาคตมีการตั้งเป้าจะขยายเป็น 450 สาขา

     ในด้านผลประกอบการของแรมลี กรุ๊ป เฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 ล้านริงกิตต่อปี แต่ผู้บริหารตั้งเป้าจะเพิ่มรายได้เท่าตัวเป็น 2,000 ล้านริงกิต และเพิ่มกำลังการผลิตไส้เบอร์เกอร์จาก 1 ล้านชิ้นเป็น 6 ล้านชิ้นต่อวัน ธุรกิจในเครือแรมลีถือได้ว่าสร้างโอกาสและสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการขนาดจิ๋วซึ่งโดบยมากเป็นแผงลอยหรือรถเข็นขายเบอร์เกอร์เกือบ 30,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งผู้บริหารแรมลีวางแผนจะสร้างเครือข่ายร้านค้าให้ถึง 100,000 ราย  

ข้อมูล

www.ryzplayer.com/2021/07/the-story-of-ramly-burger-company.html

https://en.wikipedia.org/wiki/Ramly_Group

https://vulcanpost.com/722927/ramly-burger-malaysia-founder-history/

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย