ถอดกลยุทธ์ Arpanetgirl สร้างปรากฏการณ์ FC แห่ CF จนเว็บล่ม! ยอดพุ่งเดือนละ 5-6 ล้านบาท

 

     ถือเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ฮอตในโลกออนไลน์สำหรับแบรนด์เสื้อผ้าเด็ก ArpanetGirl ที่สร้างปรากฎการณ์คุณแม่แห่ CF จนเว็บล่ม ทำให้ทีมงาน SME Thailand Online อดสงสัยไม่ได้และต้องไปไขข้อข้องใจ

จากพนักงานออฟฟิศ สู่ธุรกิจร้อยล้าน

     จุดเริ่มต้นของ ArpanetGirl นั้นมาจาก จิรฉัตร พรมสิทธิ์ ตั้งใจจะลาออกจากมนุษย์เงินเดือนเพื่อมาเลี้ยงลูกจึงอยากมองหาธุรกิจที่สามารถทำควบคู่ไปได้ สุดท้ายจึงไปลงตัวที่การซื้อผ้าเด็กมาขายเป็นสิ่งที่เธอต้องทำอยู่แล้ว และด้วยความพิถีพิถันช่างเลือกสิ่งที่ดีๆ ให้กับลูก แม้แต่การถ่ายรูปลงโซเชียลจนเจ้าของแบรนด์นำรูปเธอไปใช้ ณ จุดนั้นเหมือนกับปลดล็อกความคิดให้เธอเริ่มต้นทำธุรกิจเสื้อผ้าเด็กพร้อมกับนำชื่อเล่นลูกสาว อาร์พาเน็ต มาเปิดเพจ ที่วางแผนไว้ว่าจะต้องเจาะกลุ่มเด็กผู้หญิงจึงกลายเป็น Arpanetgirl (อาร์พาเน็ตเกิร์ล) เมื่อ 7 ปีที่แล้ว

     “ช่วงเริ่มต้นก็คิดว่าจะทำอย่างไรให้คนจดจำ เราก็ต้องสร้างคาแรกเตอร์ สร้างสตอรี่ในทุกคอลเลกชัน เช่น คอลเลกชันสิงโตก็จะออกแนวน่ารักไม่ดุร้าย หรือแม้แต่การออกบูธเราก็จะเน้นทำเสื้อผ้าใหม่ที่ดีที่สุดเหมือนยกช้อปไปหาลูกค้า ทำให้สินค้าเราขายหมดเร็วภายใน 1-2 วัน”

               

พาแบรนด์ขึ้นห้างเพื่อต้องการกล่อง

      เมื่อทำแบรนด์ได้สักสองปี จิรฉัตร บอกว่าด้วยมายด์เซ็ตของเธอที่ว่าการนำสินค้าขึ้นห้างได้ถือว่าประสบความสำเร็จ และนั่นก็เป็นความคิดเมื่อ 5-6 ปีที่แล้วที่เธอสามารถพาแบรนด์ Arpanetgirl เข้าห้างได้สำเร็จ จนกระทั่งเกิดโควิด เมื่อห้างปิดแต่ลูกค้าต้องการของก็พากันไปจองที่เว็บไซต์จนเกิดปรากฏการณ์เว็บล่มและทำให้เจ้าของแบรนด์เปลี่ยนความคิด

     “ลูกค้าสอบถามมาทางอินบอกซ์ว่ามีของไหม เราก็บอกว่าในสต็อกเราไม่มี แต่ที่ห้างยังมีของอยู่ ปรากฏว่าลูกค้าไม่อยากไปห้างสรรพสินค้า อยากให้เราส่งของไปให้”

     จากพฤติกรรมลูกค้าตรงนี้บวกกับที่การเข้าห้างต้องเสียค่าจีพี ทำให้ Arpanetgirl ตัดสินหันมาขายสินค้าทางออนไลน์อย่างเต็มตัว

5 คีย์สำคัญทำให้ธุรกิจสำเร็จ

     สำหรับปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสำเร็จนั้น จิรฉัตร เล่าว่ามาจากคิดแบบ Outside-In คือ เน้นเจาะลึกถึงความต้องการผู้บริโภค ผ่านการสังเกตพฤติกรรมลูกค้าและตลาดซึ่งมาจาก 5 ปัจจัย

1. เน้นคุณภาพเหนือราคา (Quality OVER Price) ทางแบรนด์ได้ให้ความสำคัญกับการคัดสรรคุณภาพผ้า และเน้นการตัดเย็บเกรดพรีเมียมในราคาที่จับต้องได้

2. สร้างสตอรี่ในทุกคอลเลกชัน (Story Telling)  เน้นสร้างการจดจำของแฟชันนิสต้าตัวน้อย สะท้อนได้จากการแสดงความคิดของเหล่าคุณแม่ที่สื่อสารมายังเพจเฟซบุ๊กในลักษณะลูกๆ สามารถจดจำคอลเลกชันต่างๆ ที่ซื้อไปได้

3. จัดโปรฯ ดึงดูดเหล่าคุณแม่ (Promotion) เน้นกระตุ้นการจับจ่ายของคุณแม่ ผ่านการจัดโปรโมชันจำนวนมาก อาทิ โปรฯ สะสมแต้มเพื่อแลกของพรีเมียม

4. เดินเกมธุรกิจด้วย (Customer Centric) เน้นการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง รับฟังความต้องการของผู้บริโภคและนำไปรังสรรเป็นคอลเลกชันชุดใหม่ๆ สู่การเป็น Trend Setter ที่สามารถปรับงานดีไซน์ได้ตรงความต้องการของลูกค้าแบบเรียลไทม์ ผ่านช่องทางเพจเฟซบุ๊กในลักษณะ Two-Way Communication

5. ปรับตัวรับสถานการณ์ (Flexibility) ไม่หยุดนิ่งพร้อมปรับตัวรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทางแบรนด์อาร์พาเน็ตเกิร์ล ได้ดีไซน์คอลเลกชันหลากรูปแบบทั้ง แมสก์ผ้าลวดลายน่ารัก หรือคอลเลกชันชุดล็อกดาวน์ (Lock Down) และสเตย์โฮม (Stay Home)

อย่าคิดแทนลูกค้า

      อีกหนึ่งปัจจัยที่ จิรฉัตร บอกว่าสำคัญไม่แพ้กันคือ อย่าคิดแทนลูกค้า อย่างเช่น ในช่วงที่เกิดโควิด เธอกับหยุดผลิตสินค้าเพราะคิดว่าลูกค้าจะไม่ซื้อ แต่เมื่อโควิดกินระยะเวลาเป็นปี เธอจึงตัดสินใจกลับมาผลิตใหม่ ปรากฏว่ามีลูกค้าต้องการสินค้าเหมือนเดิม ส่งผลให้ยอดขายดีขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 5-6 ล้านบาท

     “บางครั้งไปคิดแทนลูกค้าว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อจะทำให้เราทำธุรกิจยากหรือไม่เดินหน้า”

      สำหรับภาพรวมของตลาดเสื้อผ้าในปี 2564 มีมูลค่าทางเศรษฐกิจในภาพรวมกว่า 1,500 ล้านบาทต่อปี โดยเฉพาะตลาดเสื้อผ้าเด็กที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากปัจจัยด้านพฤติกรรมของครอบครัวที่มักเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก ซึ่งจากสถิติพบว่าแต่ละครัวเรือนมีการใช้จ่ายกว่า 7,500 ต่อเดือน ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลให้มีการซื้อขายออนไลน์มากยิ่งขึ้น

     จากปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้ Arpanetgirl แบรนด์เสื้อผ้าเด็กที่เจาะกลุ่มแม่และเด็กโดยมีช่องทางการขายหลักผ่านช่องทางออนไลน์มียอดการสั่งซื้อในปี 2564 สูงกว่า 10,000 บาท ต่อบิลหรือต่อการสั่งซื้อ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา  

     “ก้าวต่อไปของแบรนด์ อาร์พาเน็ตเกิร์ล ในปี 2565 เตรียมขยายตลาดเสื้อผ้าในกลุ่มเด็กผู้ชายและครอบครัวเพิ่มมากขึ้น เช่น เสื้อผ้าเด็กผู้ชาย ชุดนอนครอบครัว ชุดชั้นใน (Underwear) ชุดว่ายน้ำ คาดิแกน รวมถึงเสื้อผ้าสำหรับการแต่งตัวของสมาชิกทุกคนในครอบครัว โดยตั้งเป้าเป็นแบรนด์เสื้อผ้าออนไลน์ที่หนึ่งในใจของผู้บริโภค โดยหากต้องการเสื้อผ้าสไตล์ลูกคุณหนู ที่มาพร้อมเรื่องราวและดีไซน์พรีเมียมเกรด ในราคาจับต้องได้ ต้องนึกถึง อาร์พาเน็ตเกิร์ล’ จิรฉัตร กล่าวทิ้งท้าย

Website: www.arpanetgirl.com

Facebook: ArpanetGirl

Instagram: @arpanetgirl

Tel: 0897797199

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย