สรุปขั้นตอนจดทะเบียนการค้า รับเงินผ่าน PayPal ได้ฉลุย รับกฏหมาย E-service

 
              

           เป็นประเด็นร้อนตั้งแต่ PayPal ประเทศไทยประกาศปรับนโยบายใหม่เพื่อตอบรับกฎหมายเก็บภาษี E-Service ของประเทศไทย คนที่ต้องการ “รับเงิน” ผ่านทาง PayPal ต้องเป็นบัญชีประเภทธุรกิจจดทะเบียนเท่านั้น ไม่สามารถใช้บัญชีทั่วไปในการรับเงินได้อีกแล้ว และยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ของค่าธรรมเนียมการโอนด้วย
               

         เรื่องนี้ไม่กระทบกับผู้ใช้งานทั่วไปที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพราะสามารถ “จ่าย” ได้เหมือนเดิม แต่กระทบแน่ๆ กับเหล่าฟรีแลนซ์และคนที่ทำธุรกิจเล็กๆ ขายสินค้าให้กับคนต่างชาติ อาจจะเป็นงานศิลปะ ของสะสม ของที่ระลึก หรือสินค้าแฟชั่น ซึ่งบางทีก็ผลิตและจำหน่ายด้วยคนเพียงคนเดียว
               

         ผู้ที่จะเปิดบัญชีธุรกิจกับ PayPal ต้องนำหนักฐานการ “จดทะเบียนพาณิชย์” มายืนยัน เรื่องนี้อาจไม่ได้อยู่ในหัวมาก่อนและคิดว่ามันเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่เราจะบอกว่ามันไม่ยากขนาดนั้น เราจะมาแนะแนวทางให้





ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้าอย่างง่าย

 

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th และลงทะเบียนในระบบเพื่อใช้งาน

 

  1. จองชื่อนิติบุคคล โดยชื่อที่ตั้งนั้นต้องไม่ซ้ำหรือคล้ายกับบริษัทอื่นๆ ที่จดทะเบียนไปแล้ว เราสามารถยื่นจองได้สูงสุดถึง 3 ชื่อ ซึ่งนายทะเบียนจะพิจารณาเรียงลำดับจากชื่อแรกก่อน หากซ้ำหรือไม่ผ่านเกณฑ์ ก็จะพิจารณาในลำดับถัดไป




 

  1. เตรียมเอกสาร

 

  • ดาวน์โหลดเอกสารคำขอ (แบบ ทพ.) ที่ www.dbd.go.th/news_view.php?nid=946 และกรอกข้อมูล

 

  • บุคคลธรรมดา กรอกเอกสารข้อ 1-8

 

  • คณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วน กรอกเอกสารข้อ 1-8 และข้อ 11

 

  • บริษัทจำกัด/บริษัทมหาชน กรอกเอกสาร 1-8 และข้อ 12

 

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

 

  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ

 

  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

 

  • สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)

 

  • หนังสือชี้แจง (สำหรับร้านที่เปิดมานานแล้ว และไม่ได้ยื่นจดทะเบียนการค้านับตั้งแต่ 30 วัน หลังเปิดร้าน)

 




  1. ยื่นจดทะเบียนการค้า โดย

 

  • ผู้ประกอบการที่มีหน้าร้าน สำนักงาน บริษัท หรือสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนการค้าที่สำนักงานเขต 50 เขต โดยเราต้องยื่นจดทะเบียนการค้าในเขตที่ธุรกิจของเราตั้งอยู่เท่านั้น หรือยื่นที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

 

  • ผู้ประกอบการที่มีธุรกิจตั้งอยู่จังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนการค้าที่เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตที่ธุรกิจของเราตั้งอยู่

 

  1. ชำระค่าธรรมเนียม

 

  • การจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท

 

  • ขอตรวจค้นเอกสาร 20 บาท

 

  • ขอรับรองสำเนาเอกสาร 30 บาท

 

  • ขอใบแทน(ใบสำคัญใบทะเบียนพาณิชย์) 30 บาท

 

  • ขอถ่ายข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 1,000 บาท/ครั้ง

 

 
ยืนยันตัวตนที่ PayPal

 

         หลังจากนั้นก็ไปยืนยันตัวตนของบัญชีประเภทธุรกิจดทะเบียนที่ PayPal โดยแสดงข้อมูล ดังนี้
 

ข้อมูลธุรกิจ

 

  • เลขทะเบียนพาณิชย์ประเทศไทย 13 หลัก

 

  • ชื่อกิจการอย่างเป็นทางการ หมายเลขโทรศัพท์และที่ตั้งธุรกิจ (พร้อมรหัสสาขา หากมี)

 

  • เอกสารการจดทะเบียนธุรกิจของประเทศไทย (จำเป็นต้องอัปโหลด)

 

  • หลักฐานที่ตั้งธุรกิจ (โปรดอัปโหลดใบเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภคล่าสุด เอกสารภาษี รายการเดินบัญชีบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารล่าสุดที่ปรากฏที่ตั้งธุรกิจ)

 

ข้อมูลตัวตนสำหรับผู้ใช้งานหลักที่ได้รับอนุญาต รายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทที่ครอบครองหุ้นตั้งแต่ 25% ขึ้นไปและรายชื่อผู้บริหารหรือผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาต

 

  • ชื่อและนามสกุลตามกฏหมาย (สะกดเป็นภาษาอังกฤษ)

 

  • วันเดือนปีเกิด

 

  • สัญชาติ

 

  • หมายเลขประจำตัวประชาชน (สำหรับชาวไทย) หรือหมายเลขหนังสือเดินทาง/รหัสประเทศ (สำหรับชาวต่างชาติ)

 

  • หลักฐานที่อยู่ของแต่ละบุคคล (โปรดอัปโหลดใบเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภคล่าสุด เอกสารภาษี รายการเดินบัญชีบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารล่าสุดที่ปรากฏที่อยู่ของแต่ละบุคคล)

 
         เท่านี้ก็สามารถ “รับเงิน” ผ่าน PayPal ได้เหมือนเดิมแล้ว
 
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

HEH ร้านอาหารย่านภูเก็ต เชฟใช้เวลาในครัวให้เหมือนอยู่ในสนามแข่ง ไม่อยากเป็นแค่ Just Another Restaurant

“HEH (เห)” ร้านอาหารสไตล์  Australian Contemporary กลางเมืองภูเก็ต สร้างเมนูอาหารให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะไม่อยากเป็นเพียง แค่ร้านอาหารร้านหนึ่ง

จงปังนมสด ร้านดังแห่งสุราษฎร์ธานี แจ้งเกิดเพราะแบรนด์ดิ้ง และไอเดียทำคอนเทนต์จนเป็นไวรัล

"จงปังนมสด" ร้านดังเมืองสุราษฎร์ธานี ที่กำลังโด่งเป็นไวรัลขณะนี้ จากคลิปตัดต่อที่นำเสียงของเจ้าของเจ้าของร้านขนมปังชื่อดังย่านกทม. อย่าง "มนต์นมสด" มาเป็นแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ