TEXT: วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์
ย้อนกลับไปเมื่อ 9 ปีก่อน มีข่าวที่สร้างความฮือฮาในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารทะเลเมื่อกระทรวงมหาสมุทรและประมงเกาหลีได้รายงานความสำเร็จของบริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดองแฮ เอสทีเอฟที่สามารถทำฟาร์มปลาแซลมอนเป็นประเทศแรกในเอเชีย เบื้องต้นได้เพาะเลี้ยงแซลมอนราว 10,000 ตัวบริเวณนอกชายฝั่งตะวันออกของประเทศ โดยดองแฮ เอสทีเอฟได้นำเข้าไข่ปลาแซลมอนจากแคนาดาแล้วทำการฟักจนได้ลูกปลาและเลี้ยงนาน 10 เดือนให้มีน้ำหนัก 200-400 กรัมก่อนย้ายไปเลี้ยงในกระชังในทะเล เพื่อควบคุมอุณหภูมิน้ำให้อยู่ระหว่าง 15-18 องศาเซลเซียส กระชังที่เลี้ยงแซลมอนจะสามารถหย่อนลงในระดับความลึก 25 เมตร
ที่ผ่านมา ประเทศเอเชียไม่สามารถเพาะเลี้ยงแซลมอนในฟาร์มได้เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำจะสูงเกินในช่วงฤดูร้อน แม้กระทั่งญี่ปุ่นซึ่งทำฟาร์มแซลมอนมาหลายปี แต่ก็ยังเพาะเลี้ยงแซลมอนให้มีอายุได้เพียง 6-7 เดือน ทำให้มีน้ำหนักเฉลี่ยตัวละประมาณ 2 กิโลกรัมเท่านั้น เทียบกับแซลมอนที่เพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ จะมีอายุ 14-24 เดือนและน้ำหนัก 4-5 กิโลกรัม ซึ่งความสำเร็จของเกาหลีในการทำฟาร์มแซลมอนแบบปิดครั้งนี้จะทำให้ลดการนำเข้าแซลมอนจากต่างประเทศ และแซลมอนที่เพาะเลี้ยงในประเทศยังมีราคาถูกกว่า 20-30 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย
การนำร่องของของบริษัทดองแฮนำไปสู่ฟาร์มเลี้ยงแซลมอนจากหลายบริษัทตามมาหลังรัฐบาลประกาศนโยบายในปี 2017 อนุญาตให้กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่สามารถทำฟาร์มปลาแซลมอน ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน และปลาอื่น ๆ ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงในการทำฟาร์ม บริษัทที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับใบอนุญาตจะต้องมีสินทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านวอน หรือมีรายได้ปีละมากกว่า 100,000 ล้านวอน
เมื่อปีที่แล้ว ดองวอน อินดัสตรี้ส์ เครือบริษัทการประมงที่ใหญ่สุดของเกาหลีใต้ได้เริ่มจับธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยเช่นกัน โดยประกาศทำฟาร์มแซลมอนที่ใช้เทคโนโลยี Flow Through System-Reuse ของบริษัทแซลมอน อีโวลูชั่นจากนอร์เวย์ ฟาร์มดังกล่าวตั้งอยู่ในจังหวัดกังวอน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาหลี ติดกับทะเลญี่ปุ่น และเป็นสมาร์ทฟาร์มที่จะสามารถผลิตแซลมอนได้สูงสุด 20,000 ตันต่อปี
ความเคลื่อนไหวล่าสุดในปีนี้คือรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ประกาศทุ่มงบ 178,100 ล้านวอน หรือราว 5,000 กว่าล้านบาทเพื่อสนับสนุนเครือบริษัทขนาดใหญ่ และเอสเอ็มอีในประเทศในการทำฟาร์มแซลมอนโดยเน้นลงทุนด้านเทคโนโลยีและเทคนิคต่าง ๆ ทั้งนี้ กระทรวงมหาสมุทรและประมงจะเตรียมก่อสร้างศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3 แห่ง พร้อมด้วยห้องปฏิบัติการป้องกันโรคในปลาเพื่อวิจัยเกี่ยวกับโรคและสายพันธุ์ของแซลมอน
ข้อมูลระบุว่าตลาดแซลมอนโลกมีมูลค่า 60 ล้านล้านวอนหรือราว 1.7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณจะอยู่ที่ปีละ 4.8 ล้านตัน ร้อยละ 80 ของแซลมอนที่บริโภคเป็นแซลมอนเลี้ยงซึ่งส่วนใหญ่มาจากนอร์เวย์ และชิลี เกาหลีใต้นำเข้าแซลมอนแอตแลนติกจากต่างประเทศปีละกว่า 40,000 ตัน แต่การร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน คาดว่าราวปี 2027 เกาหลีใต้จะสามารถผลิตแซลมอลได้ประมาณ 40,000 ตัน นอกจากตอบสนองความต้องการตลาดในประเทศซึ่งมีมูลค่า 420,000 ล้านวอน (ราว 1.2 หมื่นล้านบาท) นอกจากนั้น รัฐบาลยังเตรียมส่งออกแซลมอนที่เพาะเลี้ยงในประเทศไปยังประเทศเอเชียอื่น อาทิ จีน และญี่ปุ่นในปี 2029 อีกด้วย
ที่ผ่านมา เกาหลีใต้ได้พัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำฟาร์มปลาเนื่องจากการบริโภคอาหารทะเลที่สูงขึ้น แต่วัตถุดิบไม่พอเพียงเพราะการจับสัตว์น้ำทะเลแบบไม่บันยะบันบันยัง และสภาวะโลกร้อนได้ส่งผลต่อปริมาณสัตว์น้ำทะเลลดลง หรือแทบสูญพันธุ์ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลต่าง ๆ รวมถึงปลาไหลทะเลที่มีราคาสูง และปลาอลาสก้าพอลล็อคที่นิยมบริโภคในฤดูหนาว
นอกจากนั้น เกาหลีใต้ยังโดดเด่นในการทำฟาร์มกุ้งด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงอีกด้วย ไม่เพียงทำฟาร์มกุ้งในประเทศอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อหลายปีก่อน เกาหลีใต้ยังให้ความช่วยเหลือรัฐบาลแอลจีเรีย เผยแพร่เทคโนโลยีทำให้สามารถสร้างฟาร์มเลี้ยงกุ้งน้ำเค็มฟาร์มแรกของโลกที่ตั้งอยู่กลางทะเลทรายซาฮาร่าเป็นผลสำเร็จ
ที่มา : www.koreatimes.co.kr, www.ajudaily.com, seawestnews.com
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
RECCOMMEND: ENTREPRENEUR
เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ
ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว
เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย