จะเป็นอย่างไรหากผู้บริโภคที่รักกลายมาเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ ผลจากการกักตัวอยู่กับบ้านนานๆ รวมทั้งการว่างงานทำให้หลายคนหันมาพัฒนาตัวเอง ฝึกทักษะใหม่ๆ เช่น การตัดผม การทำอาหาร ฯลฯ จนกลายเป็นธุรกิจเกิดใหม่ ในขณะที่ผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งก็คิดแล้วคิดอีกกว่าจะตัดสินใจซื้อของ
อีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ไวรัสร้ายได้มาเปลี่ยนรูปแบบการตลาดให้เปลี่ยนไป กลายเป็นปมให้ผู้ประกอบการที่อยากจะอยู่รอดในสนามแข่ง ต้องพลิกการตลาดให้ทันกับผู้บริโภคและสถานการณ์ เช่น การเก็บข้อมูลชื่อในยุคนี้ต้องเป็น ดิจิทัลเนม เพราะชื่อที่ลูกค้าใช้ในช่องทางโซเชียลต่างๆ อาจไม่ตรงกับชื่อจริง
อีกหลายปัจจัยที่คนทำธุรกิจควรจะรู้หากอยากให้ธุรกิจได้ไปต่อ
ไม่มีใครคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำว่าโควิดจะสูญหายไปจากโลกเมื่อไหร่ อนุวัตร เฉลิมไชย นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเจอในเวลานี้เหมือนตกอยู่สถานการณ์ที่เรียกว่า Super VUCA (V:Volatile ความผันผวน, U:Uncertain ความไม่แน่นอน คาดการณ์ได้ยาก, C:Complex ความซับซ้อน แก้ยาก, A= Ambiguous สถานการณ์ที่มีความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน)
ไม่ต่างจากฝั่งผู้บริโภคตกอยู่ในสถานการณ์ที่ ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า TUBA ที่ย่อมาจาก 4 ปัญหาคือ
Tight: เงินไม่มี ต้องกระเบียดกระเสียร มีความระมัดระวังสูงมากในการใช้จ่าย คิดมากขึ้น
Unknown: ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร จะดำเนินชีวิตต่อแบบไหนดี
Bias: ข้อมูลมากมายไปหมด ทั้งจริงเท็จ การจัดการข้อมูลสำคัญมาก
Abnormal: ชีวิตไม่ปกติแน่นอน (เป็นไปได้ว่าจะเป็น Never Normal)
3 พฤติกรรมผู้บริโภคส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และมีพฤติกรรมหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจคือ
1. Prosumer (Producer + Consumer) เมื่อผู้บริโภคกลายมาเป็นคู่แข่ง
พฤติกรรมนี้ส่วนหนึ่งมาจากการกักตัวอยู่กับบ้าน ไม่ได้ออกไปไหน หลายคนหันมาเพิ่มทักษะให้ตัวเอง เช่น ตัดผม ทำอาหาร จากที่เริ่มทำเองขยายไปสู่คนรอบข้างและขยายวงใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นธุรกิจทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ
2. Bossumer (Boss + Consumer) เป็นลักษณะผู้บริโภคชอบบ่นเมื่อเจอสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ถูกใจ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่เอื้อให้ผู้บริโภคได้แสดงความคิดเห็นง่ายขึ้น เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทั้งหลายต้องระวัง
3. Mindsumer (Mind + Consumer) ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะคิดมาก มีความระมัดระวัง อาจทำให้การตัดสินใจซื้อของยากขึ้น สิ่งที่ซื้อต้องคุ้มค่า
1. แบรนด์หรือธุรกิจต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค เช่น ถ้าเขาออกมาใช้บริการหรือสินค้าของผู้ประกอบการจะต้องปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายคนซื้อ
2. ต้องมุ่งสู่ดิจิทัล ก่อนโควิดมาเกษตรกรไทยใช้ออนไลน์ทำธุรกิจเพียงแค่ 9% แต่พอเกิดโควิดตอนนี้เกษตรกรไทยใช้ออนไลน์แล้ว 70% ดังนั้นดิจิทัลไม่ได้มีผลแค่กับคนรุ่นใหม่ แต่มีผลกับคนทุกเจน ทุกพื้นที่ ธุรกิจอะไร
1. ต้องกลมกล่อม ไม่เอาประโยชน์เข้าแต่ธุรกิจ ต้องส่งประโยชน์ให้แก่ลูกค้าส่วนวิธีการที่จะทำให้เกิดการกลมกล่อมก็เริ่มจากการใช้ data เช่น เก็บชื่อดิจิทัลเนมในโซเชียลมีเดียของลูกค้า เช่น ชื่อเฟซบุ๊ก เพื่อดูความสนใจและพฤติกรรมว่าลูกค้าชอบอะไรเพื่อจะสร้าง royalty ได้อย่างกลมกล่อม
2. ต้องกลมกลืน คือลูกค้าใช้ภาษาแบบไหน คุยกับลูกค้าให้รู้เรื่อง อย่าดึงเหตุการณ์เข้าแบรนด์อย่างเดียว
3. อย่าเกินเลย อย่าเกาะกระแสจนดูเกินเลย อาจส่งผลให้ถูกมองเหมือนไม่จริงใจ
4. เกาะแบรนด์ ต้องไม่แกว่งไปแกว่งมาตามกระแส เมื่อวันที่หมดโควิดจะทำให้หาตัวตนแบรนด์ไม่เจอ
ทักษะที่ผู้ประกอบการต้องมี
1. Agility ความเร็วในการปรับตัว
2. Creativity ความคิดสร้างสรรค์ยังจำเป็นสำหรับการทำธุรกิจ
3. Engagement การทำตลาดในยุคดิจิทัล ไม่ใช่แค่การทำโปรโมชั่น แต่ต้องสร้าง Engage กับลูกค้าด้วย
4. Forecast มองให้ยาว
5. Growth Mindset ล้มแล้วลุกได้ อย่าทำตัว Fail is fail. แต่เป็น Fail is fine. ทนเจ็บแล้วลุกและไปต่อ
ถ้าคุณยังมีคำถามว่าธุรกิจจะไปยังไงต่อดี สิ่งเหล่านี้อาจเป็นแสงสว่างเล็กๆ ที่ช่วยให้ธุรกิจคุณไปต่อในปี 2022
ที่มา: การตลาดพลิกตำรา” จาก Petra Talk ครั้งที่ 5 ของสมาคมนิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Shi CU Alumni)
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี