ลูกค้าคิด หุ่นยนต์ทำ โมเดลธุรกิจร้านอาหารแห่งอนาคต

PHOTO : Creator Burger





          ในอนาคตหุ่นยนต์จะเข้ามาดูแลเรื่องอาหารการกินของผู้คน มีหุ่นยนต์บาริสต้าที่จะชงลาเต้พร้อมกับวาดลาเต้อาร์ตเจ๋งๆ มีหุ่นยนต์เชฟที่จะพิซซ่าให้ แม้กระทั่งมีหุ่นยนต์มาส่งอาหารให้ถึงบ้าน


          ภาพแบบนี้กำลังเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเรื่อยๆ อย่างน้อยตอนนี้ก็มีหุ่นยนต์ที่เตรียมเบอร์เกอร์อร่อยๆ ให้แล้วที่ร้าน Creator Burger ในซานฟรานซิสโก ด้วยราคาเพียง 6 ดอลลาร์สหรัฐฯ และน่าจะเป็นเบอร์เกอร์ที่ราคาถูกที่สุดที่สามารถหาได้ในพื้นที่นั้นด้วยซ้ำ





หุ่นยนต์ที่ทำงานได้เหนือกว่าคน

 

           Creator Burger เปิดตัวขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 เป็นจุดเริ่มต้นความฝันของ Alex Vardakostas ในการสร้างครัวหุ่นยนต์แห่งอนาคต ที่ไม่เพียงแต่ใช้ระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในการทำเบอร์เกอร์ แต่เป็น Fully Automated Kitchen ที่ใช้หุ่นยนต์ที่มีชิ้นส่วนกว่า 600 ชิ้น คอมพิวเตอร์ 20 เครื่อง หัวจ่ายส่วนผสม 50 หัว เซนเซอร์อีก 350 ตัว กับอัลกอริธึ่มอีกนับไม่ถ้วนเพื่อรังสรรค์เมนูเบอร์เกอร์สำหรับลูกค้า


            แล้วทำไมเขาจึงมีความฝันเช่นนั้น


           Vardakostas เติบโตมาในร้านเบอร์เกอร์ของพ่อแม่ เขาต้องพลิกเนื้อ (แพตตี้) วันละเป็นร้อยๆ ชิ้น ซึ่งระหว่างนั้นก็มีความผิดพลาดหลายอย่างเกิดขึ้น ทั้งที่มาจากคนทำ หรือสาเหตุอื่นๆ อย่าง อุณหภูมิ ความเชื้น หรือระยะเวลาในการทอดเนื้อก็ตาม ทำให้คุณภาพเบอร์เกอร์อาจจะไม่คงที่ และเขาคิดว่าหุ่นยนต์จะสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ และทำได้ดีกว่า “คน” ด้วย



               

          หุ่นยนต์ที่นี่ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อเป็นเครื่องทุ่นแรงหรือทำงานซ้ำซากจำเจออย่างพลิกเนื้อ หั่นผัก หรือบีบซอสเท่านั้น แต่มันมีความอัจฉริยะมากกว่านั้นโดยการถอดแบบเทคนิคการทำเนื้อแพตตี้ของเชฟมิลชิน 3 ดาว จนได้เนื้อที่มีสัมผัสที่ดีสุดยอดเมื่อลูกค้ากัดเบอร์เกอร์ลงไปสักคำ มีการสร้างสรรค์เมนูโดยเชฟชื่อดังหลายคน โดยที่ถอดแบบทั้งส่วนผสมและวิธีทำของเชฟแต่ละคน มีเครดิตอยู่ในแต่ละเมนูที่คิดด้วย
               

            หุ่นยนต์ในร้านสามารถผลิตเบอร์เกอร์ได้มากถึง 120 ชิ้นต่อชั่วโมง ลูกค้าจะได้เห็นแทบทุกกระบวนการทำเบอร์เกอร์ ตั้งแต่การหั่นและปิ้งขนมปังบริออชไปจนถึงการเพิ่มท็อปปิ้งตามที่ลูกค้าสั่ง พนักงานที่จะได้เห็นอยู่รอบๆ เครื่อง คือ พนักงานเสิร์ฟ ที่ยืนอยู่หน้าแผนกรับคำสั่งซื้อและชำระเงิน และนำเบอร์เกอร์ไปเสิร์ฟให้



               

ลูกค้าเป็นผู้สร้างสรรค์

 

         Creator Burger เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ต้องปิดตัวลงเพราะโควิด-19 แม้ว่าช่วงแรกที่มีการระบาดร้านจะได้รับความนิยมสูงขึ้นเพราะแบรนด์สามารถสื่อสารเรื่องความโปร่งใสในการทำอาหารแทบทุกขั้นตอนโดยที่ไม่ต้องใช้คนปรุงเลย จึงไม่มีการสัมผัสกับคน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สุดท้ายแล้วร้านก็ยังพ่ายแพ้


         แต่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Creator Burger กลับมาเปิดอีกครั้งในทำเลใหม่ไม่ไกลจากเดิม พร้อมกับหุ่ยนต์ตัวใหม่ที่ลูกค้าสามารถควบคุมได้!


          หุ่นยนต์ตัวใหม่แตกต่างจากรุ่นแรกเล็กน้อย โดยนำเสนอฟังก์ชั่นการทำงานแบบใหม่เป็นหุ่นยนต์ที่เร็วกว่า สามารถปรุงเบอร์เกอร์ได้ภายในเวลาไม่ถึง 4 นาที บรรจุซอสปรุงรสและซอสต่างๆ ได้ถึง 25 ชนิด และการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือ จากเดิมที่ร้านเป็นผู้สร้างสรรค์เมนูเบอร์เกอร์ให้ลูกค้าเลือกเท่านั้น หุ่นยนต์รุ่นนี้จะอนุญาตให้ใครก็ได้มาคิดเมนูใหม่ โดยที่ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Creator ลงในมือถือและปรับแต่ง เลือกเครื่องปรุงและซอสได้ตามชอบใจ จากนั้นก็บันทึกและแชร์เมนูที่ถูกคิดค้นขึ้นนั้นให้ใครก็ตามที่มีรสนิยมเดียวกันกดสั่งไปลองก็ได้


         ขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางให้ “เชฟที่มีชื่อเสียง” ได้ย้ำแบรนด์ของตัวเอง ด้วยการสร้างสรรค์เบอร์เกอร์ให้เหล่าแฟนคลับหรือคนอื่นสามารถนำไปทำซ้ำได้





ยังต้อง “สื่อสาร” กับมนุษย์

 

           แม้ว่าจะใช้เทคโนโลยีจำนวนมากในร้าน แต่ Creator Burger ก็ยังมีพนักงานที่เป็นมนุษย์ Vardakostas กล่าวว่าทีมงานของเขาเคยคิดถึงการใช้ตู้สั่งซื้ออัตโนมัติเช่นกัน แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจที่จะให้คนมาเป็นคนรับออเดอร์อยู่ดี “สำหรับผู้บริโภคหลายคน เขาต้องการคุยกับมนุษย์” เขาบอกแบบนั้น
               

              แน่นอนว่าระบบอัตโนมัติทำให้จำนวนพนักงานบริการในร้านอาหารลดลง แต่ก็มีตำแหน่งใหม่ที่เกิดขึ้นมาเพราะการใช้เทคโนโลยี พนักงานยังต้องเติมส่วนผสม แนะนำวิธีใช้ให้กับลูกค้า ให้คำแนะนำในการเลือก ทำความสะอาด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัตโนมัติ หรือช่างซ่อมและบำรุงรักษา ซึ่งเป็นงานที่คนจะได้รับค่าจ้างมากยิ่งขึ้นด้วย เมื่อเร็วๆ นี้เขาได้เลื่อนตำแหน่งพนักงานในร้านอาหาร 2 คนให้เป็นนักพัฒนาในห้องปฏิบัติการ
 



 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย