Scale up ธุรกิจให้โตไม่ยาก แค่รู้ให้ทัน 4 จุดตายขวางความเจริญ SME

TEXT: ภัทร เถื่อนศิริ
 

 

          หากพูดถึงการทำธุรกิจ คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกเจ้าของธุรกิจจะมีความต้องการที่จะผลักดันให้ธุรกิจ ”เติบโต” ยิ่งๆ ขึ้นไป หากแต่ในการเติบโตนั้นก็มีรูปแบบที่น่าหลงใหลอยู่เช่นกัน กล่าวคือ เติบโตแบบก้าวกระโดด (Exponential Growth) ด้วยกลยุทธ์ Scale Up
 

          “โดยที่กลยุทธ์ Scale Up คือ การปรับปรุงและหรือขยายองค์กรด้วยวิธีและรูปแบบการทำงานให้สามารถมีประสิทธิผลมากว่าทรัพยากรที่ใช้ไปในลักษณะการเติบโตแบบก้าวกระโดดได้” 
 

         ซึ่งการที่จะประยุกต์ใช้กลยุทธ์ Scale Up กับองค์กรนั้นไม่ง่ายเลย ทั้งเรื่องที่สำคัญที่สุดอย่างแนวคิด (Mindset) ของคนในองค์กร, วิธีการรูปแบบ (Process), ทักษะของทีมงาน (Skill Set) สำหรับผมแล้วกลยุทธ์นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำ Digital Transformation ของบริษัทฯ ประกอบกับการใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนองค์กร (Data Driven Organization) สร้างสภาพแวดล้อมทุกอย่างให้ครบถ้วนเพื่อรองรับการ Scale Up 



 

         โดยส่วนใหญ่แล้วการใช้กลยุทธ์ Scale Up นั้นมักจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีซะส่วนใหญ่ เนื่องจากจะต้องตอบโจทย์การเติบโตแบบก้าวกระโดด คำถามคือแล้วถ้าธุรกิจ SME ที่อยากเติบโตแบบก้าวกระโดดนั้นสามารถกระทำได้ไหม อย่างไร ? คำตอบคือสามารถกระทำได้ เพียงแต่มักจะประสบปัญหาดังต่อไปนี้
 
 
1. รูปแบบการทำธุรกิจ (Business Model) ไม่รองรับ
 

           เป็นเรื่องคลาสคิดสุดๆ ที่ผมพบเจอได้บ่อยมากกับปัญหาที่จะปรับขยายธุรกิจให้เติบโตต่อไปแต่รูปแบบการทำธุรกิจไม่รองรับ อันดับแรกต้องเข้าใจรูปแบบธุรกิจของเราให้เข้าใจก่อนว่ามีโอกาสที่จะเติบโตได้แค่ไหน (รู้ตน, ประมาณตน)


           เมื่อเรารู้และเข้าใจแล้วถ้าเราอยากจะปรับขยายเพื่อเติบโตต่อด้วยกลยุทธ์ Scale Up นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับรูปแบบการทำธุรกิจ ซึ่งการปรับรูปแบบธุรกิจนั้นไม่มีกฎสำเร็จตายตัว เพียงแต่ต้องผ่านการทดสอบแล้วเก็บ Feedback เพื่อพัฒนารูปแบบธุรกิจให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและสามารถ Scale Up ตอบโจทย์ธุรกิจได้ควบคู่กันไป ดังนั้นหัวใจสำคัญจะต้อง กล้าลงมือทำ กล้ารับผิด รับชอบ ล้มแล้วเรียนรู้ให้ไว เข้าใจลูกค้าและสภาวะตลาดให้แหลมคม นั้นเอง



 

2. ปัญหาโครงสร้างต้นทุน (Cost Structure)
 

           ต่อให้ทำธุรกิจเก่งแค่ไหนบางทีก็ตกม้าตายกันได้ด้วยเรื่องโครงสร้างต้นทุน ที่ไม่ได้ทำไว้เพียงพอหรือรองรับกับกลยุทธ์ Scale Up ได้ กล่าวคือ สามารถทำธุรกิจค้าขายมีกำไรได้ แต่ไม่ได้วางโครงสร้างราคาให้เพียงพอต่อการเติบโตต่อไป ทำให้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพึงพิจารณาอันดับต้นๆ สำหรับ SME เลยว่า ถ้าอยากจะใช้กลยุทธ์ Scale Up จะต้องมีความรู้หรือมีผู้ชี้แนะโครงสร้างต้นทุนที่ครอบคลุมตอบสนองการเติบโตแบบก้าวกระโดดได้




 
3. การปรับรูปแบบการทำงาน (Process)
 

       มีหลายๆ ธุรกิจที่ผมพบเจอกับปัญหานี้ คือ ไม่มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจนหรือไม่มีระบบที่จะรองรับกลยุทธ์ Scale Up ได้ นัยสำคัญของเรื่องรูปแบบการทำงานนี้สามารถกล่าวได้ทั้งมิติของรูปแบบการทำงานของพนักงานในองค์กร และรูปแบบการทำงานของระบบในเชิงเทคโนโลยี หากเราต้องการจะเติบโตแบบก้าวกระโดดนั้น เราจักต้องวางแผนตั้งแต่หน้าที่ความชัดเจนของพนักงานแต่ละคน วาง Flow การทำงานให้ชัดเจนให้เป็นระบบ รวมไปถึงออกแบบ System Architecture ให้รองรับการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นน้อยกว่าอีกด้วย



 

4. โครงสร้างทางการเงิน (Financing)
 

          เป็นปัญหาที่ดูเหมือนเล็กน้อย แต่แก้ยากมากๆ ใน SME หลากหลายบริษัทจะไม่สามารถแม้กระทั่งการแยกโครงสร้างทางการเงินส่วนบุคคลออกจากโครงสร้างทางการเงินของบริษัท ใช้เงินปนกันไปมา เป็นปัญหาที่ใหญ่มากของการที่จะใช้กลยุทธ์ Scale Up เพราะ เนื่องจากเวลาเกิดการเติบโตแบบก้าวกระโดดนั้นอาจทำให้ธุรกิจเกิดการขาดสภาพคล่องได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้มหายตายจากกันไปได้เลยทีเดียว ถ้าธุรกิจนั้นมิได้วางโครงสร้างทางการเงินให้ดี ไม่มีวินัยทางการเงินทีดี ใช้เงินระยะสั้นไปกับการลงทุนระยะยาว ไม่ Match การใช้เงินตามวัตถุประสงค์การใช้งานตามระยะเวลา  หากเป็นเช่นนั้นแล้วโอกาสในการ Scale up ธุรกิจแทบจะไม่มี
 

          ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็น 4 จุดตาย การ Scale up ของธุรกิจ SME ที่ผมได้รวบรวมจากประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาธุรกิจเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนเปลี่ยนธุรกิจให้ทันกับสภาพแวดล้อมยุคสมัยและลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ผมเชื่อว่ายังคงมีอีกหลายสาเหตุที่แตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจที่จะสร้างปัญหาในการเติบโตของธุรกิจอีกเป็นแน่แท้ ดังนั้นสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะครับ

 

 
 
 
 
 
www.smethailanclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย