ปรับธุรกิจให้รอดทุกวิกฤตด้วย Customer Insights รู้จักลูกค้ามากเท่าไหร่โอกาสรอดมากเท่านั้น

TEXT : ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย



 
          คนทำธุรกิจทุกคนรู้ดีว่า ‘ข้อมูล’ ของลูกค้าเป็นเหมือนขุมทรัพย์ที่จะช่วยให้ชี้ทางสว่างให้กับธุรกิจ คำกล่าวที่ว่า “รู้เค้า รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ยังเป็นประโยคคลาสสิกที่ใช้ได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ยิ่งต้องทำความเข้าใจผู้บริโภคให้มากขึ้นและเร็วขึ้นเท่าตัว
 
 
         ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยได้ ได้สรุปคำแนะนำจาก THE SME HANDBOOK by UOB ตอนที่ 2 ที่มี สมวลี ลิมป์รัชตามร อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด มาแนะนำ SMEs ในการทำความรู้จักลูกค้าและเทรนด์พฤติกรรมคนยุคใหม่





3 ลิสต์ต้องเช็ก! เพื่อทำความเข้าใจ Customer Insights ในยุคนี้

 
 
          1. เราขายอะไร ต้องมองให้ลึกกว่าการจำกัดความว่าธุรกิจเราขายสินค้าประเภทไหน ดูตัวอย่างร้านมัลติแบรนด์ในห้างหรือในอินสตาแกรม ไม่ได้จำกัดว่าเป็นร้านขายเสื้อผ้า แต่เอารสนิยมตัวเองเป็นตัวตั้ง สิ่งที่เขาขายคือรสนิยมของตัวเอง
 

         2. เราขายใคร ไลฟ์สไตล์ลูกค้าของเราเป็นแบบไหน ทำงานอะไร ชอบเพลงสไตล์ไหน ยิ่งรู้จักบุคลิกของลูกค้าและเก็บข้อมูลเขาได้มากที่สุด มันจะพาเราเชื่อมไปทุกอย่าง
 

          3. ขายด้วยช่องทางไหน ต้องลองทุกทาง บางธุรกิจมีทั้งหน้าร้านและออนไลน์ แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ แอดมินหรือคนที่มาตอบคำถามให้แบรนด์ไม่ว่าช่องทางไหน ต้องดูว่าแอดมินแบบไหนจะตอบโจทย์ลูกค้าของเรา



 

หยิบข้อมูล Customer Insights มาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด



           “ดูลูกค้าเป็นหลัก” เช่น หากทำธุรกิจขายเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มลูกค้าคือ Gen Y ลองวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของสองสิ่งนี้ อาจจะเกี่ยวกับสถาปนิกหรือบ้าน ก็หาข้อมูลของสิ่งนั้น เช่น ข้อมูลพบว่า คน Gen Y ตัดสินใจเช่ามากกว่าซื้อ ดังนั้นเฟอร์นิเจอร์ที่คน Gen Y สนใจ อาจจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย



 

เทรนด์ที่น่าจับตา โอกาสต่อยอดธุรกิจสำหรับ SMEs ทุกอุตสาหกรรม

         
 
              สำหรับแนวโน้มธุรกิจที่มีโอกาสเติบโต สมวลี พุ่งประเด็นที่ไปกลุ่ม Urban Lifestyle เพราะเป็นกลุ่มที่ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำไปต่อยอดได้มากขึ้น ได้แก่

  1. Gaming วงการ E-sports เป็นตลาดที่ SMEs ต้องให้ความสนใจ เพราะประชากรของประเทศไทยเล่นเกมอยู่ที่ 57 เปอร์เซ็นต์ หรือ 40 ล้านคน ถือเป็นตลาดที่ใหญ่มาก คาดการณ์ว่าเกมจะกลายเป็นไลฟ์สไตล์ของคนในอนาคต

 

  1. สัตว์เลี้ยง เมื่อคนอยู่บ้านมากขึ้น สัตว์เลี้ยงกลายเป็นเพื่อนและลูกรักเบอร์หนึ่ง ตลาดอาหารสุนัข อาหารเสริม ของเล่น เฟอร์นิเจอร์ หรือสินค้าต่างๆ รวมถึงการจัดอีเวนต์ จึงเติบโตและสามารถต่อยอดได้

 

  1. Work from Home ในอดีตจุดขายของบ้านและคอนโดคือห้องนอนและห้องรับแขก เมื่อเทรนด์ Work from Home จะคงอยู่ต่อไป จุดขายจะเปลี่ยนเป็นห้องทำงาน หรือตลาดอุปกรณ์ที่ใช้อำนวยความสะดวกในการ Work from Home ก็น่าสนใจ

 

  1. ต้นไม้ จากผู้ซื้อกลายเป็นผู้ขาย ทำให้มี SMEs รายย่อยหลายรายออกจากงานประจำมาปลูกต้นไม้ขาย ทำรายได้หลักแสน




 

  1. อุปกรณ์ทำอาหาร ต่อยอดมาจากเทรนด์การอยู่บ้าน ส่งผลให้คนหันมาทำอาหารมากขึ้นและสนใจสุขภาพตัวเองมากขึ้น อุปกรณ์ทำอาหาร จนถึงเครื่องครัวจะเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นต่อไป

 

  1. Self-storage เพราะตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตต่อเนื่องและธุรกิจส่วนมากไม่มีโกดัง ปัจจุบันธุรกิจโลจิสติกส์ขนาดใหญ่เริ่มหันมาทำธุรกิจให้เช่าพื้นที่มากขึ้น 

 

  1. Plant-based Food ในอนาคตโลกจะขาดแคลนเนื้อสัตว์ เพราะประชากรโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื้อจะผลิตด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น นี่เป็นเทรนด์ที่ SMEs ด้านอาหารต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

 





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย