7 วิธีพัฒนาธุรกิจรับปี ’65 ให้โตได้ไม่ว่าเศรษฐกิจโลกจะ ขึ้น หรือ ลง

               


         ตลาดกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ผู้คนชะลอการเดินทาง และธุรกิจต่างๆ แม้แต่ธุรกิจใหญ่อย่าง Google หรือ Apple กำลังเลื่อนแผนการกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ และท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนี้ธุรกิจต่างๆ ต่างตั้งคำถามว่าจะวางกลยุทธ์อย่างไร เพราะกลยุทธ์ที่วางไว้ในเดือนมกราคมอาจจะต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม บางธุรกิจในประเทศไทยถึงขั้นต้องเปลี่ยนกันรายเดือน รายสัปดาห์กันเลยด้วยซ้ำ ขึ้นอยู่กับมาตรการของรัฐ
               

         คาดว่าในปี 2565 ก็ยังคงเป็นอย่างนี้ต่อไป ถึงแม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะดีขึ้นก็ตาม แต่ถึงอย่างนั้นความไม่แน่นอนก็ยังคงมีอยู่มาก


         และนี่คือ 7 วิธีพัฒนาธุรกิจให้ตอบสนองต่อแนวโน้มในปัจจุบันให้ทันท่วงที ไม่ว่าเศรษฐกิจจะขึ้นหรือลงก็ตาม



               

  1.  อย่าประมาทสถานการณ์โควิด-19

 

          นี่คือคาถาสำคัญที่ต้องคำนึงถึงทุกครั้งที่จะตัดสินใจวางกลยุทธ์อะไรสักอย่าง ถึงแม้ว่าสถานการณ์โควิดจะไม่กลับไปรุนแรงจนต้องล็อกดาวน์เต็มรูปแบบเหมือนปี 2563 แล้ว แต่เรื่องโรคระบาดก็ยังเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากระวังเนื้อระวังตัวกันมากขึ้น เห็นได้จากการสำรวจของ Deloitte ที่บอกว่าผู้บริโภคประมาณ 51 เปอร์เซ็นต์มีความกังวลเรื่องสุขภาพมากขึ้นเมื่อต้องออกไปทำกิจกรรมต่างๆ


         มีหลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด แต่รอดูสถานการณ์หรือเทรนด์ก่อนค่อยขยับตัวทำอะไรแทนที่จะคิดล่วงหน้าหรือวางแผนงานเพื่อไปดักทางความต้องการผู้บริโภค ลองเปลี่ยนวิธีคิดดู ติดตามสถานการณ์ทั้งในระดับประเทศและในพื้นที่ของตัวเองอย่างใกล้ชิด แล้วปรับธุรกิจให้ทัน เพราะถ้าไม่ทำล่ะก็ ลูกค้ายุคนี้ก็จะเปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าและบริการของธุรกิจอื่นที่ตอบสนองและทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยได้มากกว่า






  1. ปรับเข้าสู่เส้นทางดิจิทัลโดยสมบูรณ์

 

           มีหลายบริษัทที่เปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์ตั้งแต่ก่อนปี 2563 แต่โควิดได้เร่งเร้าให้ธุรกิจส่วนใหญ่ต้องพัฒนาด้านดิจิทัลด้วยเช่นกัน การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ การประชุมทางไกลกลายมาเป็นจุดศูนย์กลางของการทำธุรกิจ แต่พอสถานการณ์ดีขึ้น หลายธุรกิจก็กลับไปดำเนินการแบบเดิม หยุดการทำงานผ่านดิจิทัล ซึ่งนั่นถือเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่


         ดูเหมือนว่าโลกจะค่อยๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่บางอย่างที่เปลี่ยนไปแล้วจะไม่มีวันย้อนกลับนั่นก็คือการค้าดิจิทัล ธุรกิจจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์ในการทำงาน หรือมีบริการอัจฉริยะต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้า กระซิบว่าเทรนด์ที่กำลังมาแรงสุดๆ นั่นก็คือ การสั่งงานด้วยเสียงและผู้ช่วยอัจฉริยะ
 

  1. สร้างวิธีทำงานที่ไปต่อได้ไม่ว่าจะขาขึ้นหรือขาลง

 

          ในเดือนมีนาคม-เมษายน ปี 2563 ตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างหนัก ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจโลกจะตกต่ำลง แต่สถานการณ์นั้นกลับใช้เวลาเพียง 2 เดือนก็กลับมามีแนวโน้มดีขึ้นอย่างรวดเร็ว และผู้นำธุรกิจหลายคนก้าวไปข้างหน้าโดยคาดการณ์ว่าการเติบโตนี้จะดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องอีกหลายปี
แต่มันจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ เหรอ


          อย่าสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจบนพื้นฐานของการมองโลกในแง่ดีเพียงอย่างเดียว สร้างระบบการทำงานที่สามารถใช้ดั้งในช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี วางกลยุทธ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว แบบนี้แล้วไม่ว่าสถานการณ์โลกจะเป็นอย่างไรธุรกิจของคุณก็ยังจะไปต่อได้



 

  1. ดักเจอลูกค้าไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน

 

          ในปี 2563 สินค้าและบริการต้องสามารถเสิร์ฟลูกค้าได้ถึงหน้าบ้าน แต่ในปี 2564 ลูกค้าต่างกระตือรือร้นที่จะออกจากบ้าน เพราะพวกเขาเบื่อบ้านเต็มที แล้วปี 2565 ล่ะ? ธุรกิจต่างๆ จะต้องรับมือกับพฤติกรรมผู้บริโภคแบบไหน

 

         การยึดติดกับหน้าร้านอาจเป็นปัญหามากกว่าที่คิด จากตัวเลขของ Bloomberg รายงานว่าอี-คอมเมิร์ซจะมีมูลค่ามากกว่า 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2570 แต่อย่างไรก็ตาม อย่าเดิมพันมากเกินไป ลองพิจารณาการตลาดแบบไฮบริด รองรับลูกค้าที่ต้องการประสบการณ์แบบดั้งเดิม และคนที่ต้องการบริการแบบเสมือนจริง


  1. โลดแล่นในโซเชียลมีเดีย

 

           โซเชียลมีเดียกำลังเฟื่องฟูทุกแพลตฟอร์ม จากแบบสำรวจของ Google พบว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ YouTube บอกว่าครีเอเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์น่ะเข้าใจพวกเขาดีกว่าเพื่อนซะอีก พยายามเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนออนไลน์และสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า เพราะนั่นจะได้รับความสนใจมากกว่าโฆษณา แถมเป็นไปอย่างออแกนิก โซเชียลมีเดียน่ะไม่ใช่เรื่องเหลวไหลแน่ๆ



 

  1. ให้ความสำคัญกับพนักงาน

 

         ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคและตลาดที่เปลี่ยนไปในปีที่ผ่านมา พนักงานของคุณก็น่าจะมีความเปลี่ยนแปลงไปด้วย พวกเขาใส่ใจคุณภาพชีวิต สวัสดิการ และการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น


          อันที่จริง การพยายามกลับไปทำงานที่ออฟฟิศเหมือนเดิมอย่างรวดเร็วอาจทำให้ทีมงานตื่นตกใจได้ไม่น้อย จากการสำรวจล่าสุดของ The Morning Consult พบว่า แรงงาน 39 เปอร์เซ็นต์จะคิดพิจารณาเรื่องการลาออกถ้าถูกบังคับให้กลับไปทำงานที่ออฟฟิศ พวกเขาคาดหวังตัวเลือกการทำงานทางไกลและยืดหยุ่น และการทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ใน 5 วันต่อสัปดาห์ อาจเป็นวิธีการทำงานที่ล้าสมัยไปแล้ว



 

  1. คิดให้ไกล แล้วเป็นใหญ่ในพื้นที่ของตัวเอง

 

           ตั้งแต่ก่อนโควิด การสื่อสารและการทำธุรกิจข้ามพรมแดนทำได้ง่ายและทำได้ตลอดเวลา แต่การห้ามเดินทางและการขนส่งระหว่างประเทศที่ยากลำบากขึ้นทำให้คนทำธุรกิจต้องหันมาสนใจตลาดในประเทศ


           แล้วปี 2565 ล่ะ? คิดว่าการทำธุรกิจข้ามพรมแดนจะกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง หรือจะทำธุรกิจอย่างปลอดภัยในประเทศ คำตอบก็คือ ทำไมไม่ทำทั้งสองอย่างเลยล่ะ!


           อย่าทิ้งตลาดในพื้นที่ของตัวเองด้วยความหวังว่าจะขยายธุรกิจไปต่างประเทศในอนาคตอันใกล้ ให้รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีอยู่ ในขณะที่รอเวลาที่เหมาะสมในการขยายตัว
 

           ถ้ามีคนมาบอกว่าพวกเขารู้ว่าปี 2565 จะเป็นอย่างไร อย่าเพิ่งเชื่อ ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ฉะนั้น กลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือยืดหยุ่น เตรียมธุรกิจให้พร้อมกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อค่อยๆ เติบโตอย่างแข็งแกร่ง
 
 


 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย