หนึ่งในสินค้าอะไรที่มาแรงในตลาดโลกขณะนี้คงหนีไม่พ้น “เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง” หรือ Cultured Meat จากการศึกษาของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) พบว่า “เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง” เป็นสินค้าใหม่ที่มีการเติบโตสูง เพราะปัจจุบันนี้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารเพื่อป้อนความต้องการของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารจากเนื้อสัตว์ที่การผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงได้มีการเร่งศึกษาวิจัยและพัฒนาเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง เพื่อตอบสนองความต้องการเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ AT Kearney บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการระดับโลกของสหรัฐฯ ระบุว่า ประชากรโลกจะเพิ่มจาก 7,600 ล้านคน ในปี 2018 เป็น 10,000 ล้านคน ในปี 2050 ส่งผลให้ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น 56 เปอร์เซ็นต์ และข้อมูล World Resources Institute (WRI) รายงานว่าความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ (ประเภทสัตว์เคี้ยวเอื้อง อาทิ วัว แกะ และแพะ) จะเติบโตสูงถึง 88 เปอร์เซ็นต์ระหว่างปี 2010 ถึง 2050
AT Kearney ยังชี้ให้เห็นอีกว่า หากต้องผลิตเนื้อสัตว์ให้เพียงพอกับความต้องการบริโภค จะต้องเพิ่มผลผลิตภาคเกษตรเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ต้องใช้ทุ่งหญ้าที่มีพื้นที่ขนาดเท่าประเทศอินเดีย และใช้เนื้อที่ 2 ใน 3 ของพื้นที่เกษตรกรรมโลกเพื่อทำปศุสัตว์ ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส และสร้างก๊าซเรือนกระจก (ก๊าซมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ และไนตรัสออกไซด์) ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของก๊าซที่เกิดจากการผลิตภาคเกษตรกรรม
ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการ กล่าวว่าจากความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ ความท้าทายในการผลิตเนื้อสัตว์ และปัญหาการขาดแคลนเนื้อสัตว์ในอนาคต เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์และนักธุรกิจทั่วโลกให้ความสนใจ และมีความพยายามที่จะคิดค้นนวัตกรรมด้านอาหารต่าง ๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคและชะลอปัญหาดังกล่าว เช่น การคิดค้นเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง และเนื้อสัตว์เทียมที่ผลิตจากพืช หรือ Plant-based Meat ซึ่งปัจจุบัน มีหลายประเทศได้ให้ความสำคัญในการวิจัยพัฒนาและเริ่มผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงออกมาแล้ว
หนึ่งในนั้นคือประเทศสิงคโปร์ไฟเขียวให้จำหน่ายเนื้อไก่เพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้แล้ว ส่วนประเทศไทยมี “ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป” กำลังจับมือจุฬาฯ พัฒนาเนื้อหมูเพาะเลี้ยง
เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 2013 ในรูปแบบเบอร์เกอร์เนื้อ ที่ผลิตโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Maastricht ประเทศเนเธอร์แลนด์ และต่อมาได้มีบริษัทสตาร์ทอัพด้านอาหารหลายรายที่พยายามคิดค้นการผลิตให้ต้นทุนต่ำลง นอกจากนี้ ยังมีหลายบริษัทกำลังยื่นจดสิทธิบัตรในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้ และคาดการณ์ว่าตลาด Cultured Meat จะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ จากในปี 2020 ที่มีมูลค่าตลาด 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปเป็น 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026
“มูลค่าทางการตลาดของเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงในโลก มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งภาครัฐ ควรจะสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านอาหารให้กับผู้ประกอบการไทย ส่งเสริมให้มีการจดสิทธิบัตร เพื่อให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ และจะต้องช่วยในการศึกษาความต้องการของตลาด เพื่อใช้เป็นข้อมูลให้กับผู้ประกอบการผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการ ทั้งในด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส คุณค่าทางโภชนาการ ราคา และกำลังซื้อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและยอมรับจากผู้บริโภคเป็นวงกว้าง” ภูสิต กล่าวทิ้งท้าย
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
RECCOMMEND: ENTREPRENEUR
เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ
ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว
เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย