แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าขยะจำนวนมากเกิดจากภาคการผลิต ทั้งอุตสาหกรรมเกษตรหรืออุตสาหกรรมแฟชั่นก็ตาม หลายธุรกิจพยายามสร้างระบบจัดการขยะที่ดีขึ้น ลดการสูญเสีย และนำกลับไปใช้ประโยชน์
หนึ่งวิธีที่ทำให้เหลือ “ขยะ” น้อยลงได้ คือการนำของเหลือเหล่านั้นมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ที่อาจเรียกได้ว่าอาจจะเป็นวิธีที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มากที่สุด
โดยที่...
- ถูกนำกลับไปใช้ประโยชน์ 33%
- กำจัดอย่างถูกต้อง 36%
- กำจัดอย่างไม่ถูกต้องและตกค้าง 31.1%
จาก ‘เสื้อเก่าและเศษผ้า’ สู่พลังงานไฟฟ้า
ถ้าเป็นเสื้อผ้าเก่าในบ้าน หลายคนมักจะส่งต่อเป็นเสื้อผ้ามือสอง หรือสร้างสรรค์นำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าตัวใหม่ หรือสุดท้ายแล้วอาจกลายเป็นผ้าขี้ริ้ว แต่สำหรับธุรกิจแฟชั่น โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ที่มีตำหนิ เศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บนั่นแทบจะกองเป็นภูเขา แต่รู้หรือไม่ว่าเศษผ้าหรือเสื้อเก่า เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้!
ด้วยการคัดแยกส่วนที่ไม่ใช่เนื้อผ้า เช่น กระดุม ซิป ออกไปใช้ซ้ำได้ จากนั้นแยกประเภท เช่น ผ้าใยสังเคราะห์ ผ้าใยธรรมชาติ เพื่อไปจัดการให้ถูกวิธีก่อนที่จะนำเข้าสู่กระบวนการเผาขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า (Incineration) เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียนคืนสู่สังคม
ตัวอย่างจากแบรนด์เสื้อผ้า H&M ในประเทศสวีเดน นำเสื้อผ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีเชื้อรา ซึ่งไม่สามารถจำหน่ายได้ ส่งให้โรงงานไฟฟ้าเวสเตอร์โรสผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
แปลง “กิ่ง ก้าน ใบ” ให้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า
ของเหลือทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น แกลบ ซังข้าวโพด ฟางข้าว ใบอ้อย มักจะถูกเผาไหม้กลางที่โล่ง ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ PM 2.5 หรือไม่อย่างนั้นก็ปล่อยให้ย่อยสลายไปเพราะคิดว่าเป็นวัสดุธรรมชาติไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งที่จริงวัสดุเหล่านี้เป็นอินทรีย์วัตถุชั้นดีที่กักเก็บพลังงานจากธรรมชาติเพื่อนำมาแปลงเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ ด้วยการนำเข้ากระบวนการเพื่ออัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงแบบเม็ดขนาดเล็ก (Pellets) หรือแบบก้อนขนาดใหญ่ (Briquettes)
ปัจจุบันในประเทศไทยมีตัวอย่างจาก บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ACE ได้รับซื้อของเหลือใช้ทางการเกษตรตรงจากเกษตรกร มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ได้มาตรฐานสำหรับไฟฟ้าผ่านเทคโนโลยี Electrostatic Precipitator หรือตัวอย่างจากเอสซีจี ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ซึ่งมีการใช้เชื้อเพลิงทดแทนในการกระบวนการผลิตซีเมนต์อยู่แล้ว ร่วมมือกับสยามคูโบต้า รับซื้อเศษผลผลิตทางการเกษตร โดยใช้หม้อเผาปูนซีเมนต์ที่เอสซีจีมี แปรรูปเหล่าฟางข้าว ใบอ้อย ให้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อใช้ในการผลิตซีเมนต์
แปรรูปสู่การผลิตกระแสไฟฟ้า
รายงานสถิติของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปีพ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีเนื้อที่เพาะปลูกมันสำปะหลังกว่า 9.4 ล้านไร่ โดยมันสำปะหลัง มีบทบาทสำคัญในการส่งออกและอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ผลิตเป็นแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู ขณะเดียวกันมันสำปะหลังก็สามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอลบริสุทธิ์ 99.5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อผสมน้ำมันเบนซินเป็นแก๊สโซฮอล์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากทุกขั้นตอนการผลิตย่อมมีของเหลือคือ กากมันสำปะหลัง และน้ำเสีย ดังนั้นเมื่อสัดส่วนการปลูกที่มีขนาดใหญ่ในประเทศ การปล่อยให้ของเหลือ ทิ้งไว้โดยไร้ประโยชน์และกลายเป็นขยะล้นประเทศ
เรื่องนี้ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด จ.อุบลราชธานี จึงคว้าโอกาสจัดตั้งโรงผลิตก๊าซชีวภาพและพลังงานไฟฟ้าจากกากมันสำปะหลัง นำกากมันสำปะหลังมาเข้ากระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เพื่อนำไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า จำหน่ายให้การไฟฟ้าและกระจายสู่ชุมชน
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี