Facebook ใจดีรับซื้อใบแจ้งหนี้ จ่ายเงินให้ SME ไปหมุนก่อน กลยุทธ์มัดใจ ลูกค้าของเจ้าพ่อโซเชียล




         ไม่มีวิกฤตครั้งไหนที่ยาวนานเท่าครั้งนี้ ธุรกิจโดยเฉพาะ SME กำลังประสบปัญหากระแสเงินสดขาดสภาพคล่อง เพราะค้าขายทำรายได้ไม่มากเท่าช่วงเวลาปกติ แต่รายจ่ายกลับคงที่หรือมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ และบางทีวางบิลลูกค้าไป ก็ใช่จะได้เงินมาทันที ต้องติดเครดิตเทอมตั้งแต่ 15 วันไปจนถึง 60 วันเลยทีเดียว แถมบางทีถูกเบี้ยวหนี้ซะอย่างนั้น
               

          Facebook เองก็ได้ยินว่าซัพพลายเออร์ของบริษัทกำลังดิ้นรนต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 มากแค่ไหน มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Facebook จึงมองหาวิธีที่จะสามารถช่วยซัพพลายเออร์ของธุรกิจตัวเอง และเริ่มต้นทดลองโปรแกรม Facebook Invoice Fast Track ซื้อใบแจ้งหนี้ที่ค้างชำระจากธุรกิจเหล่านั้นเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา ธุรกิจสามารถส่งใบแจ้งหนี้คงค้างขั้นต่ำ 1,000 ดอลลาร์มาให้ Facebook ซึ่งเมื่อพิจารณารับซื้อแล้วจะได้รับการชำระเงินภายในไม่กี่วัน แล้วหลังจากนั้นลูกค้าจะชำระหนี้ที่ค้างอยู่ให้กับ Facebook แทน โดยเบื้องต้นจะมีค่าธรรมเนียมเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าใบแจ้งหนี้




                
          วิธีนี้จะทำให้เงินไปอยู่ในมือของ SME เร็วขึ้น และ Facebook จะเป็นผู้รับความเสี่ยงที่ต้องรอเงินจำนวนนั้นไว้เอง เพราะสำหรับธุรกิจใหญ่ที่สร้างรายได้เกือบ 86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2563 การรอชำระเงินนั้นเป็นเรื่องเลวร้ายน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดเล็ก


        หลังจากที่ทดลองใช้โปรแกรมนี้กับซัพพลายเออร์ของตัวเองแล้วประสบความสำเร็จอย่างมาก ตอนนี้ Facebook กำลังขยายโปรแกรมด้วยวงเงินสูงถึง 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กประมาณ 30,000 แห่ง โดยเฉพาะธุรกิจที่มีเจ้าของเป็นผู้หญิง LGBTQ+ ชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติ ทหารผ่านศึกของกองทัพสหรัฐฯ หรือคนพิการ



 
               

         หนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับการช่วยเหลือผ่านโปรแกรมนี้ ก็คือ Lisa Dunnigan ผู้ร่วมก่อตั้ง The Wright Stuff Chics ซึ่งทำธุรกิจขายสื่อการสอนและการจัดประชุมให้กับครูอาจารย์ สถานการณ์โควิดบีบคั้นให้ Dunnigan ต้องยกเลิกกิจกรรมที่บริษัทจัดขึ้น แล้วหันไปจัดการประชุมเสมือนจริงแทน แต่ลูกค้าหลายคนชำระเงินด้วยคำสั่งซื้อที่ใช้เวลานานมากในการชำระ Dunnigan จึงส่งใบสมัครไปที่ Facebook และได้รับเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในไม่กี่วันหลังจากนั้น และนั่นไม่ใช่ครั้งเดียว เธอสมัครเข้าร่วมโปรแกรมอีกหลายครั้ง
 
               

          โปรแกรมนี้เป็นความพยายามของ Facebook ในการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก เพราะกลุ่มนี้ล่ะที่เป็นผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการโฆษณาและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายของพวกเขา
 

          ที่มา : www.cnbc.com





                 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย