จาก VUCA สู่ BANI รู้ให้ทันโลกธุรกิจยุคไวรัส โหดร้ายไม่ต่างจากสมรภูมิสงคราม

TEXT : อ.อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา



         เชื่อว่าคนทำงานทุกคนน่าจะรู้จักและคุ้นชินกับสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่เรียกว่า VUCA กันเป็นอย่างดี
 

         VUCA เป็นคำย่อที่กองทัพสหรัฐฯ ใช้เรียกสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงอย่างต่อเนื่องในช่วงสงครามอัฟกานิสถานและอิรัก ซึ่งต่อมาได้ถูกนำมาใช้ในโลกธุรกิจเพราะสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เศรษฐกิจและสังคม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่แพ้สถานการณ์สงครามเช่นกัน จึงนับว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่องค์กรต่างๆ ต้องทำความเข้าใจและปรับตัวให้ทัน

 
          VUCA ประกอบด้วยสถานการณ์ 4 รูปแบบ ได้แก่ Volatility - ความผันผวน Uncertainty - ความไม่แน่นอน Complexity - ความซับซ้อน และ Ambiguity - ความคลุมเครือ



 

          แต่วิกฤตโรคระบาดโควิดที่อุบัติขึ้นในครั้งนี้ ได้เปลี่ยนแปลงโลกไปมากมายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นักวิชาการหลายคนเริ่มตั้งคำถามว่าโลกในอนาคตหลังจากนี้ไป จะเป็นอย่างไร และ VUCA จะยังคงใช้อธิบายสภาพการณ์ของโลกในยุคนิวนอร์ได้อยู่ต่อไปอีกหรือไม่
 

            ในที่สุด Jamais Cascio นักพฤติกรรมศาสตร์ชื่อดังชาวอเมริกา ก็ออกมาไขปริศนาในเรื่องนี้ ด้วยการนำเสนอรูปแบบใหม่ที่โลกในอนาคตหลังวิกฤตโควิดต้องพบเจอ เรียกว่า BANI (อ่านว่า บานี่) ซึ่งประกอบไปด้วย

 
           B - Brittle (ความเปราะบาง): การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่มีความสำเร็จใดๆ ที่จะอยู่ยั้งยืนยงอีกต่อไป ทุกโมเดลทางธุรกิจ จะมีความเปราะบางมาก สามารถถูกทำลาย (Disrupt) ได้ตลอดเวลา

 
             A - Anxious (ความกังวล): อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับความกังวลและการที่ไม่สามารถไว้วางใจกับเรื่องใดๆ ได้เลย จากนี้ตลอดไป




 
          N - Nonlinear (คาดเดาได้ยาก): การคาดเดาจะเกิดขึ้นได้ยากมาก เราอาจไม่สามารถมองเห็นแนวโน้มในอนาคตข้างหน้าจากนี้ไปได้ไกลนัก วิสัยทัศน์และการวางแผน อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ไม่สามารถจัดทำแบบระยะยาวได้อีกต่อไป

 
          I - Incomprehensible (ความไม่เข้าใจ): ทุกสิ่งทุกอย่างจะไม่มีความชัดเจน การทำความเข้าใจให้ทะลุปรุโปร่งเพื่อที่จะควบคุมสถานการณ์ให้ได้ จะเป็นไปได้ยากมากในอนาคต




 
             และนี่คือผลกระทบที่โควิดทิ้งไว้ให้กับพวกเรา เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวอย่างรวดเร็ว

 
             อย่าลืมคำกล่าวของชาร์ลส์ ดาร์วิน ที่ว่า “ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุด แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่ปรับตัวได้มากที่สุดต่างหาก ที่อยู่รอดได้”
 

 

 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย