สัญญาณร้าย SME อาจโดนรายใหญ่ฮุบ-พ่ายต่อผู้มีอำนาจ ถ้าไม่อยากเหลือแต่ชื่อนี่คือทางออก

               


          โควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการเหนื่อยหนัก โดยเฉพาะ SME
 
               
            หากย้อนไปดูปี 2563 ซึ่งเป็นปีแรกของการแพร่ะระบาด ตัวเลขผลประกอบการของ SME มีอัตราลดลงถึง -9.1 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขนี้ยิ่งน่ากลัวยิ่งกว่าเมื่อเห็นว่าลดมากกว่า GDP ประเทศที่ลดลง -6.1 เปอร์เซ็นต์เสียอีก
 
               
           คำถามก็คือ แล้วสถานการณ์ปีนี้ล่ะ จะเป็นอย่างไร?

 
               

        สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) ได้ติดตามสถานการณ์ของ SME มาอย่างต่อเนื่อง จึงมองเห็น ความเสี่ยงที่ SME ต้องเผชิญอย่างต่อเนื่องหลังจากนี้ 3 เรื่องหลักๆ ก็คือ
 

           • โครงสร้างทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะที่มาจากการรุกคืบของเทคโนโลยี E-platform ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เช่น E–Service, E–Logistic และ E-Commerce ทำให้ธุรกิจแบบดั้งเดิมไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ต้องถูกแย่งพื้นที่ตลาด โดยเฉพาะธุรกิจการค้าปลีกค้าส่งออนไลน์ รวมถึงธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
 

          • การควบรวมธุรกิจ หรือที่เรียกกันว่า Mergers & Acquisitions: M&A ที่รวมถึงการกว้านซื้อของธุรกิจรายใหญ่ ปัจจุบันหลายธุรกิจทั่วโลกได้เดินหน้าขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านการควบรวมกิจการมากขึ้น ที่มักมีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจจากการรวมธุรกิจ และจะเป็นการสร้างทางรอดของธุรกิจอย่างหนึ่ง แต่ปัญหาที่ตามมาคือทำให้โอกาสการแข่งขันโดยเฉพาะในกลุ่ม SME และ MSME ลดลง หรือไม่สามารถแข่งขันได้เนื่องจากไม่มีอำนาจทางการค้าที่มากพอ อีกทั้งยังอาจจะตามมาซึ่งการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ จากธุรกิจรายใหญ่อีกด้วย
 

          • การใช้อำนาจเหนือตลาดจากผู้ที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยี ซึ่งหาก SMEs ไม่สามารถปรับตัวหรือรู้เท่าทันกับเรื่องดังกล่าว ก็จะเป็นผู้เสียเปรียบในการแข่งขันทางการค้าและนำมาซึ่งช่องว่างในการถูกรังแกจากผู้ที่มีความสามารถที่มากกว่าอย่างต่อเนื่อง



 

6 ทักษะพา SME เอาตัวรอด

 
               
         แต่ใช่ว่า SME จะไม่มีทางรอด ศาสตราจารย์ ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้แนะนำว่า “สถานการณ์ดังกล่าวเป็นปัจจัยที่บีบบังคับให้กลุ่มผู้ประกอบการทุกระดับต้องเร่งปรับตัวเพื่อเอาตัวรอด และเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา”
 
 
          และทักษะจำเป็นที่จะพา SME เอาตัวรอดได้ในสถานการณ์ด้านบนได้ก็คือ
 

  1. ทักษะใหม่ซึ่งจะต้องจินตนาการให้ได้ว่าธุรกิจที่ SMEs ทำอยู่จะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

 

  1. ต้องคิดว่าปัญหาที่จะเกิดขึ้นอยู่ที่ไหนในห่วงโซ่การประกอบธุรกิจของตนเอง เช่นหากอยู่ที่สินเชื่อก็ต้องคิดว่าจะเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างไร จะใช้ประโยชน์ของสินเชื่อที่ได้รับให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร

 

  1. ต้องรู้จักจัดลำดับความสำคัญในการพลิกฟื้นตัวเอง มิเช่นนั้นการขับเคลื่อนหรือพัฒนาตัวเองอาจจะเป็นไปอย่างผิดเป้าหมาย ทำให้ใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นหรือเกินความสามารถได้

 

  1. ต้องวิเคราะห์ Pain point หรือจุดอ่อนของการทำธุรกิจที่ทำอยู่ว่า สินค้าและบริการที่มอบให้แก่ผู้บริโภคคืออะไร เพื่อหาจุดเชื่อมในการแก้ปัญหา

 

  1. ศึกษาความท้าทายของเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยต้องคิดว่าจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการแข่งขันในตลาดได้อย่างไร ในโลกที่เป็นยุคของข้อมูลและไร้พรมแดน ที่มีการแข่งขันการค้าที่เข้มข้นมากขึ้นทั้งจากวิถีธุรกิจเดิมและจากการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้

 

  1. ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับแข่งขันทางการการค้า เพราะโลกธุรกิจหลังจากนี้จะมีรูปแบบการใช้อำนาจเหนือตลาดรูปแบบใหม่ ที่มีการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมจากผู้ประกอบการด้วยกันอย่างแน่นอน




 

เร่งสร้างบรรยากาศทางการค้าที่ “เป็นธรรม”

 

        มากไปกว่านั้น สขค. ไม่ได้ให้ SME ปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดแต่เพียงลำพัง แต่กำลังเร่งสร้างบรรยากาศทางการค้าให้เป็นธรรมและไม่ก่อให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบผ่านการเร่งออกแนวปฏิบัติที่จะใช้กำกับดูแลการประกอบธุรกิจแก่ผู้ประกอบการให้บรรลุเป้าหมายของการมีสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมกับทุกๆ ราย
 

         โดยแนวปฏิบัติที่สำคัญ คือ
 

     1. แนวปฏิบัติสำหรับการประกอบธุรกิจค้าปลีก โดยเข้มงวดการบังคับกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่มุ่งสร้างบรรยากาศทางการค้าให้เป็นธรรมและไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการซึ่งกันและกัน

 

      2. แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรมเกี่ยวกับระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit Term) ช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ SME และผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ ได้ใช้กำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้าสำหรับภาคการค้า การผลิต และภาคบริการไว้ไม่เกิน 45 วัน  และสำหรับภาคการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแปรรูปขั้นต้นที่มีกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน กำหนดไว้ไม่เกิน 30 วัน
 
          เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยจะมีผลบังคับบังคับใช้ ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2564 ที่จะถึงนี้
 

       3. แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ โดยตั้งเป้าที่จะสร้างมาตรฐานทางการค้าระหว่างผู้ให้สิทธิในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ หรือ แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) และผู้รับสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ หรือที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี (Franchisee) ผ่านข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีธรรมาภิบาลและมีบรรทัดฐานในการประกอบธุรกิจที่ชัดเจน
 

        4. แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหารกับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร รวมทั้งการเปิดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนโดยตรงและทางออนไลน์ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการค้า
 

          เพราะฉะนั้น แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านการแข่งขัน และความเหลื่อมล้ำระหว่างธุรกิจ SME กับรายใหญ่ ก็อย่าเพิ่งโดดเดี่ยวไป
 
 

 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย