ผู้ผลิตต้องทำใจ ผู้ใช้ต้องระวัง วัตถุดิบหลักต่างขยับราคาขึ้นพรวด




        ตั้งแต่ปี 2563 สินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการเติบโตขึ้นมากเพราะความต้องการของผู้บริโภคในช่วงโควิด-19 แต่เอาเข้าจริงบริษัทเหล่านี้กลับไม่สามารถสร้างรายได้หรือทำกำไรได้มากเท่าที่คิดเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเหล่านี้

  • พลาสติก                  +200%
  • ถั่วเหลือง                 +60%
  • ข้าวสาลี (Wheat)     +10%
  • ข้าวโพด                   +67%
  • ไม้สำหรับแปรรูป      +200-300%

 



         ซึ่งราคาที่พุ่งสูงนั้นมาจาก 3 ปัจจัย นั่นก็คือ
 

         1. อัตราเงินเฟ้อ ราคาสินค้าจำนวนมากพุ่งขึ้นและคาดว่าจะยังคงสูงต่อเนื่องเพราะการหยุดชะงักของซัพพลายเชนทั่วโลกในช่วงการระบาด และเมื่อสถานการณ์คลี่คลายความต้องการของผู้บริโภคก็ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกินขีดความสามารถในการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น บางสินค้าเพิ่มมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
 


 

         2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นความภักดีต่อแบรนด์ลดลง ต้องอยู่บ้านมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภค 25-40 เปอร์เซ็นต์ได้ลองใช้แบรนด์ใหม่ๆ ตั้งแต่โควิดเริ่มระบาด ซึ่งเห็นได้ว่าโปรโมชั่นมีความสำคัญในการดึงดูดให้ลูกค้าเปลี่ยนแบรนด์
 
 
         ขณะเดียวกันผู้ผลิตก็ต้องเปิดช่องทางออนไลน์ เพราะผู้บริโภคหันไปซื้อของทางนั้นมากขึ้น จะเห็นได้ว่าการค้าปลีกออนไลน์เติบโตมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ในบางหมวดหมู่
 

 

       3. ราคาตลาด จากข้อมูลของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่าราคาอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์นับจากมกราคมปี 2555 ถึงมกราคม 2563 ซึ่งน้อยกว่าราคาสินค้าประเภทอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 17 เปอร์เซ็นต์
 
 
         จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของตลาดและผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต้องทบทวนกลยุทธ์กันใหม่ ทั้งการกำหนดราคา ลดต้นทุน ไปจนถึงตามให้ทันพฤติกรรมผู้บริโภค เพราะราคาก็เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ หากชะล่าใจไปแล้วล่ะก็ ผลิตสินค้าวางขายไปลูกค้าอาจจะส่ายหน้าเพราะแพงเกินไป
 

         ที่มา : www.mckinsey.com
 
 
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย