จากปัญหาการระบาดของเชื้อโควิด-19 ปัญหาภาวะโลกร้อน อัตราส่วนประชากรโลกที่เป็นผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อระบบการผลิตอาหาร ดังนั้น การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารทั้งด้านการบริการ การผลิต จึงเป็นเรื่องที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ให้ความสนใจและสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า ไทยในฐานะผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหารของโลกยังมีโอกาสที่จะเพิ่มมูลค่าและผลักดันอุตสาหกรรมนี้ให้เติบโตขึ้นได้ โดยเฉพาะในช่วงใกล้เปิดประเทศที่คาดว่าความต้องการอาหารจะยังคงเพิ่มสูงขึ้น
NIA จึงได้วิเคราะห์โอกาสการเติบโตของการพัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึกในธุรกิจอาหารใน 9 รูปแบบ ได้แก่
การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ (Health & Wellness) ที่ตอบโจทย์กระแสความต้องการอาหารปลอดภัยของผู้บริโภคทั่วโลก
การผลิตโปรตีนทางเลือก (Alternative Proteins) มาทดแทนเนื้อสัตว์ เช่น โปรตีนจากพืช แมลง หรือสาหร่าย
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต (Packaging Solutions) ที่เป็นมากกว่าการป้องกันอาหาร หรือความสวยงาม แต่บรรจุภัณฑ์นั้นจะต้องมีฟังก์ชันที่หลากหลาย เช่น ยืดอายุอาหารให้เก็บได้นานขึ้น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การคิดค้นส่วนผสมและสูตรอาหารใหม่ (Novel Food & Ingredients) ด้วยกระบวนการผลิตด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้ได้รสชาติที่แปลกใหม่ ตลอดจนการดึงคุณค่าจากส่วนผสมของอาหารเพื่อคุณประโยชน์ในการบริโภคที่มากขึ้น
การพัฒนาวัสดุชีวภาพและสารเคมี (Biomaterials & Chemicals) ที่ไม่เป็นอันตรายในกระบวนการผลิตอาหารของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านอาหาร (Restaurant Tech) เพื่อสร้างระบบบริการที่ดีมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างประสบการณ์ในการบริโภคอาหารให้ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม การจัดการอาหารเหลือทิ้ง
บริการอัจฉริยะด้านอาหาร (Smart Food Services) ที่ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตใหม่ๆ รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาจัดการตั้งแต่กระบวนการสรรหาวัตถุดิบ การขนส่ง และการปรุง
การตรวจสอบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety & Quality) เพื่อบริหารจัดการให้อาหารและสินค้าเกษตรที่นำมาเป็นอาหารบริโภคสำหรับมนุษย์มีความปลอดภัย มีคุณภาพผ่านกระบวนการควบคุมด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
กระบวนการผลิตอาหารอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม นำไปสู่ระบบการตรวจสอบ ประมวลผล ติดตามในกระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมอาหาร
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
RECCOMMEND: ENTREPRENEUR
เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ
ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว
เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย