ถอดบทเรียน TOKYO OLYMPIC 2020 ที่จะพา SME ไปถึงจุดหมายคว้าชัยได้แบบนักกีฬา

               
 
        นักกีฬาโอลิมปิกต่างมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงชัยชนะ พวกเขาพยายามฝึกซ้อมและเอาชนะความยากลำบากทุกรูปแบบ รวมถึงการบาดเจ็บทางร่างกาย ความกดดัน รวมไปถึงต้องรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ที่อาจทำลายความฝันของพวกเขาได้ทันทีหากตัวเอง คนใกล้ชิดหรือเกี่ยวข้องติดเชื้อขึ้นมา
               

         หากลองพิจารณาแล้ว มีความคล้ายคลึงกันหลายอย่างระหว่างนักกีฬาระดับโลกกับผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ พวกเขาได้รับแรงผลักดันที่จะไล่ตามเป้าหมายและทำงานอย่างหนักเพื่อให้บรรลุถึงเป้านั้น  อันที่จริงนักกีฬาโอลิมปิกก็มีคุณสมบัติเดียวกันกับผู้ประกอบการที่สามารถพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้นั่นเอง


       ซึ่งคุณสมบัติที่ว่านั่นก็คือ



 

ความเพียร
               

       นักกีฬาโอลิมปิก ไม่ว่าพวกเขาจะสามารถไปยืนอยู่บนแท่นรับรางวัลได้หรือไม่ มักจะมีโอกาสได้ลองอีกครั้งในอีก 4 ปีถัดไป แต่โควิดได้ทำให้วงจรนี้ชะงัก ในปีที่แล้ว ก่อนที่การแข่งขันโตเกียว โอลิมปิก 2020 จะเริ่มต้นขึ้น Simone Biles นักกีฬายิมนาสติกจากสหรัฐอเมริกาเกิดความสงสัยว่าเธอจะสามารถฝึกซ้อมอย่างเข้มงวดต่อไปได้อีกหนึ่งปีหรือไม่ เมื่อก่อนแข่งขันกาโอลิมปิกถูกเลื่อนมาเป็นปี 2021 สำหรับนักกีฬารุ่นเก๋า นั่นหมายถึงร่างกายของพวกเขาแก่ขึ้นอีกที ในขณะที่สำหรับผู้เข้าแข่งขันดาวรุ่งเท่ากับว่ามีเวลาอีกปีที่จะเติบโตได้เต็มที่ อย่างไรก็ตามพวกเขาต้องใช้เวลาถึง 5 ปีในการฝึกซ้อมเพื่อเข้าสู่สังเวียนโอลิมปิก
               

         เจ้าของธุรกิจเองก็ต้องพากเพียรผ่านช่วงเวลาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเช่นกัน ในปี 2020 หลายคนเริ่มต้นปีโดยคาดหวังว่าจะเป็นปีที่ดี ที่ธุรกิจจะเติบโต แต่โควิดก็ทำให้สถานการณ์เปลี่ยน ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจขนาดเล็กได้รับผลกระทบอย่างหนัก บางรายต้องปิดตัวลง ซึ่งตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลไม่มีมาตรการเยียวยา และยังคงประกาศล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เจ้าของธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อได้ต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาดเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ บางครั้งต้องพยายามหาแหล่งเงินกู้อื่นๆ และเพื่อจะเป็นผู้กู้ที่มีศักยภาพก็ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้สถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น รวมถึงต้องหาแหล่งรายได้ใหม่ และลดต้นทุนเพื่อให้มีกำไรมากขึ้นด้วย

 

ความมุ่งมั่น
               

         Michael Phelps นักกีฬาว่ายน้ำชาวสหรัฐ ได้รับการฝึกฝนมากถึง 7 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์มาเป็นเวลาหลายทศวรรษ นักว่ายน้ำในปัจจุบันว่ายได้มากถึง 10,000 เมตรต่อวัน ไมเคิลก็เป็นหนึ่งในนั้น เขาออกจากบ้าน ห่างจากครอบครัวเพื่อไปฝึกเต็มเวลาที่ศูนย์ฝึกอบรมโอลิมปิกแห่งสหรัฐอเมริกา ในรัฐโคโลราโด ทุกด้านของชีวิตเขาอุทิศตนเพื่อการแสวงหาแรงบันดาลใจในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และเสียสละเวลาของครอบครัวและความรักเพราะมุ่งมั่นในการเล่นกีฬา
               

         ในทำนองเดียวกัน ผู้ประกอบการต้องลงทุนเวลาของตัวเองและใช้เงินจำนวนมากเพื่อขยายธุรกิจ ความเป็นเจ้าของธุรกิจไม่เหมือนกับพนักงานกินเงินเดือนที่ทำงาน 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ผู้ประกอบการมักทำงาน 10 ชั่วโมงต่อวันหรือมากกว่านั้น และโดยปกติแล้วจะไม่มีวันหยุด หลายครั้งที่การแสวงหาความสำเร็จอาจเป็นภาระแก่ครอบครัวและการเงิน



 

การลงทุน
               

         ขณะที่ซูเปอร์สตาร์ NBA หรือนักกีฬาโอลิมปิกอาจมีฐานะร่ำรวยเพราะมีค่าตัวมหาศาล แต่นักกีฬาบางชนิด เช่น ฟันดาบหรือขว้างจักรกลับได้รับการสนับสนุนเพียงเล็กน้อย ทั้งที่อาชีพการงานของพวกเขาในโลกความจริงต้องชะงักเมื่อพวกเขาเลือกที่จะไล่ตามความฝันที่เรียกว่าโอลิมปิก ตัวอย่างหนึ่งก็คือ Sam Mattis นักขว้างจักรที่สำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ต้องปฏิเสธข้อเสนองานที่ JPMorgan Chase เพื่อไล่ตามเป้าหมายโอลิมปิก เขาใช้ชีวิตด้วยเงิน 25,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปีระหว่างที่ฝึกซ้อมเพื่อเตรียมตัวไปแข่งที่โตเกียว
               

          ผู้ประกอบการหลายคนก็ละทิ้งความมั่นคงในการทำงานประจำในองค์กรขนาดใหญ่เมื่อตัดสินใจที่จะไล่ตามความฝันในการทำธุรกิจของตัวเอง เจ้าของธุรกิจนำเงินของตัวเองไปลงทุนในบริษัทและจ่ายเงินเดือนตัวเองเพียงน้อยนิด แล้วก็นำเงินที่หาได้กลับมาลงทุนในบริษัทอีก อาจจะต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่ธุรกิจจะถึงจุดคุ้มทุน และใช้เวลานานกว่านั้นในการเริ่มทำกำไร เช่นเดียวกับนักกีฬา เจ้าของธุรกิจจำนวนไม่น้อยล้มเหลว ไม่เคยไปถึงความฝัน ในขณะที่คนอื่นๆ ร่ำรวยและมีชื่อเสียง




 
ความเร็วและความยืดหยุ่น
               

        เมื่อดูนักกีฬายิมนาสติก นักกระโดดน้ำ และนักวิ่งข้ามรั้ว จะเห็นได้ว่าพวกเขาพึ่งพาความเร็วและความยืดหยุ่นมากแค่ไหน นักยิมนาสติกไม่สามารถพลิกตัวหรือตีลังกาอันน่าทึ่งได้โดยไม่ต้องใช้ความเร็ว นักกระโดดน้ำต้องการความยืดหยุ่นในการบิดตัวกลางอากาศ
               

       ในช่วงโควิด เจ้าของธุรกิจที่ปรับตัวอย่างรวดเร็วจะพบวิธีที่จะเติบโตได้ ร้านอาหารที่ปกติทำเงินจากการให้นั่งกินในร้าน พยายามทำการตลาดโดยวิธีการซื้อกลับบ้านหรือเดลิเวอรี เป็นต้น อีกหนึ่งตัวอย่างก็คือ Terraboost บริษัทโฆษณานอกบ้านที่สร้างเครือข่าย “Wellness Kiosks” จำหน่ายผ้าอนามัยในร้านขายยาและซูเปอร์มาร์เก็ต นี่เองที่ทำให้เขาเห็นความต้องการใช้ผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเวลาที่แบรนด์ผู้ผลิตเดิมอย่าง Clorox ไม่สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้ทัน Terraboost ก็เข้ามาคว้าโอกาสในตลาดนี้ไป



 

ความเป็นผู้นำ
               

         ทีมที่ยอดเยี่ยมมักมีผู้นำที่เยี่ยมยอด ผู้คว้าชัยเหรียญทองจะขอบคุณโค้ชและพี่เลี้ยงที่ช่วยเหลือพวกเขาตลอดเส้นทาง แสดงให้เห็นว่าในความเป็นจริงแล้วต้องใช้ทีมที่แข็งแกร่งเพื่อสร้างผู้ชนะขึ้นมาสักคน บริษัทที่ประสบความสำเร็จมักจะนำโดยผู้บริหารที่เป็นตัวอย่างที่ดีและสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานได้เช่นกัน
 

มองโลกในแง่ดี
               

        ที่โตเกียวเกมส์ ผลกีฬาบางประเภทออกมาพลิกโผ ตัวเต็ง แชมป์เก่า หรือเจ้าของสถิติเดิมถูกโค่นลง อย่าง Ariarne Titmus นักว่ายน้ำชาวออสเตรเลียเข้าสู่การแข่งขันด้วยความมั่นใจอย่างยิ่งว่าเธอจะเอาชนะ American Katie Ledecky ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดตลอดกาลได้ แล้วเธอก็กลายเป็นราชินีเจ้าสระคนใหม่ได้สำเร็จ ในทำนองเดียวกัน ผู้ประกอบการก็ต้องมองโลกในแง่ดี หากไม่เป็นเช่นนั้น ไม่มีใครเริ่มต้นธุรกิจโดยคิดว่าจะล้มเหลว
 

         แชมป์โอลิมปิกและเจ้าของธุรกิจต่างอุทิศชีวิตเพื่อสานฝันให้เป็นจริง ความตั้งใจที่จะประสบความสำเร็จ รวมกับโอกาสที่ดีช่วยให้พวกเขาเอาค่อยๆ ออกจากจุดเริ่มต้น ไล่ตามความฝัน และบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด
 

         ที่มา : Forbes.com
 


 
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย