ไม่ต้องง้อห้าง ไม่รอคลายล็อก YHANGRY ส่งเชฟจัดเลี้ยงถึงบ้าน เสิร์ฟอาหารให้ลูกค้า 7,000 คนภายใน 2 ปี

TEXT : กองบรรณาธิการ
PHOTO : Yhangry



        การมีพ่อครัวมาทำอาหารถึงที่บ้านเคยเป็นประสบการณ์เฉพาะสำหรับคนรวย แต่ Yhangry กำลังทำให้ประสบการณ์นี้ขยายสู่ตลาดที่กว้างมากขึ้น ไม่ว่าใครก็จ้างเชฟส่วนตัวไปสร้างสรรค์มื้ออาหารที่บ้านได้ทั้งนั้น
การล็อกดาวน์ในปีที่ผ่านมาทำให้ผู้บริโภคหันมาทำทุกอย่างที่บ้าน ตั้งแต่ทำงาน ออกกำลังกาย และกินข้าวที่บ้านกันทุกมื้อ ในระหว่างที่ร้านอาหารถูกจำกัดการให้บริการ ไม่สามารถนั่งกินที่ร้านได้ ไม่ต้องเอ่ยถึงการจัดปาร์ตี้ระหว่างเพื่อนฝูงเลยด้วยซ้ำ แต่สถานการณ์นี้กลายเป็นโอกาสสำหรับโมเดลธุรกิจของ YHANGRY
               

        สองสาว Heinin Zhang และ Siddhi Mittal เริ่มต้น YHANGRY ในลอนดอนตั้งแต่ก่อนเกิดโรคระบาด ธุรกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งต้องหยุดให้บริการในช่วงโควิด ไปช่วงหนึ่ง         


         ระหว่างที่ลอนดอนล็อกดาวน์ พวกเธอได้รับโทรศัพท์ อีเมล์ และข้อความจากเชฟจำนวนมากที่กำลังมองหางานอย่างสิ้นหวัง กลุ่มแรกเป็นเชฟที่ทำงานในธุรกิจจัดเลี้ยงองค์กรและงานแต่งงาน กลุ่มที่ 2 คือ เชฟที่ถูกร้านอาหารเลิกจ้าง จึงถึงเวลาต้องคิดหาทางสร้างรายได้เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด และสามารถสร้างรายได้ให้กับเหล่าเชฟด้วย





จ้างเชฟง่ายไม่ต่างจากสั่งอาหารเดลิเวอรี

 

            โดยปกติแล้วการจัดเลี้ยงอาหารค่ำแบบส่วนตัวจะมีความยุ่งยากมากมาย แต่ความตั้งใจของ Yhangry คือทำให้มันเป็นเรื่องง่ายเหมือนกับสั่งอาหารจากแพลตฟอร์มเดลิเวอรีอย่าง Uber Eats หรือ Deliveroo และราคาไม่แพง ลูกค้าสามารถใช้บริการง่ายๆ เพียงเข้าไปบนเว็บไซต์ เลือกเซ็ตเมนู วัน เวลา แล้วชำระเงิน ขั้นตอนการจองพ่อครัวส่วนตัวทั้งหมดใช้เวลาเท่ากับการสั่งอาหารไปกินที่บ้าน
               

         หลังจากนั้น Yhangry จะจัดการส่วนที่เหลือ ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบและเลือกพ่อครัวที่เหมาะสม เมื่อพ่อครัวไปถึงบ้านลูกค้าก็จะใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในครัวของแต่ละบ้าน เริ่มต้นที่ที่ราคา 17 ปอนด์ต่อหัว หรือประมาณ 770 บาท ไปจนถึง 200 ปอนด์ต่อหัวหากต้องการบริการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น บริการเสิร์ฟถึงโต๊ะ การตกแต่งสถานที่ และจัดเตรียมไวน์ ซึ่งนับตั้งแต่เปิดตัวธุรกิจในเดือนธันวาคม 2562 Yhangry ได้ให้บริการชาวลอนดอนไปแล้วมากกว่า 7,000 คน และในตอนนี้บริษัทมีเชฟที่พร้อมให้บริการอยู่ถึง 130 คน และมีมาตรการสำหรับให้บริการในช่วงโควิดเป็นอย่างดี





ลูกค้าคือคนทั่วไป ไม่ใช่ Elite

               

          Zhang และ Mittal กล่าวว่าบริการประเภทนี้มีไว้สำหรับตลาดเฉพาะกลุ่มเท่านั้น และสำหรับหลายคนอาจรู้สึกเหมือนเป็นประสบการณ์แปลกๆ ที่มีใครบางคนมาที่บ้านของคุณเพื่อทำอาหารให้ แต่เธอชี้ให้เห็นว่ามันเหมือนกับเมื่อ Airbnb เปิดตัวแนวคิดเรื่องการเข้าไปพักในบ้านคนอื่น ในช่วงแรกผู้คนก็รู้สึกว่ามันแปลกมากเช่นกัน
               

        Zhang บอกว่า “เรามีกลุ่มเป้าหมายหลัก 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือคนอายุ 25-35 ปี คนเหล่านี้ต้องการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงหรือเพื่อนบ้าน และรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน อีกกลุ่มคือคนอายุ 35-50 ปีที่ชอบเข้าสังคมแต่อาจจะมีครอบครัว พวกเขาไม่อยากพะวงกับการหาพี่เลี้ยงเด็กระหว่างทำอาหาร”



               

        พวกเธอมองว่าความสะดวกสบายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับรูปแบบธุรกิจนี้ พวกเขาต้องการดึงดูดลูกค้าที่ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้บริการเชฟส่วนตัวมาก่อน
               

        “คู่แข่งโดยตรงของเรา คือ ร้านอาหาร แพลตฟอร์ม Deliveroo และ UberEats” Mittal บอกแบบนั้น “ธุรกิจเหล่านั้นให้ความสะดวกสบายกับผู้บริโภคและนั่นคือสิ่งที่เรากำลังเลียนแบบ ตั้งแต่เปิดให้บริการเราเห็นความต้องการของผู้บริโภคที่อยากใช้เวลากับเพื่อนๆ ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เมื่อร้านอาหารและสถานที่ต่างๆ กลับมาเปิดอีกครั้ง เราเชื่อว่า Yhangry จะตอบสนองเทรนด์การกินอาหารที่บ้าน ยังมีคนที่ยังไม่พร้อมที่จะออกไปผับหรือแม้แต่ไปร้านอาหารที่มีคนพลุกพล่าน”
               
 
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย