ควบกิจการทางรอดหรือทางร่วง สำหรับ SME ในช่วงวิกฤตขาดเงินเลี้ยงธุรกิจ

     
         

          การระบาดของโควิด-19 ได้สร้างความเสียหายให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SME ที่บางรายมีสายป่านสั้นจนไม่สามารถยื้อธุรกิจได้นานจนต้องปิดกิจการไป เพราะนอกจากจะเผชิญปัญหาการขาดแคลนเงินทุนแล้ว การเข้าถึงแหล่งเงินทุนยังเป็นเรื่องยากเพราะไม่มีหลักทรัพย์ ไม่มีการทำบัญชีอย่างเป็นระบบ หรือแม้แต่มีสินเชื่ออยู่แล้วทำให้ไม่สามารถยื่นกู้เพิ่มได้อีก
               

         แล้วถ้าอยากจะอยู่รอดจนพ้นวิกฤต จะมีทางออกใดอีก?


         จนถึงตอนนี้เราได้เห็นกระแสที่นักลงทุนเสนอตัวช่วย ด้วยการขอซื้อกิจการขนาดเล็ก เป็นผู้ร่วมลงทุน หรือควบรวมกิจการ


          ท่ามกลางวิกฤตเป็นโอกาสสำหรับกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินสูง สามารถนำสภาพคล่องที่มีมาควบรวมเข้ากับกิจการขนาดเล็ก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่อยู่ในห่วงโซ่ธุรกิจของตนเอง ขณะที่ SME เองก็มองหาพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งเพื่อเสริมการเติบโตผ่านรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ


          นี่อาจจะเป็นอีกความหวังของ SME ที่อาจไม่ใช่แค่การอยู่รอดแต่ยังเป็นโอกาสเติบโตในอนาคตในวันที่วิกฤตผ่านพ้นด้วย




 
ข้อดีของการควบรวมกิจการ
 

          1.เพิ่มความสามารถของธุรกิจ
 

         บริษัทอาจต้องการรวมกันเพื่อใช้ประโยชน์จากการดำเนินธุรกิจแต่ละส่วนงานที่มีค่าใช้จ่ายสูง เมื่อควบรวมแล้วจะสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของอีกฝ่าย รวมไปถึงเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดและขยายฐานลูกค้าได้อีกด้วย
 

         2.กระจายเครือข่ายทางการตลาด
 

         การรวมกันอาจเพื่อให้ได้มาซึ่งการกระจายหรือเครือข่ายการตลาดไปสู่ตลาดซึ่งเป็นฐานของอีกฝ่าย แทนที่จะเริ่มต้นจาก 0 ในตลาดนั้นๆ วิธีนี้จะทำให้มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่มากขึ้นในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน



 

        3. กระจายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่หลากหลาย
               
               
         วิธีนี้จะเป็นการเติมเต็มกันและกัน ทั้ง 2 บริษัทสามารถรวมผลิตภัณฑ์หรือบริการของตัวเองที่แตกต่างเข้าด้วยกัน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่มีความหลากหลายได้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงเพิ่มความสามารถแข่งขันกับเจ้าอื่นในตลาดได้ด้วย
 

         4. ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
               
               
        ข้อดีนี้อาจจะเป็นเป้าประสงค์แรกของการควบรวมกิจการในยุควิกฤต เมื่อ 2 บริษัทมีผลิตภัณฑ์หรือบริการคล้ายคลึงกัน เมื่อรวมกันก็จะสามารถลดต้นทุนในหลายๆ ส่วนได้ด้วยการบูรณาการระหว่างกัน ตั้งแต่การผลิต การขนส่ง และการจัดจำหน่าย ที่สำคัญยังทำให้การปรับลดขนาดองค์กรไม่เป็นปัญหามากนัก เพราะได้พึ่งพาทรัพยากร เช่น จำนวนสาขา พนักงานของอีกบริษัทนั่นเอง
 

       5. เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ
               

        บางครั้งการควบรวมกิจการก็เป็นทางเลือกเดียวที่จะทำให้บริษัทสามารถอยู่รอดได้ เพื่อลดงบดุลที่อาจทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ หรือเมื่อเงินที่มีในมือผู้ประกอบการไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานต่อไปได้ ก็ต้องพึ่งพาเงินทุนจากอีกบริษัทนั่นเอง      





 
ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นได้
 
               
         อย่างไรก็ตาม ก่อนจะตัดสินใจควบรวมธุรกิจ หรือขายหุ้นบางส่วนให้กับผู้อื่น อาจต้องพิจารณาข้อเสีย เช่น
 
 
  1. ไปควบรวมแบบผสมกับธุรกิจไม่มีความเกี่ยวเนื่องกัน อาจจะก่อให้เกิดความไม่ถนัด ไม่มีประสบการณ์ ทำให้ต้นทุนการผลิต การขาย การบริการ สูงกว่าคู่แข่งขันจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปในอนาคตได้
 
  1. อาจทำให้อีกบริษัทมีปัญหาทางการเงินตามมา แม้ว่าเดิมจะมีความแข็งแกร่งทางการเงินอยู่แล้วอาจจะมีปัญหาได้ เพราะต้องแบ่งเงินทุนมาอุ้มบริษัทที่กำลังแย่
 
  1. อาจต้องลดจำนวนพนักงาน เพราะการดำเนินงานบางอย่างอาจทับซ้อนกัน
 

       ลองพิจารณาข้อดี-ข้อเสียเหล่านี้ ก่อนตัดสินใจว่ามันเป็นตัวช่วยธุรกิจของคุณจริงหรือไม่


       

 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย