จับควันพิษมาทำหมึกย้อมผ้า Air Ink นวัตกรรมแฟชั่นสุดล้ำ! ที่ดีต่อโลก โดดเด่นต่อแบรนด์

TEXT : กองบรรณาธิการ
PHOTO : Ari Ink, Pangaia





        ควันพิษในอากาศทั้งจากการเผาไหม้ท่อไอเสียรถยนต์ การผลิตไฟฟ้า และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ล้วนส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพร่างกายของผู้คนมากมาย
               

         แต่จะเป็นยังไงถ้าอยู่ดีๆ วันหนึ่งจากควันพิษที่แทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย จะสามารถนำมาผลิตเป็นหมึกพิมพ์ผ้าได้ เพื่อช่วยแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ และยังช่วยสร้างความโดดเด่นและน่าสนใจให้กับสินค้าขึ้นมาได้แบบที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนด้วย
               

         เรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นมาจากแนวคิดของแบรนด์เสื้อผ้าสตรีทแฟชั่นที่มีชื่อว่า Pangaia” ซึ่งมีความพยายามที่จะคิดหาวิธีแสดงความจริงใจและช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน เพราะอย่างที่รู้ๆ กันดีอยู่แล้วว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นเองนั้นก็มีส่วนร่วมในการสร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อมมากเช่นกัน ตั้งแต่การบริโภคที่ฟุ่มเฟือย ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรการผลิต การใช้น้ำปริมาณมากเพื่อชะล้างสีย้อมผ้าจากเคมี พลังงานไฟฟ้า และอื่นๆ อีกมากมาย



               

       โดยแบรนด์ไม่ได้เป็นผู้ผลิตขึ้นมาเอง แต่เป็นการจับมือร่วมกับ “Graviky Labs” ห้องแล็บที่มีการวิจัยดักจับคาร์บอนหรือควันพิษในอากาศผลิตเป็นหมึกพิมพ์ลงบนวัสดุต่างๆ โดยมีชื่อว่า “Air Ink” ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทดลองผลิตเป็นหมึกพิมพ์สำหรับใช้เขียนกับปากกาออกมาแล้ว ล่าสุดจึงได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นจนได้เป็นสีสำหรับใช้ย้อมผ้าหรือสกรีนลงบนเนื้อผ้าขึ้นมา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการนำหมึกคาร์บอนนี้มาใช้บนเสื้อผ้าและวงการแฟชั่น
               

        วิธีการเปลี่ยนควันพิษให้กลายมาเป็นหมึกได้ คือ ขั้นตอนแรกจะมีการดักจับอนุภาคเล็กจากควันพิษในชั้นบรรยากาศด้วยอุปกรณ์ที่มีชื่อเรียกว่า “Kaalink” ซึ่งมีรูปทรงคล้ายกระบอกลมติดตั้งเข้ากับท่อไอเสียรถยนต์ เครื่องปั่นไฟฟ้าพลังดีเซล หรือปล่องควันโรงงาน เพื่อดักอนุภาคคาร์บอนก่อนถูกปล่อยสู่บรรยากาศ


       จากนั้นจะถูกนำเข้าสู่ห้องแล็บเพื่อแยกโลหะหนัก ฝุ่น และสารก่อมะเร็งออก ให้คงเหลือแต่เพียงผงคาร์บอนเพื่อนำมาผสมกับตัวทำละลาย และผลิตเป็นหมึกออกมาในที่สุด มีการอ้างอิงว่าการใช้หมึก Air-Ink เพียงหนึ่งออนซ์เท่ากับลดมลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ที่ปล่อยออกมานานถึง 45 นาทีเลยทีเดียว



               

        หลังจากได้มีการทดสอบนำมาพิมพ์ลงบนเนื้อผ้าได้เป็นผลที่น่าพอใจแล้ว แบรนด์ Pangaia ก็นำมาพิมพ์เป็นลวดลายต่างๆ เช่น ดอกไม้ ตัวอักษรลงบนชุดเสื้อผ้าแฟชั่น และหมวกของแบรนด์ ภายใต้สโลแกนที่น่าสนใจว่า “อย่าหายใจเอามลพิษเข้าไป แต่จงนำมันมาสวมใส่แทน” จึงทำให้เกิดเสียงฮือฮาในวงการแฟชั่น เพราะยังไม่เคยมีผู้ผลิตรายใดนำหมึกชนิดดังกล่าวนี้มาใช้สินค้ามาก่อน
               

       โดยแม้ปัจจุบันนี้ต้นทุนของหมึก Ari Ink อาจแพงกว่าหมึกสีดำทั่วไปถึงสองเท่า แต่ดัวยลักษณะโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร แถมเฉดสีที่ได้ก็เป็นสีดำที่สวยงามแตกต่างจากที่มีในท้องตลาด แม้แต่บริษัทผลิตสีหลายแห่งก็ยังผลิตขึ้นมาได้ยาก เพราะนี่คือ สีจากคาร์บอนจริงๆ
               

       สินค้าคอลเลคชั่นนี้ของ Pangaia จึงเป็นเหมือนการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว คือ นอกจากจะได้ช่วยลดมลภาวะในอากาศให้ลดน้อยลงได้แล้ว ยังเป็นการทำงานแบบนอกกรอบที่พยายามแสวงหานวัตกรรมใหม่ๆ น่าสนใจมาใช้กับการทำธุรกิจ งานนี้จึงเรียกว่าได้ทั้งความเท่ไม่ซ้ำใคร แถมได้ใจลูกค้าในการเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมไปแบบเต็มๆ ด้วย



 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย