อดทน-เข้าใจ-อยู่กับความจริง วัคซีนธุรกิจรับมือวิกฤตระลอกใหม่ โดย วัฒนพงษ์ ตั้งร่ำรวย




     การทำธุรกิจทุกวันนี้กว่าจะผ่านแต่ละเดือนไปได้ หนักหนาสาหัสไม่ใช่เล่นๆ ถ้าเป็นเรือก็คงเหมือนต้องฝ่าคลื่นลมแรงในวันที่มีพายุซัดกระหน่ำ ซ้ายทีขวาที พร้อมที่จะทำให้เรืออับปางลงได้ทุกเมื่อ ถ้าอยู่บนเวทีมวยก็เหมือนกับโดนต้อนเข้ามุม กำลังจะหายเมาหมัดทว่าโควิดระลอกที่ 3 ก็กระหน่ำซ้ำเติม จนหลังพิงเชือก ไม่ได้โต้ตอบคู่ต่อสู้แต่พร้อมที่จะน็อกล้มคว่ำให้กรรมการนับ 1 ถึง 10 ได้ทุกเมื่อ ถ้าไม่ลุกก็แพ้


     ขณะที่สถานการณ์โลก ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป เราอยู่ในยุคโรคระบาด 1 ปีเต็ม เข้าปีที่ 2 สำหรับคนทำธุรกิจการปรับตัวถูกนำมาใช้ทุกวิถีทาง การดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปทุกอย่าง แมสกับแอลกอฮอล์ กลายเป็นสิ่งจำเป็นและถือเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตไปแล้วก็ว่าได้
               

     หลังการระบาดรอบที่ 3 จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ตัวเลขผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจนน่ากลัว ดูข่าวทุกวันว่าวันนี้จะติดเพิ่มอีกเท่าไหร่ ที่ไหน จังหวัดอะไร พื้นที่ไหนสุ่มเสี่ยงไม่ควรไป มีคนเสียชีวิตเท่าไหร่ ยิ่งอ่านยิ่งเสพก็ยิ่งเครียด



               

     มาตรการที่ภาครัฐออกมาหลังเดือนเมษายน หนึ่งในนั้นที่ร้านค้าได้รับผลกระทบโดยตรง คือการห้ามรับประทานอาหารในร้าน ลดความแออัด เว้นช่องว่าง ให้คนซื้อแบบห่อกลับไปรับประทานที่บ้าน บ้านใครบ้านมัน ซึ่งที่ผ่านมา ร้านหมูทำอะไรก็อร่อยของเราก็ปฏิบัติตามทุกทาง จากประสบการณ์ปีที่แล้วเราผ่านมาได้ ปีนี้เราก็ต้องผ่านมันไปให้ได้เช่นกัน การปรับตัวถูกนำมาใช้อีกครั้ง ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากวัสดุห่อ กล่อง จาน ชาม ชานอ้อยดีหน่อยเพื่ออนามัยของลูกค้า ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่พ่อค้าแม่ค้าอย่างเราต้องคำนึงถึง


     แอปพลิเคชันส่งอาหาร หลายๆ ค่าย ยังจำเป็นมากสำหรับยุคสมัยนี้ จัดส่งเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าไม่มีช่องทางเหล่านี้ ร้านอาหารก็คงแย่กว่านี้ เชื่อหรือไม่ว่าสมัยป๊าของผม ป๊าคิดมาก่อนที่จะมีแอปพวกนี้ด้วยซ้ำ ป๊าบอกว่าสมัยก่อนป๊าส่งเอง ขี่มอเตอร์ไซค์ส่งบริเวณใกล้บ้าน สมัยป๊าไม่มีเครื่องมืออะไรท่านยังทำได้ สมัยเราทำไมมันจะผ่านไปไม่ได้...จริงไหมด



               

     สำหรับการขายห่อกลับบ้าน ก็มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย ข้อดีคือการช่วยกันป้องกันและลดการสัมผัสลง ไม่สร้างปัญหาเพิ่ม ขายกลับบ้านร้านเราเองก็ไม่ต้องล้างจาน-ชาม แต่ข้อเสียแน่นอนคือการเข้าถึงลูกค้าน้อยลง การสื่อสารโต้ตอบกันน้อยลง เครื่องดื่มและอาหารเสริมซึ่งเป็นรายได้เพิ่มในร้านก็ขายไม่ได้ เพราะไม่มีคนมานั่งกินที่ร้าน


     และการห่อกลับบ้านไม่ใช่ทุกร้านที่จะทำได้ บางร้านเป็นบุฟเฟ่ต์นั่งกินในร้านไม่ได้ ก็ต้องปรับตัวมาขายเดลิเวอรี จัดส่ง จัดโปร ขายได้บ้างหรืออาจขายไม่ได้เลย เช่น ร้านข้าวต้มโต้รุ่ง หรือร้านริมทางทั่วไป เพราะส่วนใหญ่จะขายช่วงค่ำ ถึงดึก กว่าลูกค้าจะเข้าร้านก็สองทุ่มไปแล้ว แต่เปิดได้ถึงสามทุ่มก็ต้องปิดตามมาตรการ ยอดการขายเลยตกแทบทุกร้าน จนต้องปรับตัวมาขายเร็วขึ้น แต่ก็ไม่ค่อยมีลูกค้าอีก ทุกคนต่างก็ได้รับผลกระทบกันทั้งนั้น มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจเป็นอย่างมาก แต่ก็เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเข้าใจว่า เราอยู่ในสถานการณ์ไม่ปกติ และถ้าพวกเราไม่ควบคุมเลย ก็อาจจะส่งผลเสียมากกว่านี้อีกก็เป็นได้





     อยากให้ทุกคนอดทนและเข้าใจ ภาครัฐก็ต้องมีแผนการเยียวยาหรือแผนงานช่วยเหลือโดยเร็วออกมาว่าหลังจากนี้จะมีอะไรเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการอย่างเราได้เตรียมความพร้อมรับมือได้ทัน 


     ทุกวันนี้ยังมีหลายเรื่องที่ทำให้คนทำธุรกิจเครียดได้ตลอดเวลา แม้แต่ข้อมูลที่ได้รับจากสื่อ รวมถึงการแชร์ข้อมูลที่จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง วันนี้ชีวิตหนักพอแล้ว ลองเอาตัวออกจากโลกโซเซียลบ้าง แล้วหันมามองรอบตัวในความเป็นจริงว่าเราจะผ่านและรอดจากสถานการณ์ตรงนี้ไปได้ยังไง แม้จะหนักแต่เชื่อว่าเรามีทางออกเสมอ เหมือนที่คนรุ่นก่อนก็เคยผ่านมันมาแล้ว


     ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านผ่านเหตุการณ์ร้ายๆ นี้ไปได้ ขอให้มีสุขภาพที่ดี ทั้งสุขภาพส่วนตัวและสุขภาพธุรกิจ แล้วเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน



 
 
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย