ถ้าอยาก “ชนะ” ในวันที่ทุกโครงการชนะสิ้นสุดลง ก็ต้อง ขยัน-อดทน-มีสติ




     โครงการดีๆ ต่างๆ ที่ภาครัฐมีส่วนเข้ามาสนับสนุนกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนสถาพคล่อง ในภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และโรคระบาดมีลามไปทั่วโลกที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นและกลับมาปกติได้เลย เข้ามาช่วยให้ประชาชนและร้านค้าทั่วไปเกิดการจับจ่ายซื้อของ มาในรูปแบบของแอปพิเคชัน ซึ่งเป็นอะไรที่ใหม่มากสำหรับคนไทย แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดี มีการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น จาก “โครงการเที่ยวด้วยกัน”  มีการจับจ่ายซื้อของมากขึ้น จาก “โครงการคนละครึ่ง” และ “โครงการเราชนะ”


     ผู้คนมีกำลังซื้อ และมีร้านค้ารองรับมากขึ้นเรื่องๆ ช่วงแรกๆ ก็อาจจะมีปัญหาบ้าง แต่ในระยะยาวก็น่าจะมีการปรับปรุง “จุดเด่นจุดด้อย” ให้เข้ากับจำนวนประชากรที่มากขึ้นได้ในอนาคต
               

     การซื้อข้าวซื้อของ แทบจะจ่ายด้วยการสแกนจ่ายแทบทุกร้าน ร้านค้าแบบเราๆ ก็ต้องคอยปรับตัวตามไปด้วย เพื่อเพิ่มช่องทางในการขายและเพิ่มยอดขายของร้านได้เป็นอย่างดี





       แต่ก็มีคำถามที่คิดไว้ในใจว่า แล้วถ้าหลังจากนี้หละ โครงการคนละครึ่งหมดโครงการ สิ้นเดือนมีนาคม หรือ จนกว่าจำนวนเงินที่ได้รับหมดลง โครงการเราชนะ หมดโครงการสิ้นเดือนพฤษภาคม หรือจนกว่าจำนวนเงินที่ได้รับหมดลง แล้วมันจะไปในทิศทางไหนต่อ ร้านค้าอย่างเราจะมีผลกระทบมากน้อยเพียงใด ดีขึ้นหรือแย่ลง ต้องหันกลับมาดูตัวเองอีกครั้งหลังจากรับเงินจากการสแกน จ่ายกันมา 3-4 เดือน
               

      วันนี้พฤติกรรมการบริโภคของผู้คนเปลี่ยนไป การใช้โทรศัพท์เป็นปัจจัยสำคัญในการชำระเงินกันมากขึ้น การใช้เงินสดน้อยลง คนจะชินมากน้อยเพียงใด คนจะลดการจับจ่ายซื้อของน้อยลงไปไหม ร้านค้าจะมีช่องทางอย่างไร ในการ เพิ่มยอดขาย


      คำถามมากมายเกิดขึ้นในหัว โครงการพวกนี้หวังผลระยะสั้นเป็นการกู้เงินของรัฐบาลมาแจกจ่ายประชาชน เพื่อ กระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนและเกิดการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจ แต่ในระยะยาวรัฐบาลไม่สามารถอุ้มและช่วยเหลือได้มากขนาดนั้น  ร้านค้าก็ต้องคิดตาม ศึกษาและพัฒนา คอยปรับตัวตามไปด้วย ที่สำคัญต้องพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด ประคับประคองเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตจากสถานการณ์ไปให้ได้
               

     หลังจากนี้ .. แล้วยังไงต่อ? โครงการยังไม่มีอะไรใหม่ออกมา ร้านค้าผู้ประกอบการควรเริ่มมองหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อรักษายอดขาย จากผู้มีสิทธิใช้เดิมและผู้ไม่ได้รับสิทธิให้ยังคงมาซื้อสินค้าและบริการของเรา





      สำหรับครอบครัวเราพี่น้องเริ่มมองหน้ากัน เปิดวงสนทนากับป๊าม๊า ผู้แก่เฒ่า ร้านข้าวหมูแดงเล็กๆ ที่วิธีการขาย ที่แตกต่างกันเสียเหลือเกิน คนรุ่นก่อน อาศัยแรงกายแรงใจ มานะอดทนก็ “เราชนะ” ได้ ตัดมาคนยุคนี้ สิ่งที่ว่ามาเริ่มไม่พอ ต้องอาศัยทุกอย่างที่มีที่หาได้ ช่วยในทุกๆ ด้านเพื่อให้ยอดขายเพิ่มขึ้นและไม่น้อยลงไปกว่านี้


     ถามป๊าว่า ถ้ายุคของป๊าจะเพิ่มยอดขายเขาทำกันยังไงให้คนรู้จักมากขึ้น ขายดีมากขึ้น ป๊าตอบว่า ร้านเราแท๊กซี่ สามล้อ มอเตอร์ไซค์ คนทำงานกินกันเยอะ สมัยนั้นอาศัยปากต่อปาก เรื่องอาหารมันเป็นนานาจิตตัง มีคนชอบก็มีคนไม่ชอบ ก็เหมือนก๋วยเตี๋ยว เราชอบรสไหนเราก็ปรุงรสนั้น ร้านเราเป็นอย่างไรก็รักษาคุณภาพไว้ ถ้าเขาชอบ เขาก็คงมากิน ร้านเราและคิดถึงเรา ยอดขายก็จะตามมา ประสบการณ์ของผู้เฒ่าช่วยลูกหลานได้เสมอ ป๊าบอกถ้าในร้านมันเงียบยอดขายตกก็ให้รับงานข้างนอก ออกร้าน อีเวนต์ งานเหมา ข้าวกล่อง ป๊าผ่านมาหมดแล้ว เหนื่อยหน่อยแต่ก็จำเป็น ถ้าได้ยอดขายที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน ป๊าบอกว่า โปรโมชั่นสมัยก่อน เขาก็ทำ ลด แจก ถ้าไม่ขาดทุนมากแต่ได้ลูกค้าก็ต้องทำนะลูก การสนทนานของป๊าม๊า เราคุยกันไทยบ้าง จีนบ้าง แต่ก็แฝงปรัชญาอะไรหลายๆ อย่าง


     “ถ้าอยากชนะ  ลื้อก็ต้อง อดทน ขยันและมีสติ ลื้อก็จะผ่านเรื่องยากๆ ไปได้”
               

     ในภาวะที่โลกยังไม่เหมือนเดิม เศรษฐกิจขาดสภาพคล่อง ผู้คนยังไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ปกติ คนในชาติต้องพึ่งกันและกันให้ได้มากที่สุด ใช้ความเป็นไทยของเรานี่แหละ ที่จะทำให้เราผ่านพ้นไปได้ พึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด และแบ่งปันให้กัน เริ่มจากตัวเองและคนในครอบครัว


     คิดแบบนี้ทุกบ้านเราจะเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ และเราจะผ่านสถานการณ์เลวร้ายไปด้วยกัน



 
 


 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย