จับตา 3 แผลเป็นเศรษฐกิจ ที่จะส่งผลต่อธุรกิจ SME ในปีหน้า




Main Idea

 
 
     3 แผลเป็นเศรษฐกิจที่ต้องจับตา
 
 
  • ยอดเปิด-ปิดกิจการที่ยังซบเซา
 
  • ตลาดแรงงานยังฟื้นตัวช้า
 
  • การถดถอยของงบดุลที่ต้องซ่อมแซมทั้งธุรกิจและครัวเรือน
 


             
               
     เดินทางมาถึงสองเดือนสุดท้ายก่อนสิ้นปี 2020 กันแล้ว สถานการณ์ธุรกิจของ SME เป็นอย่างไรบ้าง ฟื้นคืนกลับมาบ้างหรือยัง แม้จะยังไม่ผ่านพ้นปีที่ยากลำบาก และสถานการณ์โควิดก็ยังไม่หายไปจากโลก แต่ความเป็นผู้ประกอบการนักสู้ก็ต้องพร้อมปรับตัวและมองไปข้างหน้าอยู่เสมอ
               

     ว่าแต่ในปี 2021 เศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไรบ้าง พอจะมีความหวังมากน้อยแค่ไหน มาจับตาไปพร้อมกัน



               

     สิ่งที่ SME จะต้องเตรียมรับมือ คือในปีหน้าเศรษฐกิจไทยอาจจะยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากหลายปัจจัยที่เข้ามากดดัน  โดยเฉพาะ “แผลเป็นทางเศรษฐกิจ” (Scarring Effects) ซึ่งประกอบด้วย 3 บาดแผลหลักดังนี้

               
1.ยอดเปิด-ปิดกิจการที่ยังซบเซา


     จากหลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เรามีจำนวนกิจการที่เปิดตัวน้อยลง ขณะเดียวกันวิกฤตก็ทำให้ยอดกิจการที่ปิดตัวมีมากขึ้นและยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อไปยังปัญหาการจ้างงาน และการลงทุนที่ลดลง




 
2.ตลาดแรงงานยังฟื้นตัวช้า


     ภาวะตลาดแรงงานที่เปราะบาง สะท้อนได้จากตัวเลขอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น และจำนวนชั่วโมงการทำงานรวมที่ลดลงมากตามจำนวนงานเต็มเวลาและงานโอทีที่หายไปของภาคธุรกิจ   ซึ่งสะท้อนถึงรายได้ที่ลดลงและทำให้การฟื้นตัวจะช้าเนื่องจากกำลังในการจ้างงานของภาคธุรกิจได้น้อยลงไปมาก โดยบางส่วนกลายเป็นงานต่ำระดับ (Underemployment) รวมถึงยังมีแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราว (Furloughed workers) อีกจำนวนมากด้วยเช่นกัน




 
3. การถดถอยของงบดุลที่ต้องซ่อมแซม


     ทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนอยู่ในภาวะต้องซ่อมแซมงบดุลของตนเอง ส่งผลให้การใช้จ่ายและการก่อหนี้ชะลอตัวลง ซึ่งการซ่อมแซมงบดุลของภาคธุรกิจนั้นยังนำไปสู่การชะลอการจ้างงานอีกด้วย ซึ่งจากทั้งสองปัจจัยดังกล่าว จะส่งผลโดยตรงต่อการฟื้นตัวของรายได้ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ บวกกับภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้ทั้งครัวเรือนและธุรกิจมีแนวโน้มจะใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น ส่งผลทำให้การฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะเป็นไปอย่างช้าๆ ในช่วงปีหน้า
               


               

     และนี่คือ 3 แผลเป็นทางเศรษฐกิจที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของไทยและกระทบต่อธุรกิจ SME อย่างเลี่ยงไม่ได้ และยิ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้ยังมีผลกระทบต่อเนื่องถึงกันอีกด้วย เช่น การที่ตลาดแรงงานฟื้นตัวช้า นำไปสู่รายได้ที่ลดต่ำลง และหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้น การปิดกิจการของบริษัทต่างๆ นำไปสู่การตกงาน ส่งผลทำให้ครัวเรือนต้องลดการใช้จ่ายซึ่งทำให้ธุรกิจได้รับผลกระทบตามไปด้วย หรือการที่ภาคธุรกิจและครัวเรือน ยังต้องซ่อมแซมตัวเองจากวิกฤต  รวมถึงการมีบริษัทซอมบี้ หรือบริษัทที่เหมือนจะล้มไปแล้ว แต่ยังดำเนินธุรกิจอยู่ได้ ทว่าไม่มีความสามารถทำกำไรมาอย่างต่อเนื่องมากขึ้น ก็ยิ่งส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจปีหน้ายิ่งมีความท้าทายมากขึ้นไปด้วย
               
 
ที่มา : เรียบเรียงข้อมูลจาก EIC  
 
 






www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

รวม 3 แบรนด์มะขาม รายได้ 100 ล้าน

พาไปส่อง 3 แบรนด์มะขามดัง ทั้งมะขามสารัช บ้านมะขาม และจี๊ดจ๊าด ที่บอกเลยว่ารายได้ไม่ธรรมดา เพราะเติบโตจนมีรายได้หลัก 100 ล้านบาท

ทำร้านเบเกอรี่ยังไงให้เนื้อหอม? SmoreBite ชลบุรี แค่ 2 เดือนมีห้างดังรุมจีบ

 แค่ 2 เดือน “เซฟ-ปัณฑา ลอออรรถพงศ์” หนุ่มน้อยวัย 24 ปี ก็พา SmoreBite ร้านเบเกอรี่ในชลบุรี ปังจนห้างดังอย่างพารากอนและเดอะมอลล์ต้องมาจีบ ... เขาทำได้อย่างไร

The Bus Collective เปลี่ยนรถบัสเก่าเป็นโรงแรมสุดชิค ผสานดีไซน์ล้ำกับการท่องเที่ยวยั่งยืนอย่างลงตัว

โมเดลธุรกิจที่เปลี่ยนรถบัสปลดระวางให้กลายเป็น “ที่พักระดับพรีเมียม” โปรเจกต์นี้ไม่เพียงแต่สร้างมูลค่าใหม่จากทรัพยากรที่หมดอายุการใช้งาน แต่ยังตอบโจทย์เทรนด์ การท่องเที่ยวยั่งยืนที่กำลังเป็นกระแสไปทั่วโลก