ถอดสูตรเด็ด SME ต้องใช้ วิเคราะห์คู่แข่งอย่างไร ให้ได้ชัยชนะ!

TEXT : เจษฎา 





Main Idea
 
 
     5 แนวคำถาม “วิเคราะห์คู่แข่ง” สร้างแต้มต่อธุรกิจ
 
 
  • คู่แข่งมีผลิตภัณฑ์หรือบริการอะไร
 
  • สิ่งที่คู่แข่งมุ่งเน้น และการวาง Positioning ในตลาด
 
  • กลุ่มเป้าหมายคือใคร และกลุ่มไหนสร้างรายได้มากที่สุด
 
  • ข้อได้เปรียบของคู่แข่งคืออะไร
 
  • ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ในอุตสาหกรรมของคู่แข่ง
 


 

        การประเมินคู่แข่งทางธุรกิจที่สมน้ำสมเนื้อกับเรานั้น สามารถเริ่มต้นทำได้จากการวิเคราะห์ด้านคุณภาพ การบริการ และราคา จากนั้นลองลิสต์เอาไว้ 5 – 10 แบรนด์ โดยอย่าลืมคู่แข่งทางอ้อมด้วย ซึ่งแม้ว่าคู่แข่งทางอ้อมจะไม่ได้ขายสินค้าหรือบริการแบบเดียวกับที่เราทำ แต่ลูกค้ามักมองว่า ข้อเสนอของคู่แข่งทางอ้อม เป็นตัวเลือกเสริมให้กับเขาได้





     ยกตัวอย่างเช่น โรงภาพยนตร์ 2 แห่งฉายภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน นี่คือคู่แข่งกันโดยตรง ส่วนผู้บริโภคที่ต้องการความบันเทิง คู่แข่งทางอ้อมของโรงภาพยนตร์อาจเป็น โรงละคร งานกีฬา สวนสนุก และไนต์คลับ เพราะทั้งหมดนี้คือธุรกิจที่แย่งชิงเงินของผู้บริโภคที่ต้องการความบันเทิง
ทั้งนี้ แนวทางการตั้งคำถามเพื่อวิเคราะห์คู่แข่ง มีดังนี้
 
  • คู่แข่งมีผลิตภัณฑ์หรือบริการอะไรบ้าง
 
  • สิ่งที่คู่แข่งมุ่งเน้น และการวาง Positioning ในตลาด
 
  • กลุ่มเป้าหมายคือใคร กลุ่มไหนสามารถสร้างรายได้ให้มากที่สุด

  • ข้อได้เปรียบของคู่แข่งคืออะไร (อย่าพยายามทำข้อได้เปรียบเลียนแบบคู่แข่ง ยกเว้นเราจะทำได้ดีกว่า)
 
  • ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ในอุตสาหกรรมของคู่แข่ง และเราสามารถสร้างความต่างได้อย่างไร เช่น คู่แข่งเป็นแบรนด์ยักษ์ใหญ่ มีทรัพยากร เงินทุน และบุคลากรเพียบพร้อม แต่ค่าใช้จ่ายสูง และบริหารจัดการช้า แต่เราเป็นบริษัทขนาดเล็กที่แก้ไขและจัดการปัญหารวดเร็ว รวมถึงไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุน จึงสามารถจ้างได้ทั้งพนักงานรายเดือน และจ้าง Outsource แทนการจ้างพนักงานก็ได้ เป็นต้น
 



 
        หลังจากวิเคราะห์คู่แข่งไปแล้วในเบื้องต้น ลองคัดเลือกรายชื่อแบรนด์ของคู่แข่งที่เราเคยซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการ แล้วถามตัวเองดูว่าทำไมเราเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากแบรนด์นี้มากกว่าแบรนด์อื่น มีข้อเสนออะไรดึงดูดใจหรือเปล่า ? ซื้อเพราะคุณภาพและการบริการ ? ความน่าเชื่อถือ ? พนักงานมารยาทดีมากๆ ? ราคาโดนใจ ? พวกเขาวาง Positioning อย่างไรเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด ? ตลอดจนคำถามอีกมากมายที่จะช่วยให้เราสู้กับคู่แข่งรายนี้ได้สมน้ำสมเนื้อมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ
 
  • คู่แข่งเก่งเรื่องอะไรมากที่สุด
 
  • จุดแข็งคืออะไร การรับประกันสินค้า หรือสภาพคล่องทางการเงินสูงมาก
 
  • โอกาสที่น่าสนใจ แต่คู่แข่งเพิกเฉยหรือยังไม่ทันมองเห็น
 
  • สิ่งที่คู่แข่งทำได้ไม่ดี หรือดีน้อยกว่าเรา
 
  • สิ่งที่ทำให้ลูกค้าชอบคู่แข่ง
 
  • คอมเมนต์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับธุรกิจคู่แข่งคือเรื่องใด
 
  • เหตุผลที่ลูกค้าของคู่แข่งไม่กลับมาซื้อสินค้าซ้ำ
 
  • เราได้เรียนรู้อะไรจากคู่แข่งบ้าง
 
  • เราทำอะไรได้ดีกว่าคู่แข่งบ้าง
 
  • สิ่งที่คู่แข่งจะไม่สามารถเลียนแบบเราได้
 
  • สิ่งที่เราพัฒนาแล้วคู่แข่งเลียนแบบเราได้
 
  • ถ้าคู่แข่งพัฒนาบางอย่าง เขาจะก้าวนำเราไปอีกหลายก้าว สิ่งนั้นคืออะไร
 
  • ราคาผลิตภัณฑ์หรือบริการเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หากราคาสูงกว่าหรือเท่ากัน เราสามารถแสดงให้เห็นถึงมูลค่าและความคุ้มค่าในการจ่ายเงินได้หรือไม่
 
  • บรรจุภัณฑ์ของคู่แข่ง สร้างความประทับใจหรือดึงดูดใจลูกค้ามากแค่ไหน
 
  • จุดอ่อนของคู่แข่ง คืออะไร
 




     ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของการใช้ข้อมูลของคู่แข่ง เพื่อนำมาปรับและพัฒนาธุรกิจให้ก้าวเหนือกว่าคู่แข่งในตลาด อย่าให้พลาดเหมือนตัวแทนบริษัทประกันภัยรถยนต์รายหนึ่งในสหรัฐฯ ที่ประกาศโฆษณามอบส่วนลดประกันภัยรถยนต์พิเศษสำหรับวัยรุ่นผู้ขับรถยนต์รายใหม่ที่มีผลการเรียนดีเด่น แต่คู่แข่งก็ให้ส่วนลดที่ดีไม่แตกต่างกันแถมไม่ต้องมีผลการเรียนที่ดีด้วย ผลคือเขาพ่ายแพ้คู่แข่งไปแบบหลุดรุ่ย


     โชคดีที่เขาไม่ยอมแพ้แค่นั้น แต่ตัวแทนบริษัทรายเดิมคนนี้แหละเขียนเบอร์โทรศัพท์บ้านลงบนนามบัตร และเสนอขายประกันกับกลุ่มลูกค้าใหม่ โดยเปลี่ยนจากวัยรุ่นเป็นพ่อแม่ของวัยรุ่นแทน พร้อมกับบอกว่า “ลูกของคุณอาจออกไปเที่ยวข้างนอกตอนกลางคืน อาจดื่มอะไรเยอะเกินไปจนพวกเขาขับรถกลับไม่ไหว แต่ไม่ต้องห่วงถ้าซื้อประกันกับผม ผมจะไปรับพวกเขากลับมาให้เอง ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวันหรือกลางคืนก็สามารถโทรมาใช้บริการเสริมนี้ได้” ไม่มีตัวแทนขายประกันภัยรถยนต์ในพื้นที่คนอื่นกล้าทำแบบเขา ทำให้เขาสามารถสร้างโอกาสในการปิดการขายได้มากขึ้น และกลายเป็นคนขายประกันภัยรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จมากๆ คนหนึ่งเลยทีเดียว
 

     ถ้าเราไม่เรียนรู้ และพยายามรู้จักคู่แข่ง เราอาจแพ้ตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่มธุรกิจเลยด้วยซ้ำ  
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย