เกาะกระแสคุยเรื่องกาแฟโลก – กาแฟไทย ไปกับ “วัลลภ ปัสนานนท์” นายกสมาคมกาแฟพิเศษไทย

TEXT : นิตยา สุเรียมมา

PHOTO : สุนันท์ ล้อสมทรัพย์

 

 


Main Idea

 
  • “Specailty Coffee” หรือ กาแฟพิเศษ เริ่มเป็นที่รู้จักในเมืองไทย เมื่อ 6 - 7 ปีก่อน พร้อมๆ กับการจัดตั้งสมาคมกาแฟพิเศษไทยขึ้นมา
 
  • กาแฟพิเศษ เป็นแนวทางการผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพ ซึ่งเหมาะกับการทำกาแฟอราบิก้าของไทย ที่มักผลิตได้ในปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับการผลิตกาแฟของระดับโลก โดยจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้มากกว่าการเน้นผลิตเชิงปริมาณ
 
  • โดยในปีล่าสุด 2563 กาแฟพิเศษไทยสามารถทำคะแนนทดสอบรสชาติได้สูงถึง 90 คะแนน จากแหล่งผลิตหลายที่ด้วยกัน ซึ่งถือว่ามีอยู่จำนวนน้อยเพียงไม่กี่ตัวแม้ในตลาดโลกที่สามารถทำได้ อีกทั้งยังสามารถทำราคากาแฟประมูลได้สูงสุดถึง 27,000 บาทต่อกิโลกรัมเป็นประวัติการณ์ครั้งแรกของกาแฟไทยด้วย
 
 


     กำลังเริ่มต้นขึ้นสดๆ ร้อนๆ กับงาน Thailand Coffee Fest 2020 มหกรรมกาแฟที่ยิ่งใหญ่ประจำปีของไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อช่วยส่งเสริมและผลักดันวงการกาแฟไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนทั้งในประเทศและระดับสากล
              




     โดยในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมานี้กาแฟไทยมีการพัฒนาคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของ “Specialty Coffee” หรือกาแฟพิเศษ ที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น จนล่าสุดสามารถทำราคาประมูลได้สูงเป็นประวัติการณ์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนถึงกิโลกรัมละ 27,210 บาท! พร้อมๆ กับปริมาณกาแฟพิเศษไทยที่นับวันจะยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที


     เกาะกระแสกาแฟโลก-กาแฟไทย อัพเดตเรื่องราวเมล็ดพันธุ์ของเครื่องดื่มพิเศษนี้ไปพร้อมๆ กันกับ “วัลลภ ปัสนานนท์” นายกสมาคมกาแฟพิเศษไทยกับบทสัมภาษณ์แบบเอ็กคลูซีฟที่บุกไปถึงยอดดอยแหล่งปลูกกาแฟจาก SME Thailand
 




ภาพของตลาดกาแฟพิเศษไทย ณ ปัจจุบันเป็นอย่างไร

              

     ในด้านคุณภาพถือว่ามีการพัฒนาขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด ชัดเจนจนถึงขั้นที่ทุกวันนี้เรามี Score คะแนนจากการทดสอบรสชาติหรือคัปปิ้งกาแฟไทยจากคณะกรรมการระดับสากลสูงถึง 90 คะแนนแล้วอยู่ถึง 3-4 ตัวด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นคะแนนที่สูงมากแม้แต่ในระดับสากลเองก็ยังมีไม่มากเลย แต่วันนี้กาแฟไทยไปถึงจุดนั้นแล้ว ซึ่งตัวเลขพวกนี้เราไม่ได้ทำกันขึ้นมาเอง แต่มีผู้เชี่ยวชาญในเวทีระดับโลกเป็นผู้คอยควบคุมดูแลและทดสอบด้วย 2-3 ปีมานี้ถือว่ากาแฟพิเศษไทยมีคุณภาพดีขึ้นมากเทียบชั้นได้กับกาแฟระดับโลกได้ ถึงจะยังไม่ได้เป็น Top 5 ของโลก แต่ก็อยู่ในมาตรฐานที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นกาแฟที่มีคะแนนสูง และมีอยู่ไม่มากในระดับโลก
 

การที่กาแฟพิเศษไทยสามารถเดินทางมาจนถึงสามารถทำคะแนนได้สูงกว่า 90 คะแนน และเทียบชั้นกับกาแฟระดับโลกได้เป็นเพราะอะไร
              

     จริงๆ แล้วมาจากหลายส่วนด้วยกัน ซึ่งในระยะหลังเองเกษตรกรของไทยที่หันมาปลูกกาแฟก็เป็นคนรุ่นใหม่ค่อนข้างเยอะ เรียนจบมหาวิทยาลัย และมีองค์ความรู้ในการทำกาแฟแบบกว้างขวางเพิ่มมากขึ้น บวกกับการเติบโตขึ้นของเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ ในโลกยุคปัจจุบัน ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั่วโลกได้มากขึ้น กาแฟไทยจึงถูกพัฒนาไปได้มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา
 




ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ จึงจะดำเนินมาถึงจุดนี้ได้

              

     ประมาณ 5 - 6 ปี หลังจากที่ประเทศไทยเราเริ่มรู้จักกับคำว่า กาแฟพิเศษ รวมถึงมีการจัดตั้งสมาคมกาแฟพิเศษขึ้นมา พร้อมๆ กับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการในวงการธุรกิจกาแฟเอง ซึ่งถือว่าไม่ช้านะ ค่อนข้างเร็วด้วยซ้ำ แต่เราก็ยังถือว่าเป็นน้องใหม่ในเวทีโลก ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดี คือ เราสามารถได้องค์ความรู้มาโดยที่ไม่ต้องลองผิดลองถูกเลย เพราะมีคนอื่นทดลองมาให้ก่อนหน้านี้แล้ว เราแค่เอาผลลัพธ์มาใช้ได้เลย จึงทำให้สามารถพัฒนาได้เร็วขึ้น และใช้เวลาน้อยกว่า แต่ข้อเสีย ก็คือ การที่เราเริ่มช้าและมาทีหลัง ทำให้การแข่งขันค่อนข้างยากลำบาก เพราะต้องพยายามแทรกตัวเข้าไปในตลาดซึ่งเขามีผู้เล่นอยู่แล้วจำนวนมาก ดังนั้นพื้นที่ของกาแฟพิเศษไทยในตอนนี้บนเวทีระดับสากล ก็ถือว่ายังแคบและน้อยอยู่มาก
              




     ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกสักพักหนึ่ง ทั้งในเรื่องความพร้อมของเกษตรกรเอง รวมถึงการสื่อสารออกไปให้ทั่วโลกได้รับรู้มากขึ้น ซึ่ง ณ วันนี้ถือว่ามีการคืบหน้าไปมาก เรามีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพยายามส่งเสริมกาแฟพิเศษไทยออกไปมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดประกวด 10 สุดยอดกาแฟที่ทางสมาคมกาแฟพิเศษไทยเป็นผู้จัดขึ้นทุกปี นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้เกษตรกรไทยหันมาเห็นความสำคัญกับการทำกาแฟในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียวมากขึ้น เพราะสามารถได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าได้ ในฝั่งของเทรดเดอร์จากทั่วโลกเองก็เริ่มหันมาให้ความสนใจกาแฟพิเศษไทยมากขึ้นด้วย ซึ่งต้องพยายามแสวงหากาแฟคุณภาพดีจากแหล่งผลิตใหม่ๆ อยู่เสมอ นอกจากนี้การที่เราได้เข้าร่วมกับกิจกรรมระดับเวิล์ดคลาสต่างๆ มากขึ้น ก็ทำให้กาแฟไทยเป็นที่รู้จักและถูกยอมรับมากขึ้น โดยเชื่อว่าอีกไม่นาน  Coffee Map หรือแผนที่กาแฟโลกจะบรรจุกาแฟไทยลงอยู่ในนั้นด้วยแน่นอน
 




จริงๆ แล้วแนวทางการทำ
Specialty Coffee หรือกาแฟพิเศษ ใช่แนวทางที่เหมาะสมกับการพัฒนากาแฟไทยไหม
              

     ใช่ครับ แต่ในที่นี่เรากำลังพูดถึงกาแฟอราบิก้าไทยที่ปลูกอยู่ทางภาคเหนือ ไม่ใช่กาแฟโรบัสต้าทางใต้ ซึ่งด้วยปริมาณกาแฟที่สามารถให้ผลผลิตออกมาได้น้อยในแต่ละปีอยู่แล้ว การที่เราจะไปแข่งขันกับรายใหญ่ๆ เชิงระดับอุตสาหกรรมที่เขามีพื้นที่เพาะปลูกและสามารถทำได้ง่ายกว่าเรา มันเป็นไปได้ยากอยู่แล้ว ในส่วนตัวผมจึงมองว่าเราควรที่จะหนีในเชิงการทำให้ได้ปริมาณเยอะๆ และหันมาพัฒนาด้านคุณภาพดีกว่า ซึ่งทุกวันนี้เกษตรกรไทยหลายคนก็เริ่มมีความเข้าใจมากขึ้น คือ ส่วนที่ทำเชิงปริมาณก็ทำไป แต่ก็แบ่งส่วนหนึ่งไว้ทำเชิงคุณภาพด้วย ทำให้เกษตรกรมีทางเดินในการทำธุรกิจมากขึ้นด้วย
 



ต้องใช้เวลาอีกสักกี่ปีที่จะทำให้จากพื้นที่ยืนเล็กๆ ของกาแฟไทยในวันนี้ เป็นที่ยอมรับและถูกกล่าวขานในเวทีกาแฟพิเศษโลกได้มากขึ้น

              

     คิดว่าคงนานที่สุดคงไม่เกิน 10 ปีแน่นอน ที่พูดได้เป็นเพราะเรามีความมั่นใจในเกษตรกรชาวสวนกาแฟไทยที่มีการปรับตัวและพัฒนาตัวเองเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เรายังเห็นความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ ทั้งส่วนราชการ ภาคเอกชน สมาคมต่างๆ และผู้ประกอบการในธุรกิจกาแฟเอง ต่างพยายามเข้ามาช่วยกันพัฒนาและทำให้ตลาดกาแฟคุณภาพพิเศษตรงนี้สามารถเกิดขึ้นได้
 

มีทางเป็นไปได้ไหมที่วันหนึ่งกาแฟไทยจะเป็น Top 5 ของโลกได้
              

     เป็นไปได้นะ แต่แค่เมื่อไหร่เท่านั้นเอง เพราะการจะเป็น Top 5 ได้ต้องมีองค์ประกอบจากหลายๆ อย่าง
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย