​ปั้นแบรนด์กระเป๋าคุณภาพ CERISE BAG






เรื่อง : กองบรรณาธิการ

    แม้ว่าโลกของตลาดออนไลน์จะมีจุดอ่อนเรื่องของการมีโอกาสได้ลอง ได้สัมผัสสินค้าจริงก่อนซื้อ แต่ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคออนไลด์ที่มีกำลังซื้อสูง กล้าซื้อ กล้าตัดสินใจ กลายเป็นโอกาสของ จิดาภา วิชัยดิษฐ์  ดีไซเนอร์สาวนักเรียนนอก ที่สร้างแบรนด์  CERISE BAG กระเป๋าหนังที่เจาะตลาดระดับบน

    “ตอนเรียนด้านโปรดักต์ดีไซน์ที่ประเทศออสเตรเลีย ตั้งใจว่าหลังเรียนจบจะต้องนำความรู้ที่ได้มาสร้างสรรค์เป็นผลงานออกมาให้ได้ และคิดไปไกลด้วยว่าอยากให้คนต่างชาติได้เห็นศักยภาพฝีมือของคนไทย พอกลับมาก็เริ่มเสาะหาแหล่งผลิต ช่างเย็บกระเป๋าฝีมือดี  แหล่งวัสดุ และเรียนรู้เรื่องหนังเพิ่มเติม  โดยส่วนตัวชอบการประกบกันของซิป และเป็นคนชอบรูปทรงเรขาคณิต เลยทำออกมาเป็นกระเป๋าทรงครึ่งวงกลมและเล่นกับซิป  จุดเด่นจะเน้นว่าเป็นกระเป๋าที่รับน้ำหนักได้เยอะ ไม่หนักเพราะเป็นหนังวัวฟอกซึ่งราคาไม่แพงมาก และดูแลรักษาง่ายขึ้น สามารถใช้ได้ทั้งเด็กผู้ใหญ่ ต่อให้คนอายุมากถือก็ดูเรียบหรู ออกงานได้ ถ้าเป็นเด็กก็สะพายแบบน่ารักชิคๆ เก๋ๆ และจะจำกัดจำนวน 1 สีผลิตแค่ 10 ใบ โดยสีก็ผสมเฉดสีของเราเอง”
 



    สำหรับช่องทางการขายจิดาภาเลือกที่จะขายผ่านออนไลน์ เพื่อเป็นการทดลองตลาด และลดความเสี่ยงในการเริ่มต้นทำธุรกิจ โดยมองว่าการขายผ่านออนไลน์นั้น นอกจากจะลดต้นทุนเรื่องหน้าร้านแล้ว ยังสามารถกระจายข่าวประชาสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็วในวงกว้าง  

    “เราเริ่มต้นจากออนไลน์ เพราะค่อนข้างใช้เงินลงทุนน้อยที่สำคัญทำให้คนรับรู้ข่าวสารมากขึ้น ตอนนี้มียอดผู้ติดตามในอินสตาแกรม 6,000 กว่า  ถามว่าพอใจไหม ก็พอใจตั้งแต่ไลค์แรกที่คนตามไม่ใช่เพื่อนเรา คือแค่เขาสนใจเข้ามาถามก็ดีใจแล้ว มีบางคนที่บ่นว่าแพง เพราะราคาอยู่ที่ใบละเกือบหมื่น แต่เราดูต้นทุนแล้ว กำไรไม่มาก ไม่ได้ขายให้รวย แค่ขายให้เขาได้ของที่ดีและมีคุณภาพ”

 

      นอกจากนี้การตลาดในช่วงต้นของ CERISE BAG  จิดาภาเลือกเซเลบและนางแบบที่มีชื่อเสียงเป็นเหมือนพรีเซนเตอร์สินค้า ด้วยการส่งกระเป๋าให้ลองใช้ จนเกิดการบอกต่อ สร้างความเชื่อมั่นในตัวสินค้า แม้ราคากระเป๋าจะค่อนข้างสูง และไม่มีหน้าร้านหลักนอกจากออนไลด์ ตามผลวิจัยของหลายสำนัก ที่ยืนยันว่าการรีวิวสินค้าโดยคนมีชื่อเสียงนั้น มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน   

    “ทั้งเพื่อน คนรู้จัก เซเลบที่มีชื่อเสียง รวมถึงนางแบบ เราก็ส่งกระเป๋าไปให้ลองใช้ ซึ่งก็เป็นการทำการตลาดแบบหนึ่ง ทำให้คนมองว่าคนนี้ก็ใช้ ก็เกิดความมั่นใจว่าของดี ผลตอบรับที่ได้กลับมาก็มากกว่าเดิม มีคนเข้ามาถามมากขึ้น เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด” 
 


    จิดาภาบอกว่าตอนที่คิดทำกระเป๋า เป้าหมายของเธอไม่ได้อยู่ที่ปริมาณกระเป๋าที่ขายออกไป หากอยู่ที่ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก ขอแค่ให้คนพอใจในคุณภาพกระเป๋าฝีมือคนไทย 
  
     “อยากให้เห็นถึงความตั้งใจของเราผ่านกระเป๋า ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบรูปทรง ความคงทน คุณภาพกระเป๋า คืออยากให้คนไทยได้ใช้ของดีๆ ในระดับสากล เพราะว่ากระเป๋าแบรนด์เนมดังๆ ราคาก็จะแพงมาก แต่ของเราราคาเท่านี้ คุณภาพเท่านี้ แล้วก็ได้ใช้กัน”

Crate by smethailandclub.com

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน