แพ้ไม่ได้! ส่อง 5 วิธีรับมือวิกฤต ที่ร้าน ‘รสมือแม่’ ใช้ต่อกรกับไวรัส

TEXT : พิมพ์ใจ พิมพิลา





Main Idea
 
 
  • "รสมือแม่" ร้านอาหารต้นตำรับเมืองเหนือที่ไม่เพียงเสิร์ฟความอร่อย หากแต่ยังมาพร้อมคุณภาพทั้งในเรื่องวัตถุดิบและกระบวนการทำที่ใส่ใจรายละเอียดจนกลายเป็นร้านอาหารเหนือขวัญใจชาวกรุงมานานกว่า 15 ปี
 
  • ในปัจจุบันที่นี่ก็ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่ต่างจากธุรกิจอื่น มาดูกันว่าธุรกิจร้านอาหารของรสมือแม่จะมีเคล็ดลับในการแก้ไขปัญหาใหญ่จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยไม่ต้องเจ็บตัวหรือสูญเสียใครไปกับไวรัสเจ้าปัญหานี้




       "รสมือแม่" เป็นร้านอาหารต้นตำรับเมืองเหนือที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 15 ปีแล้ว โดยจุดเริ่มต้นเกิดจากเจ้าของร้านอย่าง “ภัคพงศ์ พึ่งกัน” อดีตสัตวแพทย์ ที่ต้องการสร้างธุรกิจร้านอาหารให้กับคุณแม่ที่มีสูตรต้นตำรับอาหารเหนือหลากหลายเมนูมาเสิร์ฟให้กับลูกค้าชาวกรุง แน่นอนว่าตลอดการทำธุรกิจร้านอาหารหลายปีที่ผ่านมาเขาต้องเผชิญปัญหาในหลายๆ อย่าง ตั้งแต่เริ่มต้นทำธุรกิจ แต่ก็สามารถผ่านมาได้ทุกครั้ง





      หากแต่ในปีนี้ภัคพงศ์กลับต้องเจอกับปัญหาใหญ่อย่างโควิด-19 เรามาดูกันว่าร้านอาหารเหนือแห่งนี้จะมีวิธีรับมือกับไวรัสตัวร้ายในแบบรสมือแม่อย่างไร ไปติดตามกัน!

 
  • ตั้งสติและตรวจสอบตนเองก่อนแก้ไขปัญหา แล้วจะไม่แพ้
              

       ในสถานการณ์วิกฤตนี้ไม่ว่าธุรกิจไหนต่างก็ได้รับผลกระทบกันทั้งสิ้น แน่นอนว่าสิ่งที่ภัคพงศ์ทำคือการตั้งสติและสำรวจธุุรกิจของตนเองว่า มีความพร้อมในการรับมือกับวิกฤติมากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นศึกษาธุรกิจของตัวเองให้ชัดเจน จัดสรรเงินทุนในการรับมือในแบบที่ไม่ทุ่มไปทั้งหมด หรือแม้กระทั่งวิเคราะห์ฐานลูกค้าว่ามีมากน้อยแค่ไหนไปพร้อมกับการรับฟังความคิดเห็นจากครอบครัว คนรอบข้างว่ามีมุมมองอย่างไรในการฝ่าฟันปัญหาที่เกิดขึ้น และเมื่อมีความพร้อมและเชื่อว่าตนเองจะไม่มีทางหยุดธุรกิจเพียงเพราะปัญหาไวรัสนี้ ก็เดินหน้าต่อด้วยความมั่นใจ
 



 
  • พนักงานนั้นสำคัญ คุยก่อนว่าไหวไหม ถ้าไม่ไหวก็พักก่อน
           

       การพูดคุยกับพนักงานนั้นสำคัญมากเพราะถ้าไม่มีพนักงานหรือพนักงานไม่มีใจจะสู้ไปด้วยกัน อย่างไรก็ไม่มีทางไปรอด ดังนั้นเจ้าของร้านรสมือแม่จึงได้มีการสอบถามกับพนักงานว่ายังอยู่ต่อและมีความพร้อมหรือไม่ เพราะถ้าไม่ไหวเขาก็จะให้โอกาสพนักงานทุกคนให้ไปเจอสิ่งที่ดีกว่า แต่โชคดีที่ทุกคนเลือกต่อสู้ไปด้วยกัน ทุกอย่างจึงดำเนินต่อไปได้ไม่ยากนัก อีกทั้งภายในร้านยังมีการปรับปรุงให้เป็นไปตามนโยบายของภาครัฐในการรองรับลูกค้าช่วงโควิด ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาด การเว้นระยะห่างของพื้นที่ตามความเหมาะสม การสวมหน้ากากเพื่อความปลอดภัย ซึ่งล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ใช่แค่ลูกค้าต้องปลอดภัย แต่พนักงานก็ต้องปลอดภัยไม่ต่างกัน
 



 
  • ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น

       ร้านอาหารรสมือแม่ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่นำเอาแพลตฟอร์มออนไลน์มาใช้กับร้านของตนเอง โดยในปัจจุบันรายได้หลักของร้านอยู่ที่การสั่งซื้อผ่านออนไลน์ทั้งสิ้น เนื่องจากช่วงแรกของโควิดรัฐบาลได้สั่งให้มีการปิดร้านอาหารชั่วคราว ทำให้รายได้ของร้านที่เหลืออยู่จึงมาจากออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นแกร็บ และฟู้ดแพนด้าเท่านั้น จนเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงจึงได้เพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าสามารถนั่งทานในร้าน หรือเลือกซื้อกลับบ้านไปด้วยได้ และหลังจากนั้นก็ได้มีการปรับแพ็กเกจจิ้งเพื่อให้ลูกค้าทานได้สะดวกสบาย แถมยังใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อโลกอีกด้วย
 
 
  •  คงไว้ซึ่งคุณภาพและความหลากหลายของเมนู


        ถึงแม้ว่าจำนวนออเดอร์ของลูกค้าจะลดลงไปมาก แต่สิ่งที่ภัคพงศ์ทำคือความคงไว้คือคุณภาพของอาหาร เพราะหากลูกค้ามากินอาหารที่ร้านแล้วรสชาติหรือคุณภาพเกิดไม่เหมือนเดิม ลูกค้าก็อาจจะไม่มาอุดหนุนรสมือแม่อีกก็เป็นได้ และอีกสิ่งสำคัญคือลูกค้าจะต้องรู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายมาทุกครั้ง


       “เราจะไม่มีลดปริมาณอาหาร และคงไว้ซึ่งคุณภาพเหมือนเดิมทุกอย่าง ถึงต้นทุนจะยังสูง กำไรจะเหลือหรือไม่ก็ค่อยว่ากันอีกที เพราะถ้าเกิดว่าลดปริมาณลง หรือลดคุณภาพของวัตถุดิบ มันจะเกิดผลกระทบในระยะยาวมากกว่า แล้วชื่อเสียงที่สั่งสมมาเป็นสิบกว่าปีมันก็จะเสียไปด้วยเพราะฉะนั้นเราต้องคงไว้ซึ่งมาตรฐานเดิมให้ได้”
 



 
  • ปรับเปลี่ยนแก้ไขเพื่อให้ร้านอยู่ได้ และเราต้องอดทน!


        ในระหว่างการทำธุรกิจมากว่า 10 ปี ร้านรสมือแม่ มีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะพวกเขาเชื่อว่า ร้านอาหารไม่สามารถอยู่นิ่งได้ แต่จะต้องแก้ไขปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ทว่าไม่ได้เป็นการเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ หากแต่เป็นการค่อยๆ แต่งตัวให้ร้านทันยุคทันสมัย ทั้งเรื่องของวัตถุดิบ เมนูอาหารใหม่ๆ ขณะที่อะไรที่ต้องรักษาความเป็นดั้งเดิมอยู่ ก็จะยังคงเอสไว้






        โดยล่าสุดภัคพงศ์ได้มีการติดต่อในการขยายร้านให้เข้าไปในในศูนย์อาหาร เพื่อที่จะสามารถขยายจำนวนลูกค้าและออเดอร์ให้มากขึ้นกว่าเดิม สิ่งสุดท้ายที่เขาเน้นย้ำกับผู้ประกอบการทุกคนคือ ความอดทนต่อปัญหาตรงหน้าและจงเชื่อว่าทุกอย่างจะกลับมาเป็นปกติในสักวันหนึ่ง
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย