ธุรกิจเฮลตี้ต้องเปลี่ยน! จับตาโฉมหน้าใหม่ของฟิตเนสหลังวิกฤตไวรัส

TEXT : ยุวดี ศรีภุมมา





Main Idea
 
 
  • เพราะการออกกำลังกายมันอยู่ในสายเลือด! ใครที่ออกกำลังกายจนเป็นกิจวัตร พอฟิตเนสปิด ยิมปิดก็ต้องเปลี่ยนมาออกกำลังกายที่บ้านแทน เพื่อรอวันจะได้กลับไปออกกำลังกายที่ฟิตเนสอีกครั้ง 
 
  • ทางด้านฟิตเนสเองซึ่งเป็นธุรกิจแรกๆ ที่โดนสั่งปิดเนื่องจากเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ก็ต้องหันมาดูตัวเองให้ดีว่าจะต้องปรับอะไรบ้าง เพื่อให้วันที่เปิดบริการอีกครั้ง จะยังปลอดภัยที่สุดสำหรับลูกค้า 




       ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไปหลังจากไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะธุรกิจที่ให้บริการด้านสุขภาพอย่างฟิตเนส คลับออกกำลังหรือยิมที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราวเป็นสถานที่แรกๆ เนื่องจากเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี ด้วยสภาพอากาศภายในฟิตเนสไปจนถึงการใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายร่วมกัน ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดเป็นอย่างมาก!
               

       แต่ฟิตเนสคงจะสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้ในไม่ช้า รวมถึงในหลายประเทศที่เริ่มกลับมาให้บริการเรียบร้อยแล้ว ทว่าหน้าตาฟิตเนสในโลกอนาคตคงจะต้องพลิกโฉมใหม่ การบริหารจัดการเองก็ต้องเปลี่ยนทั้งหมดเพื่อสร้างความสะอาด มีพื้นที่ภายในที่เหมาะสม ไม่แออัดและต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้บริการมากขึ้น


       แล้วแบบนี้โฉมใหม่ของฟิตเนสจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ลองไปดูกัน!
 


 
  • ผู้คนยังคงโหยหาการออกกำลังกาย


       ท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิดที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ยิมทุกแห่งต้องหยุดให้บริการลงชั่วคราว ผู้บริโภคหลายคงจึงต้องเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองมาเป็นการออกกำลังกายที่บ้าน เปลี่ยนบ้านให้เป็นยิมแทน อีกกระแสที่กำลังมาแรงนั่นคือมีคลิปวิดีโอสอนออกกำลังกายเกิดขึ้นใหม่เยอะมาก ทั้งจากผู้ให้บริการฟิตเนสเองที่เปลี่ยนรูปแบบการให้บริการมาเป็นแบบไลฟ์สด หรือจะเป็น Influencers สายเฮลตี้ที่หันมาทำคลิปออกกำลังตอบโจทย์คนอยู่บ้านด้วยท่าออกกำลังกายง่ายๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้คนยังคงโหยหาการออกกำลังกายที่ยิม อยากออกไปวิ่งที่สวนสาธารณะมากกว่าการออกกำลังกายภายในบ้าน จึงเป็นหน้าที่สำคัญของธุรกิจฟิตเนสหรือยิมต่างๆ ที่จะต้องเตรียมตัวให้ดีในการป้องกันและคัดกรองเพื่อให้สถานที่ของพวกเขาปลอดเชื้อได้มากที่สุด
 



 
  • ฟินเนสแห่งโลกอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
 
  1. ความสะอาดกลายเป็นมาตรฐานสำคัญ

      สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุดในการกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งของฟิตเนสต่างๆ นั่นคือเรื่องของความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดห้องน้ำ ล็อกเกอร์ อุปกรณ์ออกกำลังกาย บัตรสมาชิก ต้องมีจุดให้บริการเจลแอลกอฮอล์ รวมไปถึงขอความร่วมมือสมาชิกเพื่อช่วยกันดูแลความสะอาดด้วย
 


 
  1. เปิดให้บริการเป็นรอบ


       หลังจากนี้ เราอาจจะได้เห็นฟิตเนสที่เปิดให้บริการเป็นรอบเวลามากขึ้น จากเดิมที่จะเข้ามาใช้บริการเมื่อไหร่ก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อจำกัดจำนวนลูกค้าและมีช่วงเวลาที่ปิดให้บริการเพื่อทำความสะอาดพื้นที่ในฟิตเนสทั้งหมด เช่น จำกัดลูกค้าให้ใช้บริการรอบละไม่เกิน 30 คน ปิดทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อทำความสะอาด เป็นต้น
 


 
  1. สร้างระบบเพื่อลดการสัมผัส


      อีกหนึ่งวิธีที่จะได้เห็นในโลกฟิตเนสหลังจากโควิดนั่นคือ การใช้ระบบต่างๆ มากขึ้นเพื่อลดการสัมผัส ทุกอย่างอยู่บนออนไลน์ เช่น ระบบบัตรสมาชิก โดยไม่ต้องมีบัตรอีกต่อไป หรือจะเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนมาเป็นระบบอัจฉริยะมากขึ้น สามารถสแกนจากโทรศัพท์ของผู้ใช้บริการแล้วควบคุมจากตรงนั้นได้เลย
 



 
  1. มีระยะห่างระหว่างกัน


      เรื่องของ Social Distancing จะกลายเป็นเรื่องสำคัญ โดยในสถานให้บริการต่างๆ จะต้องมีการจัดพื้นที่ให้เหมาะสม ไม่แออัดจนเกิดไป อย่างในฟิตเนสเองต้องจัดเครื่องออกกำลังกายต่างๆ ให้ห่างกันมากขึ้น หรือการเข้าคลาสออกกำลังกายแบบจำกัดคน การใช้ล็อกเกอร์แบบล็อกเว้นล็อก นอกจากนี้พวกห้องซาวน่าก็ยังต้องงดให้บริการเพื่อลดการแพร่เชื้ออีกด้วย
 
               

       โดยล่าสุดฟิตเนสต่างๆ ในไทยจะยังคงปิดให้บริการถึงวันที่ 30 พฤษภาคม และเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 1มิถุนายน ก็ต้องจับตามองกันต่อไปว่า หลังจากที่เปิดให้บริการแล้วจะมีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง ซึ่งการทำธุรกิจหลังจากโควิดนั้นคงไม่ง่าย แต่ก็ไม่มีอะไรที่เกินความสามารถของผู้ประกอบการไทยแน่นอน




 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย