ทำอะไรขายดี? ในยุคไวรัสระบาด ส่อง 5 ไอเดียปั๊มเงินสู้โควิดที่ SME ทำได้




Main Idea
 
 
  • ยังคงใช้ได้เสมอ กับคำว่า “โอกาสในวิกฤต” ถ้าเพียงแค่ผู้ประกอบการเปลี่ยนมุมคิด และตั้งรับกับสถานการณ์วิกฤตกันใหม่ แม้แต่ช่วงเวลาที่ยากลำบากสุดๆ ก็อาจเกิดเป็นโอกาสธุรกิจที่สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคุณได้
 
  • และนี่คือ 5 ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างสูง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ประกอบการ SME แม้แต่วิสาหกิจชุมชนต่างๆ ก็สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตตลอดจนเลือกใช้วัตถุดิบอื่นๆ ทดแทนวัตถุดิบหลักที่ขาดแคลน เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสทำเงิน 




    ในช่วงเวลาที่ไวรัส COVID-19 กำลังระบาด ส่งผลให้สินค้าบางกลุ่มมีความต้องการสูง อย่างเช่น หน้ากากอนามัย
หรือเจลล้างมือ สำหรับผู้ประกอบรายเล็กอย่าง SME จะใช้สถานการณ์นี้พลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้กับตัวเองอย่างไร ท่ามกลางต้นทุนที่มีจำกัด ทั้งยังเข้าไม่ถึงวัตถุดิบบางอย่างที่อาจขาดตลาดด้วย  


     กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม มี 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด และแนวทางที่ SME ตลอดจนวิสาหกิจชุมชน จะนำมาเป็นไอเดียสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์มาสนองความต้องการนั้นได้ จะมีอะไรน่าสนใจบ้างไปดูกันเลย
                 
               

     เจาะกลุ่มสินค้าที่ร้อนแรงรับ COVID-19


     หลังการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ลุกลามไปใน 118 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย (ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก หรือ WHO) ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสดังกล่าว มีความต้องการทางการตลาดพุ่งสูง แซงหน้าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งปัจจุบันผู้ประกอบการยังไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอกับความต้องการอีกด้วย


     ได้แก่ 1. หน้ากากอนามัย 2. เจลล้างมือ 3. ทิชชูเปียกแอลกอฮอล์ 4. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น-เสปรย์ยับยั้งเชื้อไวรัส และ 5. สมุนไพรไทย


     ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม SME  ตลอดจน วิสาหกิจชุมชนต่างๆ ที่สามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ภายใต้แนวคิด การปรับกระบวนการผลิตสินค้าให้สอดรับกับความต้องการของตลาด โดยนำองค์ความรู้มาผสานกับเทคโนโลยี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่มี พร้อมกับเพิ่มศักยภาพทางด้านกระบวนการผลิต ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดและสามารถเลือกใช้วัตถุดิบอื่นๆ ในการผลิตทดแทนกับวัตถุดิบหลักที่ขาดแคลนได้ด้วย
 

     ส่องไอเดียพลิกข้อจำกัด SME สู่ 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์สุดปัง


     นี่คือไอเดียการปรับจูนธุรกิจและความเชี่ยวชาญของ SME ให้เป็นสินค้าที่จะขายดิบขายดีในช่วงไวรัสระบาดได้ ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้
 





     1.เปลี่ยนการผลิตเสื้อผ้าสู่หน้ากากผ้าได้ง่ายๆ
 


     การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ความต้องการหน้ากากอนามัยมีสูงกว่าช่วงเวลาปกติ สวนทางกับกำลังการผลิตภายในประเทศ ที่ทำได้ประมาณ 40.5 ล้านชิ้นต่อเดือน (ข้อมูลจาก กรมการค้าภายใน) ดังนั้น ผู้ประกอบการในกลุ่มสิ่งทอ สามารถปรับกระบวนการผลิต การตัดเย็บเสื้อผ้าแฟชั่น เสื้อผ้ากีฬา มาสู่การตัดเย็บหน้ากากผ้าได้ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันทีด้วย






เนื่องจากประชาชนจำนวนมากเริ่มหันมาใช้หน้ากากผ้าทดแทนกับหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลนกันแล้ว โดยสามารถดีไซน์ลวดลายตามเทรนด์แฟชั่นและพัฒนาขนาดให้สอดรับกับกลุ่มผู้ใหญ่และเด็ก สำหรับโครงสร้างสิ่งทอที่เหมาะสมกับการป้องกันไวรัส COVID-19 อาทิ ผ้านิตเจอร์ซี่ (Jersey Knit) หรือ ผ้าสะท้อนน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันสารคัดหลัง ไอ จาม หรือเสมหะ เป็นต้น
               




     2.ปรับสายการผลิตน้ำหอมสู่เจลล้างมือ 


     จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้ความต้องการกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพประเภทเจลล้างมือพุ่งสูงขึ้น โดยกำลังการผลิตในประเทศไทย ณ เวลานี้ อยู่ที่ประมาณ 400,000 หลอดต่อเดือน (ข้อมูลจาก องค์การเภสัชกรรม) ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ดังนั้น กลุ่มธุรกิจความงามที่มีสายการผลิตน้ำหอม สามารถปรับกระบวนการผลิตจากน้ำหอมสู่การทำเจลล้างมือได้ เนื่องจากมีสายการผลิตที่สามารถดำเนินการได้ทันที ขณะเดียวกันยังเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการในการขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดด้วย


     แต่ในสถานการณ์ที่กำลังการผลิตแอลกอฮอล์ขาดแคลน และราคาพุ่งสูงขึ้นหลายเท่าตัวนั้น ผู้ประกอบการสามารถนำ “ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์” หรือ “แอลกอฮอล์ล้างแผล” เป็นวัตถุดิบทดแทนการผลิตเจลล้างมือได้ เพราะมีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อไวรัสได้ดีและยังมีราคาถูกอีกด้วย
 





     3.สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตทิชชูเปียกผสมแอลกอฮอล์


     ประเทศไทยมีผู้ประกอบการโรงงานกระดาษทิชชูเปียกที่ปราศจากแอลกอฮอล์อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ในท้องตลาดมีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่จะลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ SME ที่จะหันมาเร่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยการพัฒนา “ทิชชูเปียก” มาสู่ “ทิชชูผสมแอลกอฮอล์” ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติยับยั้งแบคทีเรีย 99.9 เปอร์เซ็นต์ มาสู่ผลิตภัณฑ์ที่ยับยั้งเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจุบันทิชชูเปียกผสมแอลกอฮอล์เริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดสูงขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกต่อการใช้งานนั่นเอง






     4.ต่อยอดผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น-สเปรย์ยับยั้งเชื้อไวรัส



     สำหรับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นหรือสเปรย์ในปัจจุบัน อาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอสำหรับการยับยั้งไวรัสเพราะผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไป มีคุณสมบัติทำความสะอาดคราบสกปรกและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้เท่านั้น ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทดังกล่าว ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดองค์ความรู้ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยี พัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดยับยั้งไวรัสหรือพัฒนาสเปรย์เพื่อเป็นอีกทางหนึ่งสำหรับการใช้งานได้





     5.เสริมสร้างภูมิปัญญาไทยโอกาสสมุนไพรไทยระดับสากล


     ปัจจุบันประเทศไทยมีความโดดเด่นเรื่องพืชสมุนไพร ซึ่งเป็นพืชที่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจหลัก กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME  ตลอดจนวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ สามารถนำองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาไทยสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายในเชิงพาณิชย์ อย่างเช่น ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดี เพื่อผลักดันสมุนไพรไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผู้ประกอบการควรเติมเต็มองค์ความรู้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยด้วย
 


     นี่คือโอกาสในวิกฤตที่ผู้ประกอบการ SME สามารถนำมาเป็นไอเดียต่อยอดธุรกิจของตนเองได้ โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมยังให้ข้อมูลว่า การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกให้มีอัตราการขยายตัวลดลง ทางสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์เศรษฐกิจไทย ในปี พ.ศ. 2563 ว่าจะขยายตัวในช่วง 1.5-2.5 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19) จากเดิมคาดการณ์การขยายตัวที่ 2.7-3.7 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ผู้ประกอบการ  SME ตลอดจนวิสาหกิจชุมชน จึงต้องเร่งปรับกระบวนการผลิตให้ทันกับความต้องการของตลาด เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสและสร้างรายได้ให้เกิดขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ในวันนี้ได้
 
 
     ยังคงใช้ได้เสมอ กับคำว่า “โอกาสในวิกฤต” ถ้าเพียงแค่ผู้ประกอบการเปลี่ยนมุมคิด และตั้งรับกับสถานการณ์วิกฤตกันใหม่ แม้แต่ช่วงเวลาที่ยากลำบากสุดๆ ก็อาจเกิดเป็นโอกาสธุรกิจที่สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคุณได้
และนี่คือ 5 ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างสูง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ประกอบการ SME แม้แต่วิสาหกิจชุมชนต่างๆ ก็สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตตลอดจนเลือกใช้วัตถุดิบอื่นๆ ทดแทนวัตถุดิบหลักที่ขาดแคลน เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสทำเงิน
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย