คั้นจนข้น เจาะที่มา “ชาวเกาะ” กะทิส่งออกพันล้าน ขายมายาวนานกว่า 40 ปี

Text : นิตยา สุเรียมมา

 


Main Idea
 
  • “กะทิชาวเกาะ” แบรนด์กะทิสำเร็จรูปที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 40 ปี และครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นเบอร์หนึ่งในการส่งออกกะทิสำเร็จรูปรายใหญ่ของโลก เพื่อส่งขายไปยังนานาประเทศ
 
  • ซึ่งกว่าธุรกิจจะดำเนินมาถึงปัจจุบันนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย อยู่ดีๆ จากธุรกิจการเกษรตรขายส่งมะพร้าวลูก แปรเปลี่ยนมาเป็นกะทิสำเร็จรูปรายแรกของไทยและรายใหญ่ของโลกได้อย่างไร อยากรู้ต้องไปติดตาม
 


 
               
     เพราะเมืองไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มากมาย โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตร ซึ่งนอกจากข้าวที่เป็นพืชหลักของเราแล้ว มะพร้าวยังเป็นอีกผลผลิตที่ได้รับความนิยมจากนานาประเทศอย่างมาก โดยหากย้อนไปเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ประเทศไทยได้มีโรงงานแปรรูปกะทิสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์ขึ้นแห่งแรกในไทย ภายใต้ชื่อบริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด เมื่อปี 2519 จากการก่อตั้งของ จรีพร เทพผดุงพร และอำพล เทพผดุงพร สองสามีภรรยา ที่สามารถพลิกเปลี่ยนธุรกิจจากการขายส่งมะพร้าว สู่อุตสาหกรรมแปรรูปจากมะพร้าวและพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ ของไทยได้
               




     โดยในช่วงเริ่มต้นนั้น ทั้ง จรีพรและอำพล มีอาชีพเป็นเกษตรกรในย่านฝั่งธนบุรี จากการขายส่งและปลีกมะพร้าวลูกไว้ใช้ทำแกงทำขนมให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่มารับซื้อไปขายต่อ จนช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าได้สะดวกและรวดเร็ว จึงได้ตัดสินใจย้ายจากร้านค้าเดิม ซึ่งเป็นห้องแถวสองคูหาที่สี่แยกมหานาค ริมคลองผดุงกรุงเกษม มายังบนถนนมหาราช ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หรือท่าเตียน และจดทะเบียนธุรกิจโดยใช้ชื่อว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัดอุดมมะพร้าว”


     ต่อมาเมื่อเริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้น มีการเปิดขายมะพร้าวในแต่ละภาคมากขึ้น ไปจนถึงเกษตรกรเองเริ่มมีรถขนส่งได้เอง ไม่ต้องอาศัยเรือกลไฟเหมือนในอดีต ทำให้ยอดขาดและกำไรลดน้อยลง ลูกชายคนที่ 4 “เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร” ซึ่งเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้แนะนำให้หันมาแปรรูปทำกะทิพาสเจอไรซ์ เพื่อเก็บได้นานกว่า และลดความยุ่งยากในการนำไปปรุงอาหารให้กับลูกค้า





     โดยใช้ชื่อแบรนด์ว่า กะทิชาวเกาะ” ลงทุนสร้างโรงงานแปรรูปกะทิสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์บรรจุถุงขึ้นแห่งแรกในไทย เมื่อปี 2519 ภายใต้ชื่อบริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด
แต่ผลปรากฎไม่เป็นดังคาด เนื่องจากในเวลานั้นกะทิสดไม่ได้ขาดแคลน และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคุ้นกับการใช้กะทิสดทำอาหารมากกว่า จึงมองไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องซื้อกะทิสำเร็จรูปมาใช้ ทั้งที่สามารถเก็บรักษาได้นานกว่า ใช้งานได้สะดวกกว่า


     ซึ่งในครั้งนั้นกะทิชาวเกาะได้แก้เกมธุรกิจ โดยการเปิดทดลองให้ลูกค้าได้ชิมรสชาติว่าแท้จริงแล้วไม่ได้แตกต่างจากการใช้กะทิสดเลย แถมสะดวกและประหยัดเวลากว่า ใช้เวลาอยู่ 3 ปี กะทิชาวเกาะจึงเริ่มเป็นที่ยอมรับในตลาดผู้บริโภคคนไทยมากขึ้น รวมถึงเริ่มมีการบุกตลาดไปยังต่างประเทศ





     โดยหลังจากนั้นได้มีการพัฒนาผลิตเป็นกะทิกระป๋องออกมา เพราะสามารถยืดอายุได้นานกว่า จนถึงกะทิกล่องยูเอชทีเหมือนที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน โดยได้เปิดโรงงานแห่งใหม่ขึ้นมาอีกแห่ง ภายใต้ชื่อ “อำพลฟู้ดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด” โดยนอกจากผลิตกะทิกล่องแล้ว ยังมีการแปรรูปพืชผลเกษตรอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ เครื่องแกงไทย ผลไม้กระป๋อง น้ำจิ้มไก่ ซึ่งหากนับรวมผลผลิตจากโรงงานทุกแห่งของครอบครัวเทพผดุงพรทั้งหมด ปัจจุบันมีสินค้ากว่า 200 รายการได้


     ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของเจนเนอเรชันที่ 2 และ 3 มีรายได้กว่าหลายพันล้านบาทต่อปี โดยส่งออกอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ และขายในประเทศเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ โดยจากข้อมูลล่าสุดข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยตัวเลขผลประกอบการว่า ในปี 2560 นั้น บริษัท อำพลฟู้ดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบรนด์ชาวเกาะมีรายได้อยู่ที่ 2,909 ล้านบาท ซึ่งยังไม่นับรวมโรงงานผลิตในเครืออื่นๆ อีก





     สุดท้ายที่หลายคนสงสัยว่าทำไมถึงชื่อ “กะทิชาวเกาะ” นั้น จริงๆ แล้วชื่อแรกที่จะนำมาตั้ง คือ “สมุย” ซึ่งเป็นเกาะที่มีการปลูกมะพร้าวอยู่มาก แต่เนื่องจากว่าเป็นชื่อเกาะจึงไม่สามารถใช้ได้ บริษัทจึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า ชาวเกาะ แทน นั่นเอง
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย