Main Idea
- เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ใครหลายคนเรียกว่ายุค Disruption เทคโนโลยีต่างๆ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนทำให้ผู้ประกอบการหลายคนไม่รู้จะทำอย่างไรดีในช่วงเวลาที่การทำธุรกิจเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง โดยเฉพาะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่มีการแข่งขันสูงแถมพฤติกรรมของผู้บริโภคยังเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
- ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจึงควรมองหาโครงการอบรมให้ความรู้และหน่วยงานที่จะเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์เดินร่วมทางไปสู่ความสำเร็จด้วยกันกับคุณและโครงการเสริมศักยภาพนักธุรกิจมือโปร - SCB IEP (Intelligent Entrepreneur Program) คือโครงการที่จะตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
- สิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในยุคนี้คือเรื่องของ Growth Disruption คือการเติบโตของธุรกิจท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในยุคนี้อีกทั้งเรื่องของ Digital Transformation ก็นับว่าจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกธุรกิจตอนนี้
เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ใครหลายคนเรียกว่ายุค Disruption เทคโนโลยีต่างๆ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนทำให้ผู้ประกอบการหลายคนไม่รู้จะทำอย่างไรดีในช่วงเวลาที่การทำธุรกิจเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง โดยเฉพาะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่มีการแข่งขันสูงแถมพฤติกรรมของผู้บริโภคยังเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แน่นอนว่าการประคองธุรกิจให้ผ่านช่วงเวลานี้ก็สาหัสแล้ว การตั้งเป้าหมายที่จะประสบความสำเร็จหรือการขยายธุรกิจให้เติบโตนั้นจึงต้องมาพร้อมกับ ‘เป้าหมายที่ใช่และแผนการที่ชัด’ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าใกล้เป้าหมายมากที่สุด!
เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจึงควรมองหาโครงการอบรมให้ความรู้และหน่วยงานที่จะเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์เดินร่วมทางไปสู่ความสำเร็จด้วยกันกับคุณและโครงการเสริมศักยภาพนักธุรกิจมือโปร - SCB IEP (Intelligent Entrepreneur Program) คือโครงการที่จะตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
สำหรับโครงการ SCB IEP คือโครงการที่จะคัดเลือกผู้ประกอบการเข้ามาเพื่อเสริมแกร่งด้วยหลักสูตรเจาะลึกที่เป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจนอกจากนี้ยังมี Mentor ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจอยู่ประจำกลุ่มเพื่อให้คำปรึกษาผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญคือผู้ประกอบการจะได้มากกว่าแค่ Connection แต่จะได้ในเรื่องของการทำ Business Matching ด้วย เพราะเป้าหมายหลักคือการทำให้ผู้ประกอบการในโครงการสามารถต่อยอดไปใช้ได้จริงในการทำธุรกิจรวมถึงการสร้าง Ecosystem ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์สูงสุดจากโครงการนี้
ล่าสุดโครงการ SCB IEP กำลังอยู่ในรุ่นที่ 16 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทางโครงการเจาะกลุ่มอุตสาหกรรมแบบชัดเจนต่างจากที่ผ่านมาซึ่งจะมีการคละกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยในรุ่นนี้จะเน้นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้มีความหลากหลายตั้งแต่โรงงานผลิต ผู้นำเข้า-ส่งออก ไปจนถึงร้านอาหาร
สิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในยุคนี้คือเรื่องของ Growth Disruption คือการเติบโตของธุรกิจท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรที่จะสามารถเติบโตไปได้อย่างแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากที่สุด! เรื่องของการทำให้ธุรกิจคล่องตัวด้วย Lean Process จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มควรรู้อีกทั้งเรื่องของ Digital Transformation ก็นับว่าจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกธุรกิจตอนนี้
- โตอย่างมีประสิทธิภาพด้วยคำว่า ‘Lean Process’
การทำธุรกิจหลายคนอาจมองว่าไม่ใช่เรื่องยาก แต่เรื่องที่ยากที่สุดคือทำอย่างไรให้ธุรกิจของคุณเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าได้มากที่สุดและการที่จะเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าคุณต้องสร้างสิ่งที่เรียกว่า Value หรือคุณค่าผ่านกระบวนการทำงานในทุกขั้นตอนที่เรียกว่า (Flows) หรือการไหลของกระบวนการ หลายคนอาจมองว่าธุรกิจของคุณดำเนินการไปได้อย่างไร้ปัญหาและแทบจะไม่มีสิ่งที่ไร้คุณค่าหรือ Non Value เลยในกระบวนการทำงาน แต่คุณอาจคิดผิด! และกระบวนการทำงานที่เต็มไปด้วย Non Value นี่แหละคือปัญหาสำคัญที่ฉุดรั้งธุรกิจของคุณไม่ให้เติบโต
โดย ‘ดร.สุริยะ เลิศวัฒนะพงษ์ชัย’ กรรมการผู้จัดการ BMGI Thailand ผู้เขียนหนังสือ แปลงร่างธุรกิจด้วยลีน ได้เล่าความเชื่อมโยงระหว่างคำว่า Lean, Value และ Non Value
“Lean ถ้าพูดง่ายๆ คือการสร้าง Value หรือการที่ธุรกิจส่งมอบอะไรบางอย่างให้กับลูกค้า ซึ่งมีทั้งสิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ อาทิ รสชาติอาหาร บรรยากาศ ประสบการณ์ที่เขาได้รับ หลักการของ Lean คือการไหลของกระบวนการทำงาน คุณต้องมองว่าในกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนว่ามี Value กี่เปอร์เซ็นและ Non Value กี่เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่พบจริงๆ คือตัวเลขของธุรกิจส่วนใหญ่มี Value จริงๆ แค่ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ความสูญเปล่าในการทำงานนั้นเยอะไปหมด กระบวนการทำงานที่เพิ่ม Value แท้จริงมีเพียงน้อยนิด สิ่งที่ทุกคนต้องทำคือการเพิ่ม Value และลดสิ่งที่เป็น Non Value” เขาเล่า
ดร.สุริยะได้เปรียบเทียบธุรกิจกับร่างกายของมนุษย์เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ธุรกิจก็เหมือนคนคนหนึ่งที่ต้องทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ แต่หากว่าเรามีความสูญเปล่าในร่างกายเยอะ มีไขมันมากเกินไป มีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็ส่งผลให้ทำกิจกรรมนั้นไม่ใช่ ธุรกิจก็เช่นกัน ถ้าหากคุณมีความสูญเปล่าในกระบวนการเยอะก็จะทำให้ธุรกิจไม่คล่องตัว เติบโตได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
โดยหลักการของ Lean มี 5 อย่างที่ต้องทำเรียงตามขั้นตอนซึ่งจะช่วยให้คุณมองเห็นสิ่งที่เป็น Value และขจัดสิ่งที่เป็น Non Value ได้อย่างถูกต้อง
1.หาลูกค้าให้เจอ รู้ว่ากระบวนการทำงานอะไรบ้างที่มอบคุณค่าให้กับลูกค้า เช่น ทำร้านอาหาร รสชาติต้องอร่อย บรรยากาศต้องดี หรือโรงงานอุตสาหกรรมต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
2. มองกระบวนการทำงานให้เป็นเหมือนการไหลของน้ำ แล้วดูว่าตรงไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการไหลนั่นแหละคือ Non Value
3. ปรับปรุงกระบวนการทำงานและขจัดอุปสรรคต่างๆ ในการไหล
4. บาลานซ์ระหว่าง Supply และ Demand
5. การทำให้ธุรกิจ Lean อย่างมีประสิทธิภาพคือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- โตไม่หยุดด้วย Digital Transformation
คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำธุรกิจในยุคนี้ต้องมีเรื่องของเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้อง แต่การจะเลือกเทคโนโลยีที่ใช่เพื่อให้ธุรกิจนั้นเติบโตอย่างแข็งแกร่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่สำหรับหนึ่งในเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจเป็นอย่างมากในตอนนี้คือเรื่องของ ‘ภาษี’ ที่หลายคนมองว่าน่าปวดหัวแถมยังตามมาด้วยความหวาดกลัว ไม่อยากเสียภาษี จนทำให้ใครหลายคนหาทางหลบเลี่ยงภาษีจนท้ายที่สุดเกิดเป็นปัญหาใหญ่ที่แย่ลงไปกว่าเดิม
‘ราชิต ไชยรัตน์’ CEO และ Co-founder ของบริษัทผู้ให้บริการบัญชีครบวงจรออนไลน์อย่าง AccRevo ได้กล่าวว่าการหลบเลี่ยงภาษีเป็นเรื่องยากในยุคดิจิตอล ทุกอย่างในปัจจุบันกลายเป็นดิจิตอลแทบทั้งหมด
“ยุคนี้เป็นยุคดิจิตอล คนเราประเมินสิ่งต่างๆ ด้วยดิจิตอล อีกเรื่องคือ Data ทุกอย่างมันเชื่อมกันด้วยข้อมูล เรากำลังเปลี่ยนจาก Information Technology มาสู่ Data Technology ที่ข้อมูลรอไม่ได้ ข้อมูลมาแล้วต้องเสพทันที วิเคราะห์และใช้งานเลย”
ในปัจจุบัน กรมสรรพากรกำลังพยายามผลักดันเรื่องของภาษีให้เข้าสู่โลกดิจิตอลทั้งหมด ซึ่งปูทางตั้งแต่ National e-Payment, PromptPay, e-Invoice, e-Tax Invoice, e-Receipt, e-Withholding Tax จะมีการเริ่มใช้จริงบางส่วนในปีหน้าและจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ครบทั้งระบบปีพ.ศ. 2565
โดยราชิตได้ย้ำว่า “ตอนนี้กรมสรรพากรเอาจริง คุณไม่สามารถหลบภาษีได้แล้ว เขาจะดูแลคนที่เสียภาษีด้วย Data ซึ่งจะนำข้อมูลต่างๆ ประกอบกับเกณฑ์ในการคัดเลือกแล้วก็จะถูกนำมาคัดเป็นรายชื่อผู้ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งเขาสามารถดึงข้อมูลต่างได้ง่ายมากถ้าเขามีข้อมูลเราในการติดต่อสื่อสาร ข้อมูลที่เราติดต่อหน่วยราชการ ข้อมูลการถูกหัก ณ ที่จ่าย เราจะหลบเลี่ยงข้อมูลไม่ได้”
สิ่งสำคัญคือการทำให้เรื่องของภาษีนั้นโปร่งใส ทำบัญชีเดียว ซึ่งราชิตได้ปิดท้ายด้วยคำว่า ‘ทำบัญชีถูกต้องประหยัดกว่า’
นอกเหนือจากเรื่องของการทำบัญชี เรื่องของการรับจ่ายเงินผ่าน Banking Solution ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าคุณเลือกใช้ให้ถูก ในช่องทางที่ใช่ก็จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างไม่สะดุดแถมยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าได้มากขึ้นด้วย
โดย ‘ศรัญ หวังธรรมมั่ง’ VP ผู้จัดการ Payment Strategy & Portfolio & Performance Management ได้เล่าถึงผลิตภัณฑ์ด้าน Payment ของทาง SCB ที่จะช่วยตอบโจทย์ผู้ประกอบการทั้งธุรกิจรีเทล ร้านอาหารจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม
“ระบบชำระเงินของธนาคารเรามีความครอบคลุมและหลากหลายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งตอนนี้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์มีการหลอมรวมกัน อย่างการรับชำระเงินหน้าร้านจะมีเครื่องรูดบัตรชำระเงิน (EDC) ซึ่งบางรุ่นจะสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบ POS ของร้านเพื่อรูดบัตร ตัดสต๊อกได้เลย โดยปัจจุบันมีการอัพเกรดให้เป็นสมาร์ทมากขึ้น พัฒนาโปรแกรมเพิ่มได้”
สำหรับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจบนออนไลน์ยังมี Online Payment Gateway ที่รับออเดอร์รับจ่ายเงินออนไลน์ สามารถทำได้บนเว็บไซต์ซึ่งรองรับทั้งการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิตตลอดไป QR Code โดยปัจจุบัน SBC มีการพัฒนาระบบจดจำเลขที่บัตรเครดิตของลูกค้าเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าไม่ต้องพิมพ์เลขที่บัตรเครดิตในการจ่ายเงินครั้งที่ 2 ขึ้นไป ทำให้การชำระเงินรวดเร็วขึ้นและการจ่ายเงินบนโลกออนไลน์มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
ทางด้านผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่เป็น B2B หรือธุรกิจนำเข้าส่งออกยังมี Payment Solution ที่เรียกว่า Business Cash Management ที่จะช่วยในเรื่องการบริหารเงิน จับจ่ายเงิน การดูแลสภาพคล่องของธุรกิจ ปัจจุบันมีการอัพเกรดเป็นระบบดิจิตอลและเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์ในภูมิภาคให้คุณรับเงิน โอนเงินให้คู่ค้าต่างประเทศได้ง่ายยิ่งขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
ปิดท้ายกันที่เรื่องของ Finance Solution ที่จะช่วยปูทางให้ผู้ประกอบการไปสู่การขยายธุรกิจ การขอสินเชื่อให้ผ่านฉลุย โดย ‘ไพศาล เมฆสุวรรณ’ SME Business Leader SME F&B Agro ได้พูดถึงการเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมเดินทางสู่ความสำเร็จระหว่างผู้ประกอบการและธนาคาร
“การทำธุรกิจ เราต้องขายของถึงจะเติบโต แต่บางครั้งทุนไม่พอ เงินไม่มี อาจทำให้เสียโอกาส โดยมีแหล่งเงินทุนอยู่หลักๆ 3 แหล่งนั่นคือ ทุนเราเอง ถ้าเรามีทุนน้อย ก็ค่อยๆ โต แต่เราก็จะได้สะสมเครดิตที่ดีขึ้น ทำให้เราขอเงินทุนจากแหล่งที่ 2 ได้คือ Supplier ขอ Credit Term เขา ส่วนแหล่งเงินทุนที่ 3 คือธนาคาร ธนาคารจะเป็นที่พึ่ง เป็นพาร์ทเนอร์กับผู้ประกอบการ เราไปด้วยกันนะ พาร์ทเนอร์คือการที่ผู้ประกอบการมั่นใจในธุรกิจของเขา เชื่อในธุรกิจตัวเอง แล้วธนาคารก็จะเชื่อคุณ เราร่วมกันลงทุน โตไปด้วยกันเหมือนสโลแกนที่ว่า ไปด้วยกัน ไปได้ไกล” เขากล่าว
และสำหรับสิ่งที่ธนาคารจะมองผู้ประกอบการก่อนที่จะตัดสินใจร่วมเป็นพาร์ทเนอร์หรือให้สินเชื่อนั้น มีหลักๆ อยู่ไม่กี่อย่าง แต่เป็นไม่กี่อย่างที่สำคัญทั้งสิ้น อาทิ การดูพฤติกรรมการใช้เงิน ดูประสบการณ์ ดูถึงเรื่องของวินัยทางการเงิน นอกจากนี้ยังดูเรื่องของแหล่งเงินทุน ว่าผู้ประกอบการลงทุนเท่าไหร่ ยอมทุ่มเทมากน้อยแค่ไหนในธุรกิจและยังมองไปถึงเรื่องของ Capacity กำลังการผลิต ขนาดของโรงงาน ปิดท้ายที่การเสริมความมั่นใจให้ธนาคารว่าธุรกิจของคุณจะไม่โดน Disrupt ในเร็ววัน
ทั้งหมดนี้สอดประสานรวมกันเป็นหนึ่งเดียวนั่นคือการทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพในโลกดิจิตอลที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจึงต้องทำให้ธุรกิจมีความคล่องตัวที่สุดด้วย Lean Procress เพื่อขจัดกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างคุณค่าออกไปและเพิ่มสิ่งที่มีคุณค่าเข้ามาแทนที่ อีกทั้งยังต้องเลือกใช้มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพบนโลกดิจิตอล!
และหากคุณคือผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ SCB IEP ก็สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ https://scbsme.scb.co.th หรือ SCB SME Community ที่จะมีเรื่องราวดีๆ มาเสริมแกร่งให้ธุรกิจของคุณอยู่เสมอ
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี