ทราบแล้วเปลี่ยน! รู้ทัน Digital Disruption พลิกธุรกิจให้ทันในวันโลกเปลี่ยน

Text : พิมพ์ใจ พิมพิลา



 
 
Main Idea
 
  • หลายธุรกิจต้องหยุดชะงักกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาในยุคดิจิทัล ซึ่งการเปลี่ยนผ่านนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับธุรกิจใหญ่ๆ เท่านั้น หากแต่ SME ก็ได้รับผลกระทบมากน้อยไปด้วยเช่นกัน 
 
  • ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังต้องหาความรู้เพื่อนำเป็นแผนรองรับกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต ในโลกที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

 
     ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SME จำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคอาเซียนที่มีความสนใจในการลงทุนด้านเทคโนโลยี ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยมีความสนใจในเรื่องนี้ถึง 73 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาธุรกิจแนวใหม่เพื่อเพิ่มความสามารถด้วยพลังของเทคโนโลยีนั้นกำลังเป็นที่สนใจของผู้ประกอบการ เพราะไม่เพียงกิจการจะสามารถเติบโตได้ในยุคที่ท้าทายเช่นนี้ ยังนับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทั้งในด้านนวัตกรรมและการวางกลยุทธ์ที่จะมารับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


     มาดูสิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ควรรู้ ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีทั้งในไทยและอาเซียน เพื่อเท่าทัน Digital Disruption สามารถพลิกธุรกิจให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนได้ในปี 2563 




 
  • ทิศทางการเติบโตของการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลในปี 2563 


     วันนี้โลกเรากำลังอยู่ในยุค Digital Transformation  ซึ่งในตอนนี้ภาครัฐเองก็พยายามปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น อย่างเริ่มมีการนำดิจิทัลเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น รวมไปถึงภาคธุรกิจเองก็มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ เข้ามาใช้มากเช่นเดียวกัน ซึ่งนั่นส่งผลให้มีผู้ประกอบด้านดิจิทัลมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของ SME ที่ทรานสฟอร์มไปเป็นบริษัทขนาดใหญ่ รวมไปถึงกลุ่ม Startup


     ทั้งนี้เมื่อเทียบเคียงข้อมูลจำนวนประชากรในไทยปัจจุบันซึ่งมีอยู่ประมาณ 69 ล้านคน พบว่ามีคนใช้มือถือสูงถึง 92 ล้านเครื่อง นั่นแสดงให้เห็นว่าคนหนึ่งคนมีโทรศัพท์มากกว่า 1 เครื่อง หรืออาจจะมี 4-5 อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อโลกดิจิทัล อีกทั้งยังมีจำนวนประชากรถึง 57 ล้านคน ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้แล้ว อานิสงส์ที่ตามมาคือการค้าอี-คอมเมิร์ซเติบโตขึ้น เพราะโลกการค้าถูกเชื่อมถึงได้ง่ายด้วยอุปกรณ์และอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับคอนเทนต์บันเทิงต่างๆ ที่สามารถอยู่ได้บนมือถือเพียงเครื่องเดียว  


     จากปัจจัยเหล่านี้ทำให้ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัล จึงเติบโตค่อนข้างสูงตลอดที่ผ่านมา และมีการให้ความสำคัญค่อนข้างมาก เพราะปัจจุบันเราใช้มือถือหรือเทคโนโลยีดิจิทัลในการเข้าถึงคอนเทนต์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการเสพข้อมูลในโซเชียลมีเดีย ซึ่งส่งผลให้มีหน่วยงานภาครัฐหรือผู้ประกอบการเองเข้ามากำกับดูแลมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือเทรนด์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงทั้งภูมิภาคอาเซียนด้วย
 

 
  • SME ไทย ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาธุรกิจมากน้อยแค่ไหน

     ข้อมูลจากสำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบว่ามีผู้ประกอบการ ไทยประมาณ 3 ล้านราย เป็น SME หรือคิดเป็นกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ของวิสาหกิจทั้งหมด สิ่งที่พบคือ ส่วนใหญ่ยังมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจน้อยมากเมื่อเทียบกับการใช้เทคโนโลยีในด้านอื่นๆ หรือโซเชียลมีเดีย จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2561 ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศของผู้ประกอบการไทย พบว่ามี SME เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำธุรกิจของตัวเอง 


     โดยส่วนใหญ่ที่ยังไม่ค่อยนำเทคโนโลยีมาใช้มากนัก จะเป็นกลุ่ม SME รายย่อยที่ยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี ซึ่งนี่เป็นประเด็นที่ภาครัฐเร่งให้ความสำคัญ เพราะในวันนี้ธุรกิจที่ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้จะมีความสามารถในการแข่งขันน้อยมาก และก้าวตามโลกได้ยากขึ้น


     ทั้งนี้หากย้อนไปดูการสำรวจเมื่อประมาณ 6 - 7 ปีก่อน ในยุคที่เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา พบว่าผู้ประกอบการไทยก็ยังคงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจไม่มากเช่นกัน โดยส่วนใหญ่เป็นแค่การตอบอีเมลกับการเข้าเว็บไซต์ ซึ่งในปัจจุบันอาจจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นก็จริง แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะสร้างขีดความสามารถให้กับกลุ่ม SME ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ได้



 
  • รับมืออย่างไร ในวันที่ SME ต้องเจอกับ Digital Disruption

     Digital Disruption เป็นคำที่ถูกพูดถึงเยอะมากในปีนี้ เพราะการ Disruption ที่หลายๆ คนกลัวได้เกิดขึ้นแล้วในภาคธุรกิจด้านวัตกรรมในปัจจุบัน สวนทางกับความพร้อมของ SME ไทยที่ยังมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ไม่มากนัก จึงต้องเร่งส่งเสริมให้ SME นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดย SME ต้องได้รับความรู้หรือการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จ เพื่อนำมาเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการรายอื่นต่อไป 


     ยกตัวอย่างเช่น การจัดการด้านบัญชี อีคอมเมิร์ซ การให้บริการ การตรวจสอบย้อนหลังเพื่อส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใส การทำการตลาดออนไลน์  การสำรวจเสียงของคนในโซเชียลเพื่อรู้ว่าปัจจุบัน คนที่อยู่ในโซเชียลมีเดียสนใจสินค้าหรือบริการประเภทไหน หรือกำลังมองหาอะไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการรับมือกับ Digital Disruption ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างถูกวิธี 


     อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญ คือ ผู้ประกอบการจะต้องพยายามปรับตัวเอง ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้ ทั้งนี้ SME ไทยถือเป็นสังคมผู้ประกอบการที่ค่อนข้างมีความหลากหลาย ทั้งการทำธุรกิจแบบดั้งเดิม ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้การแข่งขันยิ่งสูงขึ้นไปอีก และมีแค่บางส่วนเท่านั้นที่มีความพร้อมรับมือกับ Digital Disruption ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่คิดเปลี่ยนแปลงตัวเอง โอกาสที่จะถูกกลืนกินหรือเป็นธุรกิจที่ต้องล้มหายตายจากไปก็เป็นไปได้มากขึ้น 


     ฉะนั้น SME ไทยจึงต้องเร่งปรับตัว เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยเทคโนโลยีและดิจิทัล 



 
ข้อมูลจากงานสัมมนา : CEBIT ASEAN Thailand 2019 ภายใต้สัมภาษณ์พิเศษหัวข้อ SMEs ไทยรู้ทัน Digital Disruption พลิกธุรกิจโต 
 



 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย