ว่าที่ Disruptor ต้องรู้ไว้! 4 ความท้าทายบนเส้นทางพลิกเกมตลาด




Main Idea

 
  • หากเป้าหมายของบริษัทคือเติบโตและมีผลกำไรต่อไปในอนาคต SME ต้องไม่ยอมให้ตัวเองถูกธุรกิจอื่นดิสรัปต์เสียก่อน
 
  • แต่การจะเป็นฝ่ายดิสรัปต์ เปลี่ยนตลาดให้มาอยู่ในกำมือได้ ต้องฝ่าด่านความท้าทายใหญ่ๆ 4 ประการ ที่หากผ่านไปได้ ความสำเร็จก็อยู่แค่เอื้อมนี่เอง




     หากเป้าหมายของบริษัทคือเติบโตและมีผลกำไรต่อไปในอนาคต SME ต้องไม่ยอมให้ตัวเองถูกธุรกิจอื่นดิสรัปต์เสียก่อน ได้เวลามองหาวิธีที่จะเป็นคนดิสรัปต์อุตสาหกรรมและชิงส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่งให้ได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วนวัตกรรมที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้นั้นมักเริ่มจากสิ่งเล็กๆ ที่ทำให้ลูกค้ารับรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่ทำมากกว่าสินค้า หรือบริการที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจจะเป็น ถูกกว่า เร็วกว่า คุณภาพดีกว่า ประสิทธิภาพดีกว่า หรือคงทนกว่า





     ธุรกิจที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้อุตสาหกรรม ก้าวขึ้นเป็น Disruptor ได้นั้น ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
 
  • ต้องสร้างสมดุลระหว่างการสร้างความเปลี่ยนแปลงและการรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการไว้ให้ได้ ธุรกิจจะไม่สามารถเอาชนะตลาดได้ถ้ามองข้ามอย่างใดอย่างหนึ่งนี้ไป การดิสรัปต์ทำให้สามารถช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดได้ ในขณะที่การรักษาคุณภาพจะทำให้กำไรอยู่ในมือ



 
  • การจะเป็นผู้ดิสรัปต์ตลาดได้นั้นต้องการมุมมองทางกลยุทธ์ที่แตกต่างออกไป ทั้งการประเมินปัญหาที่ไม่คาดคิด ความสำเร็จ และโอกาส หากพิจารณาการทรานส์ฟอร์มธุรกิจที่ส่งผลทำให้สามารถดิสรัปต์อุตสาหกรรมต่างๆ ได้ เรามักนึกถึง Uber, Tesla และ Airbnb เป็นธุรกิจแรกๆ ซึ่งสิ่งที่ทำให้ธุรกิจเหล่านั้นก้าวมาถึงจุดนี้ได้ ก็คือสินค้าและบริการเหล่านั้นสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ธุรกิจเหล่านั้นกำลังแก้ปัญหาให้กับอุตสาหกรรมไปด้วยพร้อมกัน อย่าง Uber ที่แก้ปัญหารถยนต์บนท้องถนนมีจำนวนมากเกินไป Airbnb แก้ปัญหาห้องว่างที่ไม่ได้ใช้งาน และ Tesla เข้ามาทดแทนรถยนต์พลังงานฟอสซิล ซึ่งเกิดจากการมีมุมมองที่ต่างจากคนอื่นทั้งสิ้น
 


 
  • ทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคและต้องเข้าใจไปจนถึงพฤติกรรมการซื้อของพวกเขา เพราะผู้ที่จะดิสรัปต์ตลาดได้ไม่เพียงแต่พยายามมอบบริการเดียวกันที่ดีกว่าคู่แข่งให้ได้เท่านั้น แต่คือการเปลี่ยนวิธีคิดของผู้บริโภคที่มีต่ออุตสาหกรรมด้วย อย่าง Netflix ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการเข้าหาสื่อบันเทิง ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องเดินเข้าร้านเช่าวิดีโอ รวมถึงไม่ติดตั้งกล่องเคเบิลทีวีไว้ในบ้านอีกต่อไป

 

 
  • เป็นเรื่องยากที่จะบรรลุเป้าหมายด้านกำไรอย่างรวดเร็ว การดิสรัปต์ต้องใช้เวลาในการทำให้ลูกค้ามองเห็นและเข้าใจด้วย ฉะนั้น ช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจอาจจะได้เงินน้อย แต่ถึงเวลารายได้จะมาเอง แถมยังมาแบบก้าวกระโดดด้วย
 

     ผู้ประกอบการมักคาดหวังว่าเมื่อเวลาผ่านไปธุรกิจต้องโตขึ้น มีความมั่งคั่งมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ แต่ในโลกยุคดิสรัปชันการเติบโตแบบนั้นคงไม่ทันใจ SME ยุคใหม่ต้องหันมองว่าจะเป็นผู้ดิสรัปต์ตลาดแล้วสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดได้อย่างไร แล้วจะมั่งคั่งร่ำรวยกว่าที่เคยเป็นมา
 

     ที่มา : allbusiness.com


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย